กรณีศึกษา

ดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตครบวงจรในวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรม Pre-vent Protect Cure

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นวิกฤติที่ไม่เพียงส่งผลกระทบรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่ยังหมายรวมถึงระบบการศึกษาไทยที่สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องดูแลสวัสดิภาพของนิสิตให้อยู่รอดปลอดภัยในวิกฤติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ใช้แนวคิด “CU shelter-in-place” เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นดั่งบ้านที่ปลอดภัย (Save zone) ของนิสิตกว่า 37,000 คน ฝ่าวิกฤตนี้ด้วยนวัตกรรมจุฬาฯ ทั้ง ป้องกัน (Prevent) ปกป้อง (Protect) และรักษา (Cure) และออกมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตจุฬาฯ อย่างครบวงจร ได้แก่

1) ดูแลสุขภาพและสุขภาวะเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Health and Well-being Management) โดยนำนวัตกรรมบริการ “Chula Covid-19 Strip Test Service” มาใช้ตรวจคัดกรองนิสิตกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ ผลงานที่พัฒนาจากสตาร์ทอัพจุฬาฯ กลับมาดูแลนิสิต ช่วยลดความตื่นตระหนกและความเสี่ยงจากการเดินทางไปที่โรงพยาบาล และยังได้โครงการ “CU V Care” จัดเตรียมอาคารสถานที่พักพิงกว่า 100 ห้องภายในมหาวิทยาลัยสำหรับกักแยกตัวผู้ที่มีความเสี่ยง, ผู้ที่พักฟื้นจากการติดเชื้อโควิด-19  และผู้ที่เข้าข่ายการสืบค้นโรค (Patient under Investigation หรือ PUI) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ควบคู่การจัดบริการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) และศูนย์สุขภาวะทางจิต (Center for Psychological Wellness) เยียวยาสภาพจิตใจที่อาจเกิดจากความเครียดโดยไม่มีค่าใช้จ่ายด้วยเช่นกัน

2) สนับสนุนให้นิสิตสามารถเรียนและทำงานจากที่บ้านได้อย่างต่อเนื่องบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (Work From Home (WFH), Live & Mobility) โดยแจก SIM Card ของมหาวิทยาลัย และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กแบบแบ่งปันกันเรียน (Sharing Economy) นับร้อยเครื่องจากสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เพื่อช่วยเหลือนิสิตที่ขาดแคลนอุปกรณ์ใช้เรียนออนไลน์ด้วยอีกทางหนึ่ง

3) สื่อสารในสถานการณ์โควิด-19 (CU COVID-19 Communication) อย่างตรงไปตรงมาและใกล้ชิดกับนิสิตผ่านช่องทางออนไลน์ “จุฬาฯ รู้ สู้ COVID-19” และ Mobile Application “CUNex” ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร แจ้งเตือนสถานการณ์และข้อควรปฏิบัติตนให้นิสิตรับทราบในภาวะวิกฤตนี้ได้ทันท่วงที และติดต่อแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยได้อย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังใส่ใจสวัสดิภาพด้านการเงิน จึงได้ประกาศนโยบาย “10+” และ “10++” ลดค่าเล่าเรียนลงอีกร้อยละ 10 ทุกสาขาวิชา และให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายและทุนทุกประเภทอีกกว่า 5,000 ทุน รวมงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท เพื่อเยียวยานิสิตและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 คืนเงินค่าหอพักให้นิสิตที่มีความประสงค์กลับภูมิลำเนาเดิมร้อยละ 50 และจัดหาประกันภัยโควิด-19 ให้กับนิสิตทุกคนอีกกว่า 37,000 กรมธรรม์

ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของการดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตครบวงจรด้วยนวัตกรรม Prevent Protect Cure ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสรรให้กับนิสิตในวิกฤตโควิด-19 ตามแนวคิด CU Shelter-in-place

ที่มา:    สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประโยชน์: การปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions”

ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย

การดำเนินการเรื่องการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปัจจุบันการการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ได้ดำเนินมาตรการที่ครอบคลุมเพื่อให้บริการด้านสุขภาพกายและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัย

โครงการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและแผนที่จะปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในเรื่องการจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกหลายโครงการด้วย

ศูนย์บริการสุขภาพจุฬาฯ ปลุกวัยรุ่นใส่ใจเซ็กส์วัยเรียน ชวนปรึกษา คลินิกสูตินรีเวช แก้ปัญหาเพศสัมพันธ์

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิด Safety Love – Safety Sex Clinic ให้คำปรึกษาด้านสูตินรีเวชและเพศสัมพันธ์แก่นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ หวังแก้ปัญหาสุขภาวะทางเพศ (Sexual Well-being)