พิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
https://www.youtube.com/watch?v=WBZMvp8XK34&t=3s
ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนเป็นคลังความรู้ที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว อาทิ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ สังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์, พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้กระจายอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ ในแต่ละภูมิภาคอีก 2 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน จังหวัดชลบุรี เป็นต้น [ https://www.chula.ac.th/cu-services/creative-space/museums/ ]
หากแต่เสน่ห์เย้ายวนใจที่ทำให้นิทรรศการที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ของจุฬาฯ มีมนต์ขลังชวนดึงดูดใจให้กลุ่มคนเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยังคงเข้ามาเยี่ยมชมกันไม่ขาด น่าจะอยู่ตรงที่จุฬาฯ ได้พัฒนาทั้งเนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงในแบบสหศาสตร์อยู่อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยบูรณาการเนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอผ่านความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ในรั้วจุฬาฯ ด้วยกัน ตัวอย่างนิทรรศการสำคัญที่จัดแสดงในช่วงปี 2565-2566 เช่น
นิทรรศการ “ใครสร้างคำ คำสร้างใคร”
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกระทรวงวัฒนธรรม จัดนิทรรศการ “ใครสร้างคำ คำสร้างใคร” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 เพื่อให้เรียนรู้ว่า “คำ” ไม่ได้เป็นเพียงหน่วยในภาษาที่ใช้เพื่อสื่อความหมายเท่านั้น แต่ยังมีความสัมพันธ์กับผู้ใช้ภาษาและสังคมวัฒนธรรมด้วย การศึกษาคำจึงช่วยให้เราเข้าใจระบบความคิด ค่านิยม และความเชื่อของคนในสังคม ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการศึกษาปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม [ https://www.cuartculture.chula.ac.th/activity/11519/ ]
นิทรรศการดังกล่าวจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 27 กันยายน 2565 ในวันทำการ ผู้สนใจเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย [ https://www.chula.ac.th/news/80597/ ]
นิทรรศการ “ภิรมย์จันทร์” คุณและฉัน เราเห็นจันทร์ดวงเดียวกัน
นิทรรศการภาพถ่ายความงามของดวงจันทร์ ผ่านมุมมองของช่างภาพชาวไทยและจีน เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-จีน ในเทศกาลวันไหว้พระจันทร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและประเพณีเกี่ยวกับดวงจันทร์ที่มีร่วมกัน และเรื่องราวของพระจันทร์ในทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ โดยความร่วมมือกับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพมหานคร สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม – 7 ตุลาคม 2565 [ https://www.cuartculture.chula.ac.th/virtual/the-moon/ ]
นิทรรศการสารพัดเรื่องของศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ “กระดาษ เส้นเสียงและอักษร”
ผู้ซึ่งมีความรู้หลากหลายทั้งด้านประวัติศาสตร์ กฎหมาย จดหมายเหตุ ศิลปวัฒนธรรมและด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง
ภัณฑารักษ์ได้คัดเรื่องราวจากบทความในหนังสือ บทโทรทัศน์ รวมถึงเรื่องราวส่วนตัวบน Facebook ของอาจารย์ ที่ได้นำเสนอความรู้รอบตัว สภาพสังคม ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสัมภาษณ์เพิ่มเติมประสบการณ์ชีวิตที่พบเห็นตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน และอารมณ์ขันของ “ธงทอง จันทรางศุ” มาจัดแสดงเป็นหมวดหมู่ภายในห้องนิทรรศการ จัดแสดงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม – 21 มิถุนายน 2566 [ https://www.youtube.com/watch?v=xjBvuDc5C9Q ]
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์
เป็น 1 ใน 11 พิพิธภัณฑ์ของโลกและเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ด้วยเทคนิคพลาสติเนชัน ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ในการรักษาสภาพร่างกายหรือชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ที่เสียชีวิต โดยใช้การแทนที่น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อด้วยสารพลาสติกเหลว ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยา ไม่มีการเน่าสลาย และสามารถคงสภาพอยู่ได้นาน ภายในจัดแสดงร่างกายและชิ้นส่วนของมนุษย์แบบ 3 มิติ
โดยพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80 ชั้น 9 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตลอดทั้งปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย [ http://www.dent.chula.ac.th/museums/museum-of-human-body/ ]
https://www.youtube.com/watch?v=jy9vflCpcDs
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งน่าน พิพิธภัณฑ์ศิลป์-สินธรรมชาติที่จังหวัดสระบุรี สวนสมุนไพรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “เจ้ากรมเป๋อ” และสวนสมุนไพรบุญรอด บิณฑสันต์
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และอ้างอิงทางวิชาการสำหรับเยาวชนในพื้นที่ ยกระดับความรู้และงานวิจัยของชุมชน และเสริมสร้างสำนึกรักทรัพยากรในท้องถิ่น ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบการศึกษาของนักเรียน นิสิตและนักศึกษาในพื้นที่ทั้งจังหวัดน่านและสระบุรี
https://www.youtube.com/watch?v=_yOAS0DfZ9o&t=67s
ที่มา
- สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อื่นๆ
โครงการวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบท (ค่ายวิศวพัฒน์)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงความรู้ ถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทางการชลประทานที่พร้อมถ่ายทอดสู่นิสิตนำไปสู่การฝึกปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำให้กับชุมชนห่างไกล ผ่านค่ายวิศวพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบทที่พร้อมปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นิสิตจิตอาสาที่เข้าร่วมค่าย ด้วยปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ของบ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
ร่วมมือกับ NGOs เพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกิจกรรมการอาสาสมัครของนิสิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ
ร่วมมือกับ NGOs เพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกิจกรรมการอาสาสมัครของนิสิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ
เปิดพื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ กับการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับชุมชน
เมื่อก้าวเข้ามาในย่านจุฬา สวนหลวง-สามย่าน จะสัมผัสได้ถึงพื้นที่สีเขียวภายในย่านที่มีขนาดใหญ่และจะขยายขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรามีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้เป็น “GREEN & CLEAN CITY” โดยมีหลากหลายนโยบายที่จะช่วยพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมรอบด้านอย่างยั่งยืน