โครงการพัฒนาความมั่นคงในการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทราด้วยระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
“จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ และเป็นพื้นที่มีความพิเศษที่พึ่งพาฐานของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการเกษตรอันเป็นเศรษฐกิจฐานรากโครงการนี้ได้สร้างระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยบูรณการข้อมูลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการคุณภาพน้ำด้วยการบริหารวัฏจักรน้ำ การจัดการคุณภาพอากาศด้วยโมเดลคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ และการจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมด้วยแนวทาง Circular Economy การแสดงผลที่รวดเร็วและแม่นยำเพื่อเป็นฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถืออ้างอิงได้ของจังหวัดจะส่งผลต่อการพัฒนาความมั่นคงทางด้านน้ำและอาหารของจังหวัดและประเทศ และช่วยให้การตัดสินใจพัฒนาพื้นที่เกิดขึ้นบนฐานของข้อมูลและหลักวิชาการยิ่งขึ้น”

โครงการนี้มีเป้าหมายในการสร้างระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของ Platform บริหารจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดที่พร้อมรองรับการขยายผลการใช้งานไปยังจังหวัดอื่นได้ในอนาคต โดยพิจารณาเริ่มต้นโครงการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กำลังมุ่งสู่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart city) และเป็นพื้นที่มีความพิเศษที่พึ่งพาฐานของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร จำเป็นต้องมีการวางโครงสร้างพื้นที่ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองจากอุตสาหกรรมในยุคอุตสาหกรรม 3.0 ไปเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่หรือ 4.0
โดยการดำเนินงานของโครงการได้มุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณการใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการคุณภาพน้ำด้วยการบริหารวัฏจักรน้ำ การจัดการคุณภาพอากาศด้วยโมเดลคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ และการจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมด้วยแนวทาง Circular Economy
โครงการนี้ได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเสื่อมโทรมให้กับชุมชนและเกษตรกร การติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในแม่น้ำบางปะกง และการใช้หลักการวัฏจักรน้ำคุณค่าเพื่อนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่ให้ตรงตามคุณภาพน้ำของกิจกรรมภาคชุมชนและการเกษตร จะช่วยบรรเทาการขาดแคลนน้ำและเป็นการพัฒนาความมั่นคงทางด้านน้ำและอาหารของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
ระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะฯ ด้านการจัดการคุณภาพอากาศ สภาวการณ์มลพิษอากาศ ได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งที่มาและความเป็นไปของมลพิษอากาศ โดยระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดจะช่วยให้เกิดความตระหนักและตื่นรู้เกี่ยวกับความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) ของบรรยากาศของพื้นที่ฉะเชิงเทราทั้งในด้านของประชาชน ภาครัฐ และผู้ประกอบกิจการพลังงาน และช่วยสนับสนุนภาครัฐในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ ให้การตัดสินใจพัฒนาพื้นที่เกิดบนฐานของข้อมูลและหลักวิชาการยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ โครงการฯได้กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการขยะของอำเภอบางปะกงในเชิงบูรณาการ เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับรูปแบบการบริหารจัดการขยะแบบเดิมไปสู่การจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Circular Economy ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น ระบบตรวจนับขยะในลำน้ำ ระบบถังขยะอัจฉริยะ เพื่อให้เกิดการติดตามการจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมได้ และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกเทคโนโลยีและเทคนิคทางสังคมในการเข้าไปจัดการกับขยะในแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเมืองฉะเชิงเทราให้เป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต
ที่มา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
CU Innovations for Society ภารกิจกู้วิกฤติโควิด-19 เพื่อคนไทย
เมื่อโลกถูกเขย่าอย่างรุนแรงด้วยเชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดกลายเป็นโรคอุบัติใหม่ “โควิด-19” ปลุกให้หลายประเทศจำเป็นต้องลุกขึ้นมารับมือกับโรคร้ายนี้เพื่อดูแลประชาชนคนในชาติของตนรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA “CU-Cov19”
โครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ
“Chula-Cov19” วัคซีน mRNA สัญชาติไทยขยับเข้าใกล้ความสำเร็จ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลก
เปิดเบื้องหลังความสำเร็จบนเส้นทางแห่งการพัฒนาวัคซีนจุฬาฯ
Chula VRC ก่อตั้งขึ้นในปี 2560 มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเสมอภาคทางด้านวัคซีนให้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งถือเป็นภารกิจในระดับนานาชาติ โดยมีพันธกิจในการวิจัย และพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย ในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะในงานด้านการป้องกันโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อชนิดต่าง ๆ