Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 12 ภาควิชา รวมถึง ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสำรวจ และวิศวกรรมแหล่งน้ำ พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงความรู้ ถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทางการชลประทานที่พร้อมถ่ายทอดสู่นิสิต นำไปสู่การฝึกปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำให้กับชุมชนห่างไกล ผ่านค่ายวิศวพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบทที่พร้อมปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นิสิตจิตอาสาที่เข้าร่วมค่าย
จากการดำเนินงานตามนโยบายด้านการจัดการขยะและขยะอันตราย และ มาตรการลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหารโดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ได้รับความไว้วางใจและร่วมมือกับสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (APRU) ในการสำรวจระดับนานาชาติ “ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโควิด-19 (COVID-19)” โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและประเมินผลกระทบของโรคโควิด-19 ซึ่งมุ่งหวังที่จะช่วยในการพัฒนาแนวทางในการจัดการกับการระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการต่อโรคระบาดที่คล้าย ๆ กัน ในอนาคต
ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาโลกเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งไวรัสซิกา ไวรัสอีโบลา ไวรัสเมอร์ส และล่าสุดที่มวลมนุษยชาติกำลัง ประสบอยู่นั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ระบาดใหญ่จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 219 ล้านคน และคร่าชีวิตคนหลากชาติพันธุ์ไปแล้วกว่า 4.55 ล้านคน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ
ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน
จังหวัดน่านประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในจังหวัด ส่งผลให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากที่อื่น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสุกร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางด้านอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงริเริ่มโครงการเพื่อเพิ่มผลผลิตเนื้อสุกร เพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในท้องถิ่น
จากการสำรวจในปี 2564 พบว่ามีพื้นป่าเพียง 31.59% ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย สาเหตุหลักของการลดลงของผืนป่าเกิดจาก ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้พื้นป่าที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพวิกฤต สภาพอากาศที่แห้งแล้งหรือการลักลอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมาย ทำให้เกิดไฟป่า ที่นอกจากจะทำให้ผืนป่าลดลงแล้ว การเกิดไฟป่ายังทำลายสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น
COVID-19 เป็นโรคระบบทางเดินหายใจสามารถทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากหรือเป็นโรคอื่นๆ อยู่ เช่น เบาหวาน มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง
การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เน้นทางด้านการเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ชีวิต ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากเรียนในระบบทั่วไป
ผสมผสานศาสตร์และศิลป์ของเทคโนโลยีการผลิตพืชและปศุสัตว์ การแปรรูปอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร ธุรกิจการเกษตร และระบบการจัดส่งสินค้า สอนนักเรียนให้รวมความรู้ดั้งเดิมเข้ากับการวิจัยใหม่เพื่อพัฒนาแนวคิดและเทคโนโลยีการเกษตรเชิงนวัตกรรมที่รับมือกับความท้าทายในการพัฒนาท้องถิ่น
Necessary cookies are essential for the functioning of the website, allowing you to use and browse the site normally. You cannot disable these cookies in our website's system.
คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยจดจำการตั้งค่าที่ผู้ใช้เคยกำหนดไว้ เช่น ชื่อผู้ใช้, ภาษา, ภูมิภาค หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ตามความต้องการ