กรณีศึกษา

การดำเนินการนโยบายด้านความยั่งยืนกับ Outsource ของจุฬาฯ

จากการดำเนินงานตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายด้านการบริหารจัดการขยะ พ.ศ.2566 [ http://www.sustainability.chula.ac.th/th/rule-regulation/3488/ ] และ ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรการลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2566 [ http://www.sustainability.chula.ac.th/th/rule-regulation/3498/ ] มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหาร (food service) ในโรงอาหารส่วนกลางของมหาวิทยาลัยด้วย  โดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ

โดยข้อกำหนดที่ระบุในสัญญาร้านค้าที่เป็น Outsource ให้บริการอาหารหรือเครื่องดึ่ม ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะและการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย มีตัวอย่างเช่น

  • ผู้เช่าจะต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ของมหาวิทยาลัยในการคัดแยกขยะเศษอาหาร ขยะทั่วไปและอื่นๆ รวมทั้งต้องทำความสะอาดห้องเก็บขยะเป็นประจำทุกวัน
  • ผู้เช่าต้องใช้เครื่องปรุงเครื่องดื่มและขนมหวานทุกชนิดที่มีมาตรฐานรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข หรือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอก.) หรือหน่วยงานอื่นที่รับรองความปลอดภัยอาหารของประเทศไทย
  • ผู้เช่าต้องให้ความร่วมมือตามโครงการระบบความปลอดภัยอาหารของโรงอาหารรวมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (การไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำและสุขาภิบาลอาหาร) และหากคณะกรรมการบริหารโรงอาหารรวมตรวจพบว่าผู้เช่าไม่ได้ให้ความร่วมมือตามโครงการฯ ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
  • ผู้เช่าและผู้ปฏิบัติงานในร้านค้าทุกคนต้องเข้ารับการอบรมสุขาภิบาลอาหารที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดขึ้น

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยโดยโครงการ Chula Zero Waste ได้จัดการประชุมประจำปีผู้ประกอบการร้านค้าซึ่งเป็น Outsource ในโรงอาหารรวมขึ้น  เพื่อเป็นเวทีในการชี้แจงนโยบาย มาตรการ และระบบการจัดการขยะภายในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้ให้บริการอาหารได้รับรู้ อีกทั้งเป็นเวทีในการรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหาทางออกร่วมกัน  โดยได้มีการจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน การประชุมประชุมประจำปีประกอบกับการทำงานร่วมกันกับผู้ให้บริการอาหารอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เกิด engagement และสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้ให้บริการอาหารเป็นผลให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะสู่การปฏิบัติจริง อาทิเช่น

  • การแยก Food waste / Organic waste จากการเตรียมอาหารและประกอบอาหารในครัว  โดยมีการรวบรวมขยะประเภทนี้ทุกวันจากทุกโรงอาหารนำไปเข้าเครื่อง Bio-digester เพื่อแปรรูปเป็นสารปรับปรุงดินและน้ำหมักชีวภาพนำไปใช้ในการบำรุงรักษาต้นไม้ในบริเวณพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัย
  • ลดการใช้ Single-use plastic ในโรงอาหาร  งดการแจกถุงพลาสติกฟรีสำหรับ take away order  รวมถึงจะให้ช้อนส้อมพลาสติก หรือ หลอดพลาสติกเมื่อผู้รับบริการร้องขอเท่านั้น
  • เลิกการใช้แก้วพลาสติกในโรงอาหารและเปลี่ยนเป็นแก้ว “Zero Waste Cup” ที่เป็นแก้ว biodegradable และมีการจัดการแบบ closed-loop management โดยมีถังทิ้งเฉพาะแก้วนี้เพื่อรวบรวมกลับมาย่อยและหมักเป็นปุ๋ย และยังสามารถนำแก้วใช้แล้วนี้ไปใช้ใส่ดินอนุบาลต้นอ่อนได้ (แทนการใช้ถุงพลาสติก) ก่อนนำไปลงดินปลูกโดยไม่ต้องนำต้นไม้ออกจากภาชนะเนื่องจากสามารถย่อยสลายได้เองเมื่อฝังลงในดิน

รวมไปถึง ร้านค้าผู้ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มยังให้ความร่วมมือในการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะประเภทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร้าน และให้ความร่วมมือในการให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้บริการที่นำภาชนะหรือแก้วส่วนตัวมาใช้ในโรงอาหาร  เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแรงจูงใจในการเสริมสร้าง Eco Lifestyle in campus

ที่มา:

  • สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

“อาคารเขียว” กับ การพัฒนาอาคารใหม่อย่างยั่งยืนของจุฬาฯ

การพัฒนาพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบันที่มีความสำคัญในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบทที่มีความเกี่ยวข้องกับความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) ซึ่งมีผลมาจากกิจกรรมหรือการใช้ทรัพยากรที่เกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทางกายภาพภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การส่งเสริมการทำงานทางไกลให้กับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมรูปแบบการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล เป็นตัวเลือกสำหรับบุคลากร ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ที่อยู่นอกสำนักงาน การทำงานทางไกลเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันให้กับบุคลากร และช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ เนื่องจากบุคลากรไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานเนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอ

การพัฒนาพื้นที่ของจุฬาฯ อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูสวนหลวง-สามย่าน BLOCK 33 : Residential & Wellness

โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและอาคารเขียว โดยใช้แนวความคิดจากการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว สร้างความเป็นชีวิต (Life Style) สร้างที่พักอาศัยคุณภาพ (Live Style) จนก่อเกิดพื้นที่เรียนรู้ (Learning Style) มุ่งเน้นการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Center of SHE คุมเข้มความปลอดภัยแล็บจุฬาฯ นับพันด้วย “ChemTrack & WasteTrack 2016

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างมากในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครอยากประสบอุบัติเหตุ ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่สะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว การปลูกฝังให้นิสิตผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อนจะจบออกไปประกอบวิชาชีพในการทำงานในหน่วยงานต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการหรือห้อง Lab มากกว่า 1,000 ห้อง จึงดำเนินการด้านระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการกำจัดสารเคมี ของเสียอันตรายอย่างถูกวิธีมากว่า 20 ปี