ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ Urban Design and Development Center (UddC) เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเมือง ภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) ได้จัดทำข้อเสนอในการวางผังยุทธศาสตร์ภาพใหญ่ของจังหวัดให้รองรับต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเมืองรองภิวัฒน์ เพื่อฟื้นฟูขีดความสามารถของระยองในการเเข่งขันระดับนานาชาติและการพัฒนาพื้นที่เมืองเก่าระยอง ด้วยแนวคิดในการฟื้นฟูเมืองผ่านกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม สร้างความสมดุลระหว่างการวางแผนแบบ ปรึกษาหารือกับการวางแผนยุทธศาสตร์ระหว่างกลุ่มภาคีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ โดยใช้เครื่องมือกระบวนการสร้างภาพอนาคตเพื่อให้ได้แนวทางในการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าระยองที่พร้อมสู่กระบวนการพัฒนาแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน
จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2550 พบว่า พื้นที่ที่ครอบครองโดยเอกชนประมาณ 180,000 ไร่ (18% ของพื้นที่กรุงเทพฯ) เป็นพื้นที่ว่าง ขาดการใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จากทางภาครัฐที่ยังไม่ได้นำมาใช้ เช่น มักกะสัน 500 ไร่ โรงงานยาสูบ 600 ไร่ คลองเตย 2,500 ไร่ รวมไปถึงพื้นที่ใต้ทางด่วนยกระดับกว่า 600 ไร่ ที่สามารถนำมาปรับปรุงฟื้นฟูให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางได้ เมื่อคำนวณพื้นที่ใต้ทางด่วนของกรุงเทพฯ พบว่า พื้นที่ใต้ทางด่วนในเมืองทั้งหมดมีประมาณ 1,577 ไร่ และมีพื้นที่ว่างที่ไม่ถูกพัฒนาถึง 42.26% หรือประมาณ 666 ไร่ UddC จึงเล็งเห็นถึงการพลิกวิกฤติให้เกิดโอกาส โดยการใช้การออกแบบในการพลิกฟื้นพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างดังกล่าว ให้เกิดความสอดคล้องกับบริบทเมือง เพื่อส่งเสริมศักยภาพของการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างการใช้ประโยชน์พื้นที่เมืองเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีคุณภาพ ภายใต้กรอบแนวคิดใหญ่ 3 ประการ คือ
1) การเชื่อมโยงพื้นที่ใต้ทางด่วนให้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเมืองและยังเป็นการส่งเสริมการสร้างทางเลือกในการเดินทางเข้าสู่ย่านกลางเมืองโดยใช้จักรยานและการเดินเท้า
2) เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง เพื่อช่วยปรับสภาพอากาศลดอุณหภูมิของพื้นที่ ลดมลภาวะจากการจราจรและการสร้างความเชื่อมต่อกับพื้นที่สีเขียวเดิมของเมืองให้เกิดเป็นโครงข่ายสีเขียว
3) การสร้างพื้นที่เพื่อรองรับกลุ่มกิจกรรมที่หลากหลายแตกต่างกันตามทำเลที่ตั้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน และกิจกรรมทางสังคมให้กับพื้นที่ และส่งเสริมเศรษฐกิจให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
UddC ได้มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นได้ตามศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ มีหลากหลายบุคลิก เช่น ย่านเก่าที่มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อย่างคลองสาน ตลาดน้อย เยาวราช, ย่านราชการ อย่างพื้นที่เขตดุสิต, ย่านพาณิชยกรรม สีลม สาทร ซึ่งเป็นย่านเก่าที่สำคัญ และย่านที่อยู่อาศัย การวางแผนฟื้นฟูเมืองจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในแต่ละย่านให้ดีขึ้น
“เมืองเดินได้ เมืองเดินดี” (GoodWalk) : พัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมสุขภาวะ เพื่อเป็น “ทุนสุขภาพ” ให้คนทุกวัย
กรุงเทพมหานครยังมีศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียว และนำมาออกแบบเพื่อยกระดับสุขภาวะให้คนเมืองได้ เช่น โครงสร้างทิ้งร้างและพื้นที่ใต้ทางด่วน เฉพาะใจกลางพื้นที่ กทม. พบว่า มีพื้นที่ดังกล่าวมากกว่า 600 ไร่ หรือเท่ากับ 2 เท่าของขนาดสวนลุมพินี หากโครงสร้างทิ้งร้างและพื้นที่ใต้ทางด่วนได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียว จะส่งผลให้การเข้าถึงสาธารณูปการสำหรับสุขภาพมีเพิ่มมากขึ้น
ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานครในการพัฒนาโครงการ “เมืองเดินได้ เมืองเดินดี” (GoodWalk) โดยใช้แนวคิด “เมืองออกแบบได้” เน้น “การออกแบบเมืองที่เป็นมิตรกับคนสูงวัย” ซึ่งเป็นมาตรฐานการออกแบบอาคารและพื้นที่สาธารณะทั่วโลก หากสิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ การออกแบบเมืองสำหรับคนที่ยังไม่แก่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนเหล่านี้แก่อย่างมีคุณภาพ (Active Ageing) เมืองต้องสร้าง “วัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ดี” ที่ส่งเสริมให้คนสะสม “ทุนสุขภาพ” ไว้ใช้ตอนแก่
“ฟื้นโครงสร้างไร้ชีวิต สู่การใช้ประโยชน์ใหม่ที่ตอบโจทย์คน 2 ฝั่ง”
พื้นที่กรุงเทพมหานคร แม้ว่าจะเป็นพื้นที่แออัด แต่แท้จริงแล้ว กทม. มีพื้นที่ศักยภาพมากมาย ที่สามารถนำมาออกแบบเพื่อยกระดับสุขภาวะคนในเมืองได้ หนึ่งในพื้นที่ดังกล่าวคือ พื้นที่กรรมสิทธิ์ของรัฐที่มีการใช้งานต่ำ (under-utilized) เช่น โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (โครงการสะพานด้วน) จากการฟื้นฟูรางรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สร้างไม่เสร็จและไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นทางเดิน-ทางจักรยานสีเขียวข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย ดึงดูดให้คนออกมาเดินเล่น และชมทัศนียภาพบนสะพาน นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นต้นแบบความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่นและส่วนกลางในการฟื้นฟูเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนเมือง เปิดพื้นสาธารณะส่งเสริมสุขภาวะให้กับประชาชนได้อย่างยั่งยืน
สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ทางสัญจรข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยการเดินเท้า และ สวนลอยฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย โดยความร่วมมือของ UddC ร่วมกับ สำนักการวางแผนและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร กรมทางหลวงชนบท และ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2563 มีการปรับปรุงมาจากโครงสร้างเดิมของรางรถไฟฟ้าลาวาลิน หรือ สะพานด้วน โครงสร้างเก่าที่สร้างไม่เสร็จและไม่ได้มีการใช้ประโยชน์มากว่า 30 ปี โครงสร้างแห่งนี้ได้รับการเสนอจากภาคีพัฒนาที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในโครงการกรุงเทพฯ 250 ระยะที่ 1 ให้เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องของผังแม่บทอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน โดยความร่วมมือแบบพหุภาคีของ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร กรมทางหลวงชนบท กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม โดยมี UddC เป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือ เพื่อปรับปรุงให้กลายเป็นทางเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบการสัญจรระหว่างฝั่งธนบุรีเข้ากับฝั่งรัตนโกสินทร์เข้าด้วยกัน
โครงสร้างแห่งนี้ได้รับการเสนอจากภาคีพัฒนาที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในโครงการกรุงเทพฯ 250 ระยะที่ 1 ให้เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องของผังแม่บทอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน โดยความร่วมมือแบบพหุภาคีของ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม โดยมี UddC เป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือ เพื่อปรับปรุงให้กลายเป็นทางเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบการสัญจรระหว่างฝั่งธนบุรีเข้ากับฝั่งรัตนโกสินทร์เข้าด้วยกัน
UddC ได้พัฒนาแนวคิดในการออกแบบ โดยจัดทำกระบวนการการมีส่วนร่วมหลากหลายระดับกับทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ รวมถึงใช้กลไกในการขับเคลื่อนทั้งบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ (บ.ว.ร.) ผ่านกระบวนการร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งการออกแบบที่ผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่าย รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและสาธารณะอย่างกว้างขวาง ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้
