การปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน – การเรียนการสอนสหวิชาชีพเสมือนจริง (ER-VIPE)
Photo by julien Tromeur on Unsplash
“การระบาดของ COVID-19 ก่อให้เกิดความท้าทายแก่นิสิตสหสาขาวิชาชีพเนื่องจากประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่จำกัดเพราะขาดแคลนเจ้าหน้าที่ มีระยะเวลาในการสอนน้อย และความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสสูง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทีมของเราได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตสหสาขาวิชาชีพสำหรับการปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน (ED) ในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- “Emergency Love” Medical Movies: ภาพยนตร์คุณภาพสูงที่เล่าเรื่องจริงเน้นการประยุกต์ใช้ทักษะ TeamSTEPPS และทักษะรอบด้าน
- หลักสูตรออนไลน์ MOOC ระยะเวลา 2 ชั่วโมง (7 บทเรียน): หลักสูตรออนไลน์นี้สอนทักษะรอบด้านส่วนบุคคลที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานในแผนกฉุกเฉินและนิสิตจะได้รับใบรับรองหลังจากที่ผ่านการทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้
- การฝึกทีมจำลอง 3 มิติ: ให้สภาพแวดล้อมแบบเสมือนจริงเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ
วิธีการนี้เน้นการศึกษาด้วยตนเอง การเรียนรู้จากการสถานการณ์เสมือนจริง และการสรุปผล สามารถนำไปสู่การเพิ่มพูนของความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมระหว่างการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนในคะแนนการประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีมแบบ TeamSTEPPS โดยนวัตกรรมนี้สามารถเตรียมความพร้อมของนิสิตสหสาขาวิชาชีพในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและขยายการใช้งานไปสู่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกในการลดความเสี่ยงของผู้ป่วยสู่ระดับ 0 ในปี 2573”
ในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 กระบวนการสอนการสอนในแผนกฉุกเฉิน พบกับความท้าทายมากมาย เนื่องด้วยนิสิตสหสาขาวิชาชีพต้องเผชิญกับประสบการณ์ภาคปฏิบัติอย่างจำกัดเนื่องจากขาดแคลนทั้งบุคคลากร และเวลาในการเรียนการสอน รวมถึงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 อย่างไรก็ตาม นิสิตเหล่านี้ยังต้องเข้าร่วมปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแผนกฉุกเฉินในพื้นที่ชนบทหลังจบการศึกษา เพื่อรักษาค่านิยมหลักของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทยในการเตรียมนิสิตให้มีทักษะทางเทคนิคและทักษะรอบด้านของบุคคลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานในแผนกฉุกเฉิน เช่น การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร การจัดการความเครียด การวิเคราะห์ทางคลินิกเป็นทีม การตระหนักรู้ การตัดสินใจทางจริยธรรม และการดูแลผู้ป่วยอย่างเมตตาเพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยส่วนบุคคล การบูรณาการความรู้ระหว่างสหสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
เพื่อที่จะตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ ทีมของเราได้พัฒนานวัตกรรมเรียนการสอน ER-VIPE อันประกอบด้วย
- “Emergency Love” Medical Movies: ภาพยนตร์คุณภาพสูงโดยใช้ศาสตร์ความรู้หลายแขนงทั้งวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่มีพื้นฐานจากเหตุการณ์จริง มุ่งเน้นการสอนวิธีการป้องกันข้อผิดพลาดทางการแพทย์และการสาธิตการใช้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มและทักษะที่รอบด้านของบุคคล ในการปฏิบัติงานทางการแพทย์
- หลักสูตรออนไลน์ Massive Open Online Course (MOOC) ระยะเวลา 2 ชั่วโมง ประกอบด้วย 7 บทเรียน ซึ่งเน้นทักษะรอบด้านส่วนบุคคลที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานในแผนกฉุกเฉิน เช่น TeamSTEPPSการสื่อสารสำหรับการศึกษาระหว่างสายวิชา ความสามารถด้าน IPEC ความปลอดภัย การคิดในทางคลินิกเป็นทีม การจัดการกับความเครียด และหลักการทางจริยธรรมสำหรับสหสาขาวิชาชีพ
- การฝึกฝนทีมจำลอง 3 มิติ ประกอบด้วย 3 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ผู้ป่วยเป็นโรคปอดจาก COVID อย่างรุนแรง สถานการณ์ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและสถานการณ์ห้องฉุกเฉินเต็มไปด้วยผู้ป่วยจำนวนมาก โดยมีรูปแบบให้เลือกใช้ทั้งในรูปแบบคอมพิวเตอร์และ VR เพื่อให้นิสิตสหสาขาวิชาชีพสามารถร่วมมือกันปฏิบัติงานผ่านอวตารได้
ในแนวทางการศึกษานี้ นิสิตจะเริ่มต้นจากการศึกษาด้วยตนเองผ่านเนื้อหาออนไลน์ทั้งภาพยนต์และ MOOC นิสิตจำเป็นต้องผ่านการทดสอบชนิดหลายตัวเลือกเพื่อได้รับใบรับรอง จากนั้น นิสิตแพทย์ระดับปริญญาตรี นิสิตจากสหสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ทั้งพยาบาล เภสัช เทคนิคการแพทย์ และนักรังสีวิทยาจะจำลองการปฏิบัติงานในบทบาทผู้นำและสมาชิกของทีมในโลกการจำลองเสมือนจริงเป็นเวลา 30-60 นาที สามารถเกิดเรียนรู้จากข้อผิดพลาดระหว่างปฏิบัติการภายในแพลตฟอร์มออนไลน์ และจะได้รับการควบคุมดูแลจากเจ้าหน้าที่สหสาขาวิชาชีพผ่านการให้คำปรึกษาและการสรุปผลโดยใช้รูปแบบของ GAS นอกจากนี้ แพลตฟอร์มการเรียนรู้นี้สามารถใช้ในการศึกษาด้วยตนเอง และมีการประเมินผลอัตโนมัติซึ่งสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของอวตารตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อสะท้อนข้อดีและข้อเสียของทีมและตัวบุคคล
จากการประเมินด้วยวิธี prospective mixed-method double-blind ของนวัตกรรม ER-VIPE นี้ พบว่าทีมสหสาขาวิชาชีพที่ผ่านหลักสูตรนี้ที่มีความรู้และทัศนคติที่ดีขึ้น ได้รับคะแนน TeamSTEPPS ดีขึ้น และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับทีมที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม การวิจัยเบื้องต้นยังแสดงให้เห็นว่านิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการฝึกฝนจาก ER-VIPE นี้มีพฤติกรรม TeamSTEPPS ที่ดีกว่า
นิสิตที่ผ่านการอบรมนี้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ระบุสิ่งที่ต้องปรับปรุง และสามารถนำแนวคิดใหม่ประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในโลกจริงได้ จากการนำ ER-VIPE มาใช้ในการเรียนการสอนเป็นเวลา 2-3 ปี เป็นประโยชน์กับนิสิตสหสาขาวิชาชีพถึงประมาณ 1,200 คนที่ผ่านหลักสูตรนี้ รวมถึงสามารถใช้ในการอบรมบุคลากรสหสาขาวิชาชีพอีก 180 คน นอกจากนี้ มีนิสิตนิสิตและบุคลากรจากภายในจุฬาฯ และสถาบันอื่นในประเทศไทยสามารถเข้าถึง MOOCs เป็นจำนวน 9,437 คนในระยะเวลา 1 ปี อีกทั้ง ER-VIPE สามารถนำไปประยุกต์ในการอบรมและถ่ายทอดความรู้ให้แก่สถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว โดยนวัตกรรมใหม่นี้มุ่งให้นิสิตสหสาขาวิชาชีพในอนาคตมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกในการบรรลุความปลอดภัยของผู้ป่วยให้มีความอันตรายจากการรักษาเป็น 0 ในปี ค.ศ. 2573
ที่มา
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
อื่นๆ
โครงการจุฬาเวิร์ส: แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริง เพื่อชุมชนวิถีใหม่อย่างยั่งยืน ด้วยกรณีใช้งานด้านการแพทย์ การศึกษาตลอดชีวิต และการพาณิชย์
แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส ประกอบด้วยระบบสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และกรณีใช้งานในด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแพทย์และการพาณิชย์ ซึ่งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ChulaVerse World (CV-World) มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ด้านการใช้ชีวิตและการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อบนมาตรฐานที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และการพัฒนากรณีใช้งานเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในด้านทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การบริการด้านการแพทย์รูปแบบใหม่ และการพาณิชย์ที่เชื่อมโยงกับภาคเอกชน สำหรับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ChulaVerse Learn (CV-Learn)
“ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ให้ก้าวทันอนาคต” โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
กว่าทศวรรษที่ผ่านมา สถาบันอุดมศึกษาตระหนักถึง “การทำงานวิถีใหม่ในอนาคต” ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ฉับไว และพลิกผันไปสู่สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนของสังคมดิจิทัล ล่าสุดในปี 2564 – 2565 ภาคการศึกษา รวมทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการต่อเนื่องใน “โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา ไทย” อย่างเป็นรูปธรรม
หลักสูตร “Quick MBA from Home” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบบูรณาการ
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่เพียงสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ยังส่งผลต่อระบบการศึกษา เป็นเหตุให้จำเป็นต้องออกแบบหลักสูตรใหม่ให้ยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ต่อไปอย่างไม่หยุดชะงัก
จุฬาฯ กับรายวิชา SDGs 101
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ ของสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อสังคม ทั้งในระบบชุมชน ประเทศ และโลก ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จึงได้ดำเนินการจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง SDGs 101 : 17 เป้าหมายเปลี่ยนโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน