จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าในปี พ.ศ. 2564 สังคมไทยจะเปลี่ยนเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ การเป็นสังคมสูงวัยสะท้อนถึงความสำเร็จของมนุษยชาติ ในการที่จะมีชีวิตยืนยาวขึ้นอย่างมาก ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเป็น 60 ล้านคน โดย 20% มีอายุมากกว่า 60 ปี ในขณะที่การวางแผนครอบครัวส่งผลให้การคลอดบุตรลดลง 10 ปี ส่งผลให้อัตราการเจริญพันธุ์ลดลงในขณะที่อัตราการตายลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วในขณะที่ประเทศยังเป็นประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการผลิตที่คาดว่าจะลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ยังสร้างผลกระทบทางสังคมที่รัฐบาลต้องแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการดูแลด้านจิตใจของผู้สูงวัยและการรักษาพยาบาล รัฐบาลจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้และมีแนวโน้มจะดำเนินการต่อไปในอนาคต
[ http://www.chulaari.chula.ac.th/ ]
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในสถาบันการศึกษาแนวหน้าของประเทศ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหลากหลาย จึงค้นหาแนวทางร่วมมือเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในสังคม โดยสร้างเพลตฟอร์มสำหรับผู้สูงอายุ ภายใต้ชื่อ “จุฬาอารี: แพลตฟอร์มนวัตกรรมจุฬาฯเพื่อผู้สูงอายุ” ซึ่งได้รวบรวมไปแพลตฟอร์มหลายๆ ด้าน ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และความร่วมมือด้านต่างๆ ซึ่งทั้งหมดจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย ได้ดำเนินการวิจัยจากผู้สูงอายุเขตใจกลางกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ชุมชนวังทองหลาง ชุมชนสามแพร่ง (แพร่งภูธร แพร่งนรา และแพร่งศุภศาสตร์) ชุมชนภาษีเจริญ ชุมชนดินแดงและชุมชนบางรัก เริ่มดำเนินการในปี 2561
แก้ปัญหาสังคมสูงวัยด้วย “5 การบูรณาการสหศาสตร์”
“จุฬาอารี” ได้พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสังคมไทยจากความร่วมมือภายจากคณะ 12 คณะภายใต้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วน:
- เศรษฐกิจและความร่วมมือ
- พลเมืองและสังคม
- สุขภาพ
- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
- เทคโนโลยีและวัฒนธรรม
ดูแลผู้สูงอายุด้วยหุ่นยนต์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ “นินจา จุฬา อารี” ให้กับกรมผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หุ่นยนต์นี้เริ่มต้นพัฒนามาจากบริษัทสตาร์ตอัพของจุฬาฯ โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ที่ “ศูนย์พัฒนาสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุปทุมธานี” สมารถรักษาทางไกลกับแพทย์ได้ หรือสำหรับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังในบ้านสื่อสารกับแพทย์ได้ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตหรือความเสี่ยงจากโรคที่พบบ่อยในวัยชรา หุ่นยนต์นี้ได้รับรางวัล CSR จากสมาพันธ์ผู้สูงอายุ ประจำปี 2563 จากผลความสำเร็จนี้ จุฬาอารีได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Robotic Innovation for Strokes Patients) เพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมีอัตราการเกิดโรคนี้สูงมากในประเทศไทย ให้ฟื้นจากอาการแขนขา อ่อนแรง สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ หุ่นยนต์นี้ส่งเสริมการกายภาพบำบัดและช่วยนักกายภาพบำบัดในการฟื้นฟูแขนขาของผู้ป่วย โดยมีหุ่นยนต์ 5 ประเภท คือ หุ่นยนต์ฝึกไหล่และข้อศอก 2 ประเภท หุ่นยนต์ฝึกข้อมือ 2 ประเภท และหุ่นยนต์ฝึกสะโพก เข่า และข้อเท้า 1 ประเภท หุ่นยนต์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ในประเภทหุ่นยนต์ทางการแพทย์และซอฟต์แวร์จากการประกวด i-MEDBOT Innovation Contest 2021 ซึ่งจัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา (ภาครัฐ) หรือ TCELS กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถนะ (กำลังแขน) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Robotic Innovation for Strokes Patients) ได้รับรางวัล THE Awards Asia 2022 จัดโดย THE World Universities Insights Limited หุ่นยนต์ นินจา จุฬา อารี และหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้ถูกมอบให้กับโรงพยาบาลอย่างน้อย 12 แห่งแล้ว
ความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุที่ยั่งยืน
นอกจากการรวมตัวกันของหน่วยงานต่างๆ ภายในจุฬาฯ แล้ว จุฬาอารียังได้รับความร่วมมือจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เช่น Young Happy ซึ่งจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพและสอนทักษะที่จำเป็นในการเตรียมตัวสำหรับผู้สูงวัย
จุฬาอารี ทำให้ประเทศไทยเป็นที่อยมรับในระดับสากลทางด้านผู้สูงอายุ โดยวิทยาลัยประชากรศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นเจ้าภาพการสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “Measuring Population Ageing: Bridging Research and Policy” โดยร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น The Population Division of the Department of Economic and Social Affairs (UNDESA) ของสหประชาชาติ The International Institute for Applied Systems Analysis (IIASA) ออสเตรีย และ The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP) โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาและเปลี่ยนความรู้และหาแนวทางร่วมในการวัดผลผู้สูงอายุในประชากร และสร้างกรอบกระบวนการคิดเพื่อช่วยในกฎหมายทั่วประเทศซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาระหว่างประเทศ
ปัจจุบันโครงการจุฬาอารีได้เข้าสู่ปีที่ 3 ของการดำเนินการ ซึ่งเน้นการศึกษาในระชาติควบคู่ไปกับการศึกษาระดับชุมชน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินการต่อไป โดยข้อมูลจะถูกรวบรวมจาก 4 ชุมชนที่มีประชากรทั้งหมด 1,361 คน แสดงให้เห็นว่าความร่วมมือจากจุฬาอารี ความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม สู่สังคมประชากรสูงวัยได้อย่างสมบูรณ์ สิ่งนี้สร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนและสร้างมุมมองให้เข้าใจถึงสาเหตุความสำคัญ ซึ่งเป็นฐานความรู้สำหรับกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุในการทำงาน “การผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข” นับเป็นนวัตกรรมสำหรับสังคมเพื่อสนับสนุนประชากรสูงอายุ
ปี 2564 จะเป็นปีสำคัญของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของคนสังคมไทยไปสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์”
ตลอดปี 2564 จุฬาอารียังได้พัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
- นวัตกรรมทางสังคม : การสร้างงานวิจัยและแผนสำหรับผู้สูงอายุ ในระยะที่ 3 ซึ่งได้มีการร่วมมือของสังคมตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ แผนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับแผนนวัตกรรมเพื่อปกป้องและช่วยเหลือผู้สูงอายุและครอบครัวภายใต้วิกฤตต่างๆ รวมถึง COVID-19 ซึ่งได้จัดทำร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้รับอนุญาตและเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 คือวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 และจะใช้เป็นแผนหลักในการสนับสนุนประชากรสูงอายุและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย
- นวัตกรรมฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน: การสร้างฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนที่ครอบคลุมด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นโครงการแอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเก็บและค้นหาข้อมูลฐานข้อมูล แสดงผลข้อมูลในเวปไซน์ผ่าน “แดชบอร์ด” จะช่วยให้ผู้ใช้หาค้นหาข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ข้อมูลของแต่ละคนจะถูกเชื่อมต่อกับ GPS ในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือ
- นวัตกรรมการสร้างหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟู : มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องการไหลเวียนโลหิตในสมองและการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของผู้สูงอายุได้ทดลองใช้ในชุมชนและศูนย์สุขภาพในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันหุ่นยนต์นี้ได้ถูกใช้ที่ ศูนย์พัฒนาสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ปทุมธานี) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลราชวิถีนอกจากนี้ นวัตกรรมที่เกิดจากโครงการนี้ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทหุ่นยนต์และซอฟต์แวร์เพื่อการแพทย์และสุขภาพ จากการประกวดหุ่นยนต์ทางการแพทย์ i-MEDBOT Innovation Contest จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TCELS กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564
- นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนผู้สูงอายุในชุมชน: การพัฒนาการเยี่ยมบ้านในฐานะ “Advanced Home Health Care Plus (AHHC+)” สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ในเขตกรุงเทพฯ ได้มีการสร้างวิดีโอให้ข้อมูลสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมการออม ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการออมเงินและการวางแผนการใช้จ่ายและความมั่นคงทางการเงินในวัยชราจัดทำแผนสำหรับเมืองในอนาคตที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุตามไกด์ไลน์ขององค์การอนามัยโลก โดยมีแผนจะเปลี่ยนโครงสร้างบ้านและสภาพความเป็นอยู่ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้สูงอายุมีด้านความปลอดภัยในการใช้ชีวิตทั้งในบ้านและนอกบ้าน แผนดังกล่าวยังรวมไปถึงการคมนาคมที่เอื้อให้ผู้สูงอายุเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย การได้รับประโยชน์จากการร่วมกิจกรรม และการสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนภายใต้วิกฤต ได้จัดให้มีรถรับส่ง Muvmi และรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้เป็นพาหนะที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน
จุฬาอารีสร้างผลงานวิจัยเพื่อไปสู่นโยบายระดับชาติ
จุฬาอารีสร้างงานวิจัยเพื่อนำเสนอนโยบายระดับชาติในรูปแบบของแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุระยะที่ 3 เป็นแผนแม่บทสำหรับสังคมสูงวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2580 ซึ่งสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งยังกลไกขับในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 19 พฤษภาคม 2565
ที่มา:
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
- http://www.chulaari.chula.ac.th/
- http://www.chulaari.chula.ac.th/2021/12/17/%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b8%ac%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88/
- https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000043168
อื่นๆ
บางโพลีฟวิ่งแล็บ: โครงการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ผ่านการวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนถนนสายไม้บางโพ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการวิจัย Bang Pho Living Lab ได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ของชุมชนถนนสายไม้ ย่านบางโพให้กลับมาเป็นที่รู้จักและส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านการสร้างพื้นที่ร่วมทดลองปฏิบัติการจริง โดยนิสิต 266 คน
เปิดภารกิจฟื้นฟูชายฝั่งมาบตาพุด แนวทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง บนเนื้อที่ทั้งหมด 12,568 ไร่ ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ และเป็นพื้นที่การลงทุนของอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรมการผลิตมากมาย อาทิ อุปกรณ์เครื่องใช้ บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงยังช่วยส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
จุฬาฯ กับการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งใหญ่ ใน Chula Sustainability Fest 2022
ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับภารกิจสู้วิกฤตน้ำมันรั่วไหลพิทักษ์ท้องทะเลไทย
ปัญหาระบบนิเวศชายฝั่งทะเลไทยได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบหลากหลายรูปแบบยังคงได้รับความสนใจจากประชาชนในวงกว้างทุกครั้งที่ถูกนำเสนอโดยสื่อมวลชน เพราะในทุกปี ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งหรือบริเวณป่าชายเลนในประเทศไทยจะพบคราบน้ำมันและก้อนน้ำมันบนชายฝั่งซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต และกระทบการท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้