กรณีศึกษา

สผ. ร่วมกับ GIZ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หารือผู้เชี่ยวชาญในประเด็นความเสี่ยงของพืชเศรษฐกิจหลัก และข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 นางสาวนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำประเด็นความเสี่ยