กรณีศึกษา

BLOCK 28 : Start-up District โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน

การพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน บริเวณหมอน 28 ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นอาคารพาณิชย์มีสภาพเก่าทรุดโทรมมาก และบางส่วนของโครงการ มีการทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์จึงมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้ทันต่อความต้องการในปัจจุบัน เป็นย่านสำนักงานสำหรับธุรกิจเกิดใหม่ (Creative Startup) ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ให้มีพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสม สะอาดสวยงามและปลอดภัย เป็น Startup District ชื่อโครงการ BLOCK 28

BLOCK 28 “CREATIVE & STARTUP VILLAGE” ย่านสตาร์ทอัพแห่งใหม่ใจกลางเมืองที่มีคอนเซปต์เป็น SANDBOX เชื่อมต่อทุกไลฟ์สไตล์ของคนสร้างสรรค์และเป็น community ที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและการเชื่อมโยงทางธุรกิจเกิดเป็น Eco-System ของธุรกิจสตาร์ทอัพ และเป็นแหล่งที่รวบรวมเหล่าสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในหลากหลายแขนง สร้างประโยชน์ให้กับหลายวงการที่กำลังจะเป็นตัวขับเคลื่อนความเจริญทางธุรกิจของประเทศ ทั้งทางการแพทย์ การเงิน การศึกษา รวมถึง TusPark  WHA ศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสตาร์ทอัพ อีกทั้งยังมีพื้นที่ CO-WORKING SPACE ให้บริการ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์สำหรับ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการที่ทำงานแบบ flexible Working House สำหรับนิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือกลุ่มคนทำงานทั่วไปในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ยังรองรับการเติบโตของกลุ่ม Creative Startup ด้านต่างๆ ที่เริ่มพัฒนาธุรกิจจากกลุ่มธุรกิจของนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย เติบโตขยับขยายมายัง community ที่ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย เกิดการแลกเปลี่ยนและพูดคุยต่อยอดพัฒนาธุรกิจรวมทั้งร้านอาหาร ร้านค้า และบริการต่างๆ ที่จะดึงดูดผู้คนมาใช้บริการ ภายในย่านมากขึ้นกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนโดยรอบอีกด้วย

ที่มา:

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

จุฬาฯ ผลักดัน Future Literacy

Future literacy เป็นสาขาสหวิทยาการที่รวมแนวคิดจากอนาคต การมองการณ์ไกล การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนสถานการณ์ และการคิดเชิงออกแบบ องค์กรต้องมีผู้ความสามารถนี้เพื่อคาดการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างอนาคตในลักษณะเชิงรุก Future literacy เป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21

การจัดซื้อของจุฬาฯ กับเรื่องของความอย่างยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีการใช้วัสดุสำนักงานและวัสดุสิ้นเปลืองจำนวนมาก การจัดหาวัสดุดังกล่าว ดำเนินการภายใต้นโยบายการให้ความสำคัญต่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายสำคัญด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีการรณรงค์และสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญมาโดยตลอด ทั้งในประชาคมชาวจุฬาฯ ชุมชนโดยรอบ พื้นที่ต่อเนื่องและสาธารณะ

งานบริการที่พักนิสิต อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้ คู่การสร้างพลเมืองที่ดี

หนึ่งในงานบริการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักสำหรับนิสิต เพื่อเป็นที่พักอาศัยอำนวยความสะดวกสบายเพื่อไม่ต้องเดินทางไกลสำหรับนิสิตผู้ที่มีความจำเป็นเพื่อเป็นที่พักอาศัย ตามวิสัยทัศน์ “เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และผาสุก”

ประเทศไทยประกาศความสำเร็จซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตจากขยะเปียกชุมชนครั้งแรกของโลก

กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ UN Thailand พร้อมด้วยพันธมิตรภาคีเครือข่ายภาคเอกชนโดย KBANK ซึ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยและประชาคมมุ่งสู่ “สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์”  ประกาศความสำเร็จการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 จังหวัดนำร่องเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายหลังสามารถจูงใจให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการแยกขยะและจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนที่สามารถแปลงกลับมาเป็นเงินทุนให้กับหมู่บ้านและชุมชน