การพัฒนาพื้นที่ของจุฬาฯ อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูสวนหลวง-สามย่าน BLOCK 33 : Residential & Wellness
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูแลการพัฒนาพื้นที่กว่า 1,153 ไร่ ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ให้เกิดความอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ดังนั้นโครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและอาคารเขียว โดยใช้แนวความคิดจากการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว สร้างความเป็นชีวิต (Life Style) สร้างที่พักอาศัยคุณภาพ (Live Style) จนก่อเกิดพื้นที่เรียนรู้ (Learning Style) มุ่งเน้นการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากส่วนกลุ่มอาคารพาณิชย์ที่มีบางส่วนทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีสภาพทรุดโทรม (brownfield sites) ถูกพัฒนามาเป็นโครงการ Block 33 โครงการมิกซ์ยูส ภายใต้แนวคิด “Residential & Wellness” โดยเป็นโครงการก่อสร้างอาคารและปรับปรุงพื้นที่ที่อยู่อาศัยติดอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองขนาดใหญ่ พร้อมด้วยศูนย์รวมการแพทย์ชั้นนำด้านการส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Centre & Medical Hub) เพื่อสร้างย่านที่พักอาศัยที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนใจกลางกรุงเทพ อีกทั้งด้วยทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของย่านสามย่าน จึงสามารถเชื่อมโยงพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตชุมชน เขตพาณิชย์ และอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ จึงเป็นเสมือนการเชื่อมต่อในด้านประวัติศาสตร์อันเปี่ยมด้วยเสน่ห์ที่ยาวนาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมสมัยใหม่
พื้นที่สวนหลวง-สามย่านเดิม
พื้นที่ปรับปรุง
โครงการ Block 33 [ https://pmcu.co.th/?page_id=10315 ] ประกอบด้วย อาคารที่พักอาศัยสำหรับบุคคลทั่วไป บุคลากรและสำหรับนิสิต และอาคารสำหรับร้านค้าและสำนักงาน เป็นโครงการออกแบบตามแนวคิดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน อีกทั้งยังคำนึงถึงแนวคิดด้านเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และอาคารเขียว (Green Building) โดยเชื่อมต่อจากอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ เข้าสู่พื้นที่โครงการจากพื้นที่รับน้ำและพื้นที่สีเขียวแนวราบสู่พื้นที่สีเขียวที่เชื่อมต่อไปจนถึงแนวตั้งของพื้นที่โครงการทั้งหมด สร้างระบบนิเวศแบบครบวงจร อีกทั้งได้สร้างระบบหมู่บ้าน (Village) เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อาศัยให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น มีการจัดการอาคารอัจฉริยะ ใช้แนวคิดอาคารสีเขียว โดยใช้เครื่องปรับอากาศจากระบบจ่ายน้ำเย็นจากส่วนกลาง เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกแบบให้แผงกันแดดสามารถกันแดดได้ทุกทิศ ลดพลังงานความร้อนที่เข้าสู่อาคารได้ และมีความยั่งยืนของการดูแลในระยะยาว ลดปรากฏการณ์เกาะร้อนของการก่อสร้างอาคาร และสามารถให้ลมพัดผ่านได้ นอกจากนี้โครงการก่อสร้างยังมีกรอบนโยบายที่กำหนดการออกแบบ การก่อสร้าง และการกำกับดูแล ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับในการจัดอันดับความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (TREES)
BY
- สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
คณะทำงานด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ ยุทธศาสตร์ Impactful Growth และมีการสื่อสารถ่ายทอดยุทธศาสตร์นี้ลงไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกำหนดให้เป็นหนึ่งใน OKR หลักของมหาวิทยาลัยด้วย
การดำเนินการนโยบายด้านความยั่งยืนกับ Outsource ของจุฬาฯ
มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหาร (food service) ในโรงอาหารส่วนกลางของมหาวิทยาลัยด้วย โดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ
หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ
ในปี พ.ศ. 2563 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,178 คน นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการสนับสนุน ดูแล และให้บริการกับกลุ่มบุคคลผู้พิการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของทุกคน รวมถึงกลุ่มผู้พิการที่ต้องการการสนับสนุนในรูปแบบเฉพาะ เพื่อให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มศักยภาพ