กรณีศึกษา

นโยบายและการดำเนินการส่งเสริมพื้นที่เพื่อการเดินเท้าภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[ https://www.facebook.com/cu2040masterplan/ ]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถานศึกษาที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ในย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯ จึงทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นจุดเชื่อมต่อและผ่านทางไปยังจุดอื่น ๆ ได้ง่าย เพราะฉะนั้นจึงทำให้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเพียงนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังมีผู้คนทั่วไปจำนวนมากที่เดินทางสัญจรไปมาผ่านพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทั้งด้วยยานพาหนะ และการเดินเท้า อีกด้วย

ดังนั้น ในการดำเนินการจัดทำผังแม่บทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศตวรรษที่ 2 (CU2040) การพัฒนาผังภายใต้ยุทธศาสตร์ จึงได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการออกแบบประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเข้าถึงและการเชื่อมต่อการสัญจรที่ทั่วถึงและเท่าเทียมของคนกลุ่มต่าง ๆ อยู่ด้วย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องพื้นที่ทางเดินเท้าทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการจัดสภาพแวดล้อมให้รองรับและเหมาะกับทั้งนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย ประชาชนบุคคลทั่วไป รวมทั้งผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ในทุกเพศทุกวัยที่ต้องเดินทางด้วยทางเดินเท้าภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ให้สามารถเดินเท้าได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 Good Health and Well- being  เป้าหมายที่10 Reduced Inequalities และ เป้าหมายที่ 11 Sustainable Cities and Communities

การดำเนินการเรื่องพื้นที่เพื่อการเดินเท้าของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

CU Covered Walkways & Sky Walk

CU Covered Walkways & Sky Walk เป็นทางเชื่อมสำหรับคนที่ไม่รีบหรือชอบเดินภายในจุฬาฯ เป็นทางเดินมีหลังคาที่เชื่อมโยงอาคารเรียนทั่วมหาวิทยาลัย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับทุกคนที่ต้องการเดินทางไปยังสถานที่ใกล้เคียงด้วยการเดิน ลดจำนวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยังส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีของนิสิต บุคลากรและบุคคลทั่วไปผ่านการออกกำลังกายด้วยการเดิน พร้อมปกป้องผู้ที่เดินเท้าจากฝนและแสงแดดที่รุนแรงโดยรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย [ http://www.green.chula.ac.th/index.php/transportation/cu-cover-way-sky-walk/ ]

ผังทางลาดและการเข้าถึงสำหรับผู้พิการในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาระบบกายภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมพื้นที่การเดินเท้าภายในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับผู้ใช้วีลแชร์และผู้พิการทางสายตา โดยออกแบบและก่อสร้างอาคารหลายแห่ง พร้อม   ทางลาดสำหรับวีลแชร์ ให้สัญญาณสัมผัสรวมทั้งอักษรเบรลล์ ดำเนินการบำรุงรักษาทางเท้าในมหาวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ขรุขระ ไม่กีดขวาง และปรับขนาดทางลาดสำหรับรถเข็นที่เชื่อมต่อกับถนนสายหลักเพื่อไม่ให้แคบเกินไปสำหรับผู้ใช้ [ http://www.prm.chula.ac.th/disabled-access/ ]

สอดคล้องตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 มาตรา 37 [ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/law/37_0.pdf ] และกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 [ https://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr48-58e-upd(02).pdf ]

ยิ่งไปกว่านั้น นิสิตจุฬาฯ บางส่วนได้จัดแคมเปญ “Chula Walk” เพื่อสำรวจว่าพื้นที่มหาวิทยาลัยและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนพิการจริง ๆ หรือไม่ และร่วมเป็นกระบอกเสียงให้กับศูนย์การออกแบบสากลเพื่อให้ศูนย์ฯ ช่วยจัดสภาพแวดล้อมและ พื้นที่ที่เหมาะสมกับผู้พิการและลดความไม่สะดวก [ https://www.accessibilityisfreedom.org/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%AF-chula-walk0/ ]

อุโมงค์ลอดถนนพญาไท และ เนินชะลอความเร็ว

อุโมงค์ลอดใต้ถนนพญาไท และ เนินชะลอความเร็ว สร้างขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่เดินเท้าภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยอุโมงค์ลอดใต้ถนนพญาไท เกิดขึ้นจากการตกลงร่วมกันระหว่างจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กับกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เป็นทางเดินเชื่อมใต้ถนนพญาไทระหว่างพื้นที่ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยทั้งสองฝั่ง  เป็นการช่วยให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร นักเรียน และประชาชนได้ใช้  เพื่อความปลอดภัยในการข้ามถนน ไม่ต้องเดินบนถนน ซึ่งเป็นการเสี่ยงอันตรายจากการที่จะถูกรถชนเสียชีวิต  [ http://www.memohall.chula.ac.th/article/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C/ ]  [ https://www.thaipbs.or.th/news/content/311964  ]

ที่มา: https://www.creativecitizen.com/cu-tunnel/

ส่วนเนินชะลอความเร็วในจุดทางข้าม สร้างขึ้นโดยผสมผสานเข้ากับการทำเป็นทางม้าลายในหลายจุดทั่วทั้งมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์เป็นทางข้ามให้กับทุกคนที่ต้องเดินสัญจรไปมาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และยิ่งโดยเฉพาะสำหรับผู้พิการที่ต้องใช้รถเข็น เนื่องจากมีความต่างระดับระหว่างทางเท้าและถนน ทำให้ผู้พิการที่ใช้รถเข็นไม่สามารถใช้เป็นทางข้ามได้ ในการจัดทำเนินชะลอความเร็วจะจัดทำให้มีระดับเท่ากับระดับทางเท้าทั้งสองฝั่ง เพื่อใช้ในการสัญจรที่ต่อเนื่องของผู้พิการ โดยในการจัดทำจะคำนึงถึงจุดที่เหมาะสม เช่น ระยะที่ปลอดภัยในการติดตั้ง จุดที่เหมาะสมของทางข้ามคนเดินเท้า และเส้นทางการสัญจรของผู้พิการ โดยมหาวิทยาลัยได้มีการศึกษาเส้นทางการสัญจรของผู้พิการให้สามารถสัญจรที่ต่อเนื่องได้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) และส่งเสริมการเดินเท้าให้กับทุกคนที่ต้องเข้ามาเดินผ่าน หรือเข้ามาเดินภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ให้เดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย รวมทั้งจะสามารถใช้เป็นทางข้ามกรณีที่มีนำท่วมขังบริเวณถนนภายในมหาวิทยาลัยได้

นอกจากนี้ เนินชะลอความเร็ว จะเป็นตัวช่วยจำกัดความเร็วยานพาหนะภายในมหาวิทยาลัย ไม่ให้ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยต่อนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกที่เข้ามาเดินภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย รวมถึงตัวผู้ใช้ยานพาหนะเอง ซึ่งในปัจจุบันภายในมหาวิทยาลัยมีการใช้ยานพาหนะที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยาน Scooter รวมถึงรถสาธารณะต่างๆ เช่น รถโดยสารภายในมหาวิทยาลัย รถสามล้อไฟฟ้า (MuvMi) โดยการจำกัดความเร็วจะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ และความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย

ที่มา:

  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

ดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตครบวงจรในวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรม Pre-vent Protect Cure

เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นดั่งบ้านที่ปลอดภัย ของนิสิตกว่า 37,000 คน ฝ่าวิกฤตนี้ด้วยนวัตกรรมจุฬาฯ ทั้ง ป้องกัน ปกป้อง และรักษา และออกมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตจุฬาฯ อย่างครบวงจร

“อาคารเขียว” กับ การพัฒนาอาคารใหม่อย่างยั่งยืนของจุฬาฯ

การพัฒนาพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบันที่มีความสำคัญในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบทที่มีความเกี่ยวข้องกับความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) ซึ่งมีผลมาจากกิจกรรมหรือการใช้ทรัพยากรที่เกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทางกายภาพภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การจัดซื้อของจุฬาฯ กับเรื่องของความอย่างยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีการใช้วัสดุสำนักงานและวัสดุสิ้นเปลืองจำนวนมาก การจัดหาวัสดุดังกล่าว ดำเนินการภายใต้นโยบายการให้ความสำคัญต่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายสำคัญด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีการรณรงค์และสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญมาโดยตลอด ทั้งในประชาคมชาวจุฬาฯ ชุมชนโดยรอบ พื้นที่ต่อเนื่องและสาธารณะ

จุฬาฯ วางแนวทางแก้ปัญหาน้ำระยะยาวผ่านงานวิจัยหลากมิติ เสนอกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำยั่งยืนเพื่อชาติร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมิติของการมุ่งแก้ปัญหาประเทศในระดับมหภาคหลายด้าน โดยการบริหารจัดการน้ำเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ  20 ปี ของประเทศไทย ที่มุ่งแก้ปัญหาแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำสร้างให้เกิดมาตรฐาน