จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกนี้ได้ดี ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศไว้ อย่างไรก็ดีตัวเชื้อไวรัสยังคงมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง วัคซีนป้องกันโควิด-19 จำเป็นต้องมีการพัฒนาให้นำมาใช้ได้ในเร็ววัน เราจึงได้เห็นภาพความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนของภาคีเครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกที่ได้ระดมสรรพกำลังพัฒนาวัคซีนขึ้นหลายแพลตฟอร์มอัพเดทออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวัคซีน mRNA “ChulaCov19” จากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเช่นกัน
หลังจากประสบผลสำเร็จในการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA “ChulaCov19” ในลิง ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ช่วงกลางปี พ.ศ.2563 และกำลังรอหน่วยงานนรัฐไฟเขียวให้ทดลองในมนุษย์ (จิตอาสา) ช่วงปลายปี 2563
วัคซีนชนิด mRNA สัญชาติไทยรุ่นแรก ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับวัคซีน Pfizer และ Moderna ได้เริ่มการทดสอบในคนแล้ว เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการทดสอบฉีดวัคซีนให้กับอาสาสมัครสุขภาพดี ระยะที่ 1และระยะที่ 2 เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน ChulaCov19
ผลการทดสอบวัคซีน ChulaCov19 ระยะที่ 2 ที่ผลิตในสหรัฐ อเมริกา ชี้ให้เห็นว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและผลข้างเคียงคล้ายคลึงกับวัคซีนของ Pfizer/BNT วัคซีน ChulaCov19 สามารถเพิ่มระดับแอนติบอดีและภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ได้มากกว่าการฉีดวัคซีน Pfizer/BNT ถึง 2.5 เท่า สามารถป้องกันป้องกันสายพันธุ์ต่างๆ ของเชื้อ COVID-19 ได้ (Alpha, Beta, Gamma และ Delta) มีความสามารถป้องกันสายพันธุ์ Omicron ได้ในระดับต่ำแต่ยังคงสูงกว่าวัคซีน Pfizer/BNT สำหรับแผนการทดสอบวัคซีน ChulaCov19 ต่อสายพันธุ์ Omicron ทางคณะจะทำการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 3 ตามแบบแผนการทดสอบสายพันธุ์นี้ ที่ได้ทำในวัคซีน Pfizer/BNT
ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและการผลิตวัคซีน mRNA ในปริมาณสำหรับใช้จริง (large scale) โดยบริษัท Bionet Asia (lot BNA159) ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขณะนี้สามารถผลิตวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ ChulaCov19 (ล็อต BNA159) เพื่อทดสอบกับอาสาสมัครประมาณ 20,000 คน Bionet Asia (BNA บริษัทไทย) สามารถพัฒนาการผลิตวัคซีน mRNA ได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ Bionet Asia เป็นหนึ่งในโรงงานผลิตวัคซีนเพียงสิบแห่งในโลกที่สามารถผลิตวัคซีน mRNA ได้เช่นเดียวกับ Pfizer และ Moderna โดยวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยได้ส่งไปทดสอบคุณสมบัติและคุณภาพขของวัคซีนที่ประเทศอังกฤษพบว่า วัคซีนที่ผลิดในประเทศไทยสามารถเทียบเคียงได้กับวัคซีนที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา ความร่วมมือระหว่างศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงงานวัคซีนเอกชนไทยถือว่าเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการบรรลุความยั่งยืนของปัญหาการแพร่ระบาดของโรคในอนาคต หากเกิดโรคระบาดหรือเชื้อกลายพันธุ์ขึ้นใหม่ ประเทศไทยจะสามารถคิดค้น พัฒนา และผลิตวัคซีน mRNA เพื่อแก้ไขวิกฤตของประเทศได้รวดเร็ว โดยมีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกวัคซีนที่ใช้ในการยับยั้งโรคติดเชื้อรุนแรงที่จะเป็นปัญหาไปทั่วโลกในอนาคต ซึ่งรวมถึงวัคซีนสำหรับโรคที่ไม่ติดเชื้อ เช่น มะเร็งและภูมิแพ้
สำหรับความก้าวหน้าด้านการขออนุญาติและการเอกสารของวัคซีน ChulaCov19 ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสาร
ด้าน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการกล่าวว่า “การพัฒนาวัคชีน ChulaCov19 ได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน อาทิ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าคณะแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย”
‘Discover, develop and deliver safe, effective and affordable vaccines’ เป็นพันธกิจของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผลิตผลงานซึ่งเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมายโดยเฉพาะงานด้านการป้องกันโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อชนิดอื่นๆ ได้แก่ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) โรคไข้เลือดออกชนิดเดงกี่ (Dengue) โรคฉี่หนู (Leptospirosis) และภูมิแพ้ไรฝุ่นในบ้าน (House dust mite) ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยสู่สาธารณะไปแล้วมากกว่า 19 ฉบับ มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหลายระดับทั้งกับ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ และยังมีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยภายในประเทศคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และได้รับความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายวิจัยวัคซีนระหว่างประเทศ ได้แก่ Vaccine Research Center (VRC) National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIAID) National Institute of Health (USA); Department of Adjuvant and Antigen Research, U.S., Military HIV Research Program (MHRP) และ Walter Reed Army Institute of Research (WRAIR) จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่า ในการพัฒนาวัคซีนที่ปกติแล้วเคยใช้เวลานานนับสิบปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาแต่ละขั้นตอนให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
ที่มา:
- ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula VRC)
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Related articles:
- https://www.chula.ac.th/en/clipping/42518/
- https://www.chula.ac.th/news/43752/
- https://www.chula.ac.th/news/49656/
- https://www.chula.ac.th/news/52440/
- https://www.newswise.com/coronavirus/chula-medicine-announced-the-success-of-clinical-trials-for-the-chulacov19-vaccine-and-acceleration-of-the-next-phase-of-research/?article_id=756327
- https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/2132527/leading-by-example
อื่นๆ
สองนวัตกรรมคืนชีวิตใหม่ให้ปะการังไทย ผสมเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก พร้อมชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของระบบนิเวศของมหาสมุทรถือเป็นภาวะวิกฤติการณ์ที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งได้รับผลกระทบจากทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติของสภาพอากาศ สิ่งมีชีวิตจำนวนมากใกล้จะสูญพันธุ์ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งทำให้จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว “ปะการัง” เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตเราเหล่านั้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับภารกิจสู้วิกฤตน้ำมันรั่วไหลพิทักษ์ท้องทะเลไทย
ปัญหาระบบนิเวศชายฝั่งทะเลไทยได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบหลากหลายรูปแบบยังคงได้รับความสนใจจากประชาชนในวงกว้างทุกครั้งที่ถูกนำเสนอโดยสื่อมวลชน เพราะในทุกปี ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งหรือบริเวณป่าชายเลนในประเทศไทยจะพบคราบน้ำมันและก้อนน้ำมันบนชายฝั่งซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต และกระทบการท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA “CU-Cov19”
โครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ
นวัตกรรมเครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูงในภาวะฉุกเฉินการระบาด COVID-19
ใน พ.ศ. 2564 ทั่วโลกเกิดการระบาดของ COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์อัลฟาและเดลตา ทำให้มีผู้ติดเชื้อยืนยันเกิน 363,000 รายและผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 รายในประเทศไทยถึงเดือนกรกฎาคม อาการรุนแรงของผู้ป่วยนำมาสู่เครื่องช่วยหายใจและเครื่องบำบัดโรคอัตราการไหลสูงขาดแคลนเนื่องจากมีต้องการทั่วโลก