จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ ของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals (SDGs) ผ่านนโยบายและการบริหารจัดการ การวิจัยและนวัตกรรม การเรียนการสอน ตลอดจนการเข้าถึงและการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อสังคม ทั้งในระบบชุมชน ประเทศ และโลก ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จึงได้ดำเนินการจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง SDGs 101 : 17 เป้าหมายเปลี่ยนโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะมีเนื้อหาที่นำเสนอเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ซึ่งกำหนดโดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติ รายละเอียดดังนี้
ตอนที่ 1 : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ SDGs
ตอนที่ 2 : Goal 1 No Poverty ขจัดความยากจน
โดย ผศ.เรืองวิทย์ บรรจงรัตน์ รองผู้อำนวยการศูนย์จุฬาฯ-ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 3 : Goal 2 Zero Hunger ขจัดความหิวโหย
โดย รศ.ดร. ขนิษฐา ธนานุวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 4 : Goal 3 Good Health and Well Being สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
โดย ผศ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด
ตอนที่ 5 : Goal 4 Quality Education การศึกษาที่มีคุณภาพ
โดย ผศ.ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 : Goal 5 Gender Equality ความเท่าเทียมทางเพศ
โดย ดร.รัชดา ไชยคุปต์
ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 7 : Goal 6: Clean Water and Sanitation จัดการน้ำอย่างยั่งยืนและพร้อมใช้สำหรับทุกคน
โดย ดร.เจนยุกต์ โลห์วัชรินทร์
ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 : Goal 7 Affordable and Clean Energy ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้ตามกำลังของตน
โดย รศ.ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 : Goal 8 Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
โดย ผศ.ดร.รัตติยา ภูละออ
รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และ ผอ.ศูนย์ประสานงานวิจัยแรงงานแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 10 : Goal 9 Industry, Innovation and Infrastructure ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและนวัตกรรม
โดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย
รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 11 : Goal 10 Reduced Inequality ลดความเหลื่อมล้ำทั้งในภายในและระหว่างประเทศ
โดย รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 12 : Goal 11 Sustainable Cities and Communities สร้างเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย
โดย รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล
รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 13 : Goal 12 Responsible Consumption and Production สร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
โดย ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 14 : Goal 13 Climate Action ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน
โดย รศ.ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 15 : Goal 14 Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
โดย ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์
อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 16 : Goal 15 Life on Land ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก
โดย ผศ.ดร.นพดล กิตนะ
ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 17 : Goal 16 Peace Justice and Strong Institution ส่งเสริมสันติภาพและการเข้าถึงระบบยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน
โดย ศ.สุริชัย หวันแก้ว
ผู้อำนวยการศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 18 : Goal 17 Partnerships for the Goals สร้างความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผศ.ดร.วรประภา นาควัชระ
ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา:
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล: เปิดตัวหลักสูตรรูปแบบใหม่ มุ่งเน้นปฏิบัติงานจริง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดหลักสูตรใหม่ “สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)” ในปีการศึกษา 2566 ที่เปิดรับนิสิตมากถึง 300 คนต่อปี เพื่อผลิตบัณฑิตมาเติมเต็มในตลาดแรงงานที่ยังคงขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร Higher education sandbox ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน และเพิ่มทักษะในการลงมือปฏิบัติงานจริงแก่นิสิตจากการฝึกงานทุกปีตลอดการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขยายกระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เน้นทางด้านการเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ชีวิต ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากเรียนในระบบทั่วไป
“มายคอร์สวิลล์” ดิจิทัลแฟลตฟอร์มใหม่ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทย
จุฬาฯ นำนวัตกรรมเยียวยาสังคมเพื่อให้การเรียนรู้ของคนไทยไม่สะดุดหยุดชะงัก แม้อยู่ในสภาวะคับขันจากมาตรการล็อกดาวน์เมืองยาวนานจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
หลักสูตร “Quick MBA from Home” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบบูรณาการ
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่เพียงสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ยังส่งผลต่อระบบการศึกษา เป็นเหตุให้จำเป็นต้องออกแบบหลักสูตรใหม่ให้ยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ต่อไปอย่างไม่หยุดชะงัก