กรณีศึกษา

งานบริการที่พักบุคลากร ส่งเสริมภารกิจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

เพราะทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญในการก้าวไปด้วยกันในทศวรรษต่อไปจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้บริการที่พักบุคลากร เพื่ออำนวยความสะดวก และเอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือเรื่องการเดินทางมาปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน นอกเหนือไปจากสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ได้แก่ การเงิน/การศึกษาบุตร สุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของบุคลากร

จากนโยบายดังกล่าวที่เกิดขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมการสร้างเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงจัดให้มีบริการหอพักบุคลากร (Providing ousing directly) 3 หอพัก ที่ประกอบด้วย “หอพักวิทยนิเวศน์” “หอพักจุฬานิวาส” และ “หอพักจุฬานิเวศน์” ที่มีข้อกำหนดการเข้าพักในรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

หอพักบุคลากร

“หอพักวิทยนิเวศน์” เป็นอาคาร 14 ชั้น ห้องปรับอากาศ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก โดยผู้ขอเข้าพัก ต้องมีคุณสมบัติคือเป็นข้าราชการ, เป็นลูกจ้างประจำเทียบเท่าระดับ P8 ขึ้นไป, หรือ พนักงานมหาวิทยาลัยระดับ P8 ขึ้นไป (หมวดเงินอุดหนุน , หมวดเงินรายได้) โดยต้องไม่รวมพนักงานวิสาหกิจ และพนักงานวิสามัญ พร้อมข้อปฏิบัติอื่นๆ ที่ปรากฏในประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการบริหารจัดการหอพักบุคลากร พ.ศ.2564 ทั้งยังมีหลายรูปแบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว หรือเข้าพักส่วนตัว หรือการเข้าพักระยะยาว และการเข้าพักแบบรายวันในราคาย่อมเยา

“หอพักจุฬานิวาส” เป็นอาคาร 15 ชั้น เป็นหอพักสำหรับบุคลากรตำแหน่ง คนงาน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.), นักการภารโรง และ ช่าง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการดูแลทรัพย์สิน และการรักษาความปลอดภัย แบ่งเป็นห้องประเภทห้องพักรวม 4 คน และห้องแบบครอบครัว ไม่เกิน 6 คน โดยมีระยะเวลาสัญญา 2 ปี และมีค่าบำรุงรักษาต่อเดือนในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ยังการส่งเสริมให้มีกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ที่ได้แก่ กิจกรรมเต้นแอโรบิค (โครงการ “ชาวจุฬา สง่างาม”) และกิจกรรมเลือกตั้งคณะทำงานประสานงานหอพักจุฬานิวาส เป็นต้น

“หอพักจุฬานิเวศน์” (อยู่ระหว่างปรับปรุง) เดิมเป็นอาคาร 4 ชั้น และเป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย มีห้องพักชนิดพัดลมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งขนาดใหญ่แบบเข้าพักเป็นครอบครัว และขนาดเล็กสำหรับเข้าพักส่วนตัว

โดยการขอเข้าพักอาศัยในหอพักสำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยก็ได้มีการพิจารณาประเมินความสามารถในการจ่ายค่าที่อยู่อาศัย (Evaluating affordability) ของบุคลากรแต่ละบุคคล ด้วยเกณฑ์คุณสมบัติผู้เข้าพักอาศัย เหตุผลความจำเป็นของบุคลากร การจัดลำดับความสำคัญของบุคลากรผู้สมัครขอเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความจำเป็นในหน้าที่การงานที่มีต่อหน่วยงานที่ต้องเข้าพักอาศัยอยู่ในหอพักเป็นเกณฑ์สำคัญอย่างรอบคอบ ทั้งผู้ที่กำลังพักอาศัยอยู่และผู้ที่ประสงค์จะให้เข้าพักอาศัยใหม่

นอกจากนี้ด้วย จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีบุคลากรกว่า 7,000 คน จุฬาฯ จึง ยังมีนโยบายสนับสนุนบุคลากรในการหาที่อยู่ในอาศัยในราคาที่เหมาะสมกับค่าครองชีพในพื้นที่ที่จุฬาฯ จัดตั้งอยู่ ในรูปแบบอื่นด้วย เช่น

การให้ค่าตอบแทนสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายและที่พักอาศัยรายเดือนให้กับบุคลากรชาวต่างประเทศ (Providing financial support) ดังเห็นได้จาก ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง อัตราการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษและสวัสดิการเพิ่มเติม สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการชาวต่างประเทศ พ.ศ.2565 เพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้มีความรู้ ความสามารถชาวต่างประเทศมาร่วมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยและส่งเสริมความเป็นนานาติให้ก้าวทันโลกในปัจจุบัน

เงินกู้เพื่อเคหะสงเคราะห์ของมหาวิทยาลัย (Housing loan) เป็นสวัสดิการเงินกู้ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อเคหะสงเคราะห์ โดยคิดดอกเบี้ยต่ำและคงที่ เพื่อให้บุคคลากรนำเงินไปใช้ดำเนินการปลูกสร้างอาคาร ซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ทดแทนอาคารเดิมที่ทรุดโทรมมาก ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด และดัดแปลงหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแห่งแรกของตนเองอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่มา:

สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

เนินชะลอความเร็ว (Speed Hump) การสร้างพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย

พื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่มีความร่มรื่น และการเดินทางไปยังอาคารต่างๆ ก็สามารถทำได้โดยไม่ลำบาก มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย และยังมีการออกแบบและจัดทำ และเนินชะลอความเร็วขึ้นในจุดทางข้าม ผสมผสานเข้ากับการทำเป็นทางม้าลาย ในหลายจุดทั่วทั้งมหาวิทยาลัย

งานบริการที่พักนิสิต อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้ คู่การสร้างพลเมืองที่ดี

หนึ่งในงานบริการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักสำหรับนิสิต เพื่อเป็นที่พักอาศัยอำนวยความสะดวกสบายเพื่อไม่ต้องเดินทางไกลสำหรับนิสิตผู้ที่มีความจำเป็นเพื่อเป็นที่พักอาศัย ตามวิสัยทัศน์ “เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และผาสุก”

CU-DSR เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในในทุกๆ ที่ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นภายในสถานศึกษาเท่านั้น สามารถเกิดขึ้นผ่านกระบวนการต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการประสบการณ์การปฏิบัติ การฝึกงาน และการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ได้

จุฬาฯ กับหลากหลายรูปแบบการเดินทางที่ยังยืน (Chula Smart Mobility)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน