กรณีศึกษา

บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนสังคมด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมผ่านวิสัยทัศน์ “Innovations for Society” ขานรับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ได้ประกาศแผนส่งเสริมการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรม และจัดทำระเบียบมาตรการส่งเสริมร่วมลงทุนในโครงการเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (ววน.) มาตรา 31 โดยกลไกบริษัทที่มีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก (Holding Company) เพื่อต่อยอดงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้นำมาพัฒนานวัตกรรมที่สำคัญของประเทศได้ต่อไป

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ก่อตั้ง “บริษัท ซียู เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด” (CU ENTERPRISE CO., LTD.) ขึ้น  เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกร นวัตกรรม ผู้ประกอบการ และธุรกิจ ในประชาคมจุฬาฯ มุ่งสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้มีความสมบูรณ์ พร้อมทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกันกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และผลักดันให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้มีศักยภาพและเป็นต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยไทยสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้ต่อไป นอกจากนี้  มหาวิทยาลัย ยังสนับสนุนให้แต่ละคณะจัดตั้ง Holding Company ขึ้น อาทิ บริษัท ซี.ยู.เดนท์ เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (C.U.DENT) ของคณะทันตแพทยศาสตร์, บริษัท ซียู เว็ท เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (CU VET) ของคณะสัตวแพทยศาสตร์, บริษัท ซียู ฟาร์ม จำกัด (CU Pharm) ของคณะเภสัชศาสตร์  เป็นต้น เพื่อลงทุนพัฒนางานวิจัย ต่อยอดสร้างมูลค่าและรายได้ใหม่ ขยายขีดความสามารถให้กับกิจการ Startups ในสังกัดของคณะเข้มแข็งยิ่งขึ้น

baiyaphytopharm.com

ในขณะเดียวกัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้จัดตั้ง “มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์” (CU ENTERPRISE FOUNDATION) เพื่อดำเนินกิจกรรมระดมทุนสนับสนุนงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพที่ได้รับการบ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) กว่า 194 ทีม เสริมให้การดำเนินงานของบริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด คล่องตัวขึ้น โดยมีตัวอย่างการสนับสนุน บริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ อย่าง “บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด” เจ้าของเทคโนโลยีการผลิตโปรตีนจากใบพืช เพื่อนำมาใช้พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้สามารถผลิตได้เองภายในประเทศทุกขั้นตอน ผ่านการจัดทำโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ระดมเงินบริจาคตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 500 ล้านบาท จากคนไทย 1 ล้านคน เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน

จากการดำเนินงานที่ไม่เพียงสอดรับกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่ยังสามารถดึงงานวิจัยจากหิ้งออกสู่ห้างได้จริง และยังเป็นประโยชน์ต่อสังคม นำไปสู่การเป็นต้นแบบของการปฏิบัติที่แท้จริง จึงเชื่อได้ว่า “ความเป็นผู้นำ” ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นจะเป็นรากฐานแห่งการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สากลได้ต่อไป

ที่มา : บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

สุขภาพดีถ้วนหน้า จุฬาฯ จัดให้

จุฬาฯ จัดพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อให้กับนิสิต บุคลากรและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพื้นที่ออกกำลังกายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามนโยบายของจุฬาฯ ที่มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพประชาชน แก้ปัญหากิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ

การดำเนินการเรื่องการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปัจจุบันการการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ได้ดำเนินมาตรการที่ครอบคลุมเพื่อให้บริการด้านสุขภาพกายและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัย

การจัดภูมิทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ทนแล้ง แข็งแรง และช่วยประหยัดน้ำ

ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมความยั่งยืนในเรื่องของการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่จะนำมาปลูกเพิ่มเติมจากต้นไม้ที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมภายในพื้นที่หรือในการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ โดยเลือกปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น สลับกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ด้วย เนื่องจากพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ค่อนข้างแล้ง ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด

เปิดเคล็ดลับความสำเร็จ จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ ชวนดูคาระวาน Smart Mobility

จุฬาฯ ขับเคลื่อนโครงการ “จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้” (Chula Smart City) ผ่าน “SMART 4” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 4 มิติ ได้แก่ Smart Living, Smart Energy, Smart Environment และ Smart Mobility รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม ชูจุดเด่นยานยนต์หลากรูปแบบตอบโจทย์ SMART MOBILITY