กรณีศึกษา

โครงการจุฬาเวิร์ส: แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริง เพื่อชุมชนวิถีใหม่อย่างยั่งยืน ด้วยกรณีใช้งานด้านการแพทย์ การศึกษาตลอดชีวิต และการพาณิชย์

โครงการจุฬาเวิร์ส คือแพลตฟอร์มโลกเสมือนจริง ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ ผู้ใช้งาน นักพัฒนา ร้านค้า และชุมชน สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ เป็นการเชื่อมโยงระบบการทำงานต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังสามารถติดต่อสื่อสารกับองค์กรภายนอกได้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิตทอลที่สำคัญนี้ โครงการจุฬาเวิร์ส ถือเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับนิสิตปัจจุบันและอนาคตที่จะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แบบ immersive และประสบการณ์ชีวิตที่ทันสมัย

แฟลตฟอร์มจุฬาเวิร์สนี้ เน้นไปที่รูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลายในรั้วมหาวิทยาลัยและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบการเชื่อมโยงที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถเพิ่มทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ จากความร่วมมือของภาคเอกชนต่าง ๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งระบบสุขภาพ และเศรษฐกิจ แฟลตฟอร์มนี้ยังขยายขอบเขตการเรียนรู้ ส่งเสริมทักษะต่าง ๆ และเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญให้กับทั้งนิสิต คณาจารย์ และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ไม่จำกัดเพียงสถานที่จริงในมหาวิทยาลัย หากแต่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบการทำงานของมหาวิทยาลัย พร้อมส่งเสริมเป้าหมายหลักของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำแห่งอนาคต

จุฬาเวิร์ส ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือ ChulaVerse World (CV World) ประกอบได้ด้วยโครงสร้างหลัก ทั้งเพจหลัก (main page) แผนที่ภายนอกอาคารแบบสามมิติ (3D outdoor map) ฉากสามมิติ (3D scene) และพื้นที่สามมิติ (3D space) โดยเพจหลักจะสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ ตกแต่งอวตารแบบสามมิติ และเลือกบริการต่าง ๆ ได้ ส่วนแผนที่ภายนอกอาคารสามมิติจะนำเสนอบริเวณพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนฉากสามมิติจะประกอบไปด้วยส่วนหลักของมหาวิทยาลัย เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ หอสมุดกลาง และศาลาพระเกี้ยว นอกจากนี้ พื้นที่สามมิติจะแสดงกิจกรรมเสมือนจริงที่สำคัญต่าง ๆ โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามภารกิจ เช่น การเรียนการสอน การสัมมนา การประชม การแข่งขัน นิทรรศการต่างๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยในพื้นที่ดังกล่าว ผู้ใช้จะสามารถใช้กล้อง ไมโครโฟน การแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ช่องสนทนา การแสดงหน้าจอและที่จัดเก็บไฟล์ข้อมูล
  2. การพัฒนาเมตาเวิร์สเพื่อการศึกษาหรือ ChulaVerse Learn (CV Learn) มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้สำหรับผู้ใช้ ให้สามารถใช้งานและเรียนรู้เนื้อหารายวิชาต่าง ๆ ในรูปแบบของเนื้อหาเสมือนจริง (Immersive Content) อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ในการเก็บรวบรวมเนื้อหาบทเรียนในด้าน Immersive มีระบบข้อมูลผู้ใช้งาน ระบบการลงทะเบียนเรียน การแสดงสถานการณ์เรียนรู้ รวมไปถึงระบบการออกประกาศนียบัตร เป็นต้น และสามารถเชื่อมต่อกับ MyCourseVille และ MDCU MedUMore ได้ อีกทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มจุฬาเวิร์สให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเป็นพื้นที่ในการจัดเก็บ รวบรวม และนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบเสมือนจริง ทั้งในรูปแบบ VDO 180/360 องศา, การสาธิตจำลองสถานการณ์ และ VR Tour ซึ่งสามารถสาธิตการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ และการเยี่ยมชมพื้นที่แบบเสมือนจริง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมีประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่แตกต่าง ตอบโจทย์ในข้อจำกัดบางอย่างที่ VDO สองมิติแบบเดิมไม่สามารถทำได้ จึงถือว่าเป็นมิติใหม่และเป็นต้นแบบของการพัฒนาการเรียนการสอนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้บูรณาการแพลตฟอร์มจุฬาเวิร์สฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ที่นิสิตหรืออาจารย์สามารถดำเนินการสร้างพื้นที่/ห้องเรียนในรูปแบบของ Virtual ได้ โดยในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ อาจารย์จะสามารถกำหนดขนาดของห้องเรียน สเปค หรือฟังก์ชันอื่น ๆ ได้ เมื่อเข้าไปใช้งานในห้องเรียน (Learning Space) ในขณะที่นิสิตผู้ใช้งานสามารถใช้งานกล้อง ไมโครโฟน แสดงความรู้สึก แชท และสามารถแชร์หน้าจอ เพื่อนำเสนอผลงานในชั้นเรียนได้

นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนา ได้มีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภายในส่วนงานคณะต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาทิ Learning Innovation Center, โครงการ Chula Engineering Life Long Learning, Chulalongkorn Healthcare Advanced Multi-Profession Simulation Center เป็นต้น  และภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะภาคเอกชน ที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือและให้การแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกันรวมถึงร่วมกันในการพัฒนาเนื้อหาให้สามารถตอบโจทย์และตรงตามเป้าหมายได้

ที่มา

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล: เปิดตัวหลักสูตรรูปแบบใหม่ มุ่งเน้นปฏิบัติงานจริง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดหลักสูตรใหม่ “สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)” ในปีการศึกษา 2566 ที่เปิดรับนิสิตมากถึง 300 คนต่อปี เพื่อผลิตบัณฑิตมาเติมเต็มในตลาดแรงงานที่ยังคงขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร Higher education sandbox ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน และเพิ่มทักษะในการลงมือปฏิบัติงานจริงแก่นิสิตจากการฝึกงานทุกปีตลอดการศึกษา

การปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน – การเรียนการสอนสหวิชาชีพเสมือนจริง (ER-VIPE)

การระบาดของ COVID-19 ก่อให้เกิดความท้าทายแก่นิสิตสหสาขาวิชาชีพเนื่องจากประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่จำกัดเพราะขาดแคลนเจ้าหน้าที่ มีระยะเวลาในการสอนน้อย และความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสสูง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทีมของเราได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตสหสาขาวิชาชีพสำหรับการปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน (ED)

หลักสูตร “Quick MBA from Home” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบบูรณาการ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่เพียงสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ยังส่งผลต่อระบบการศึกษา เป็นเหตุให้จำเป็นต้องออกแบบหลักสูตรใหม่ให้ยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ต่อไปอย่างไม่หยุดชะงัก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขยายกระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เน้นทางด้านการเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ชีวิต ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากเรียนในระบบทั่วไป