1) การสร้างทางเลือกในการสัญจรข้ามแม่น้ำ ด้วยการเดินและจักรยานที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างเสริมสุขภาวะของเมือง
2) การสร้างประโยชน์ให้ทุกภาคส่วน ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ชาวย่าน นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษาของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่โดยรอบบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำที่มีมากถึง 25 แห่ง
3) การส่งเสริมโครงข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับย่านเก่าทั้งฝั่งรัตนโกสินทร์และฝั่งธนบุรีโดยเฉพาะการเชื่อมต่อทางสัญจรสู่พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณคลองรอบกรุง นอกจากนี้ UddC ยังได้ประสานความร่วมมือกับพันธมิตรในการออกแบบ อันประกอบด้วย บริษัท Land Process บริษัท N7A และ ศูนย์ Lighting Research and Innovation Centre (LRIC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการร่วมพลิกโฉมสะพานอัตลักษณ์ใหม่ ให้มีความเป็นมิตรต่อผู้สัญจรไปจนถึงสิ่งแวดล้อมด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนสะพานและพื้นที่รอยต่อทางขึ้นลงกับย่านโดยรอบ ให้มีความร่มรื่นและสะดวกสบาย รองรับการใช้งานเพื่อพักผ่อนหย่อนใจในชีวิตประจำวัน และในขณะเดียวกันก็ได้มีการออกแบบแสงสว่างเพื่อขยายเวลาในการใช้งานในช่วงค่ำคืนเพื่อความปลอดภัย และเพื่อส่งเสริมความสวยงามสะพานนี้สู่การเป็นจุดหมายตาแห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่มา:
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
อื่นๆ
วิชาทันตกรรมชุมชนภาคปฏิบัติ : หลักสูตรใส่ใจสุขภาพปากและฟันเพื่อเด็กไทยวันนี้
แม้ประเทศไทยจะมีอัตราการเกิดของเด็กลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า 600,000 คนต่อปี มาตั้งแต่ปี 2562 แต่ทุกวันนี้ยังคงมีประชากรวัยเด็กมากกว่า 7 ล้านคนที่ภาครัฐยังคงต้องดูแลสุขภาวะด้านต่าง ๆ จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าปัจจุบัน เด็กไทยเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และยังพบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน
จุฬาฯ สร้างระบบส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กลุ่มเปราะบางชายขอบด้วยระบบ Digital Health Platform
องค์การสหประชาชาติประกาศให้โรคทางช่องปากเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลก สถานการณ์โรคฟันผุที่ยังไม่ได้รักษา ในชุดฟันแท้เป็นโรคที่มีพบมากที่สุดในโลก ร้อยละ 35 ของประชากรโลก ในขณะที่โรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงที่จะนำไปสู่การสูญเสียฟันนั้นยังมีอีกร้อยละ 11 ของประชากรโลก และอัตราการเกิดมะเร็งช่องปากยังเพิ่มขึ้นอย่างคงที่
ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเลได้ถึงร้อยละ 60
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (2563) มีชาวประมงที่จับปูม้าที่ท้องนอกกระดองมาให้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 457 ตัว เพื่อเพาะเป็นลูกปูม้า ปรากฎว่าศูนย์สามารถดูแลปูไข่จนลูกปูม้าถึง 565,219,724 ตัว
เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาเพื่อการปลูกและฟื้นฟูป่าอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
จากการสำรวจในปี 2564 พบว่ามีพื้นป่าเพียง 31.59% ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย สาเหตุหลักของการลดลงของผืนป่าเกิดจาก ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้พื้นป่าที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพวิกฤต สภาพอากาศที่แห้งแล้งหรือการลักลอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมาย ทำให้เกิดไฟป่า ที่นอกจากจะทำให้ผืนป่าลดลงแล้ว การเกิดไฟป่ายังทำลายสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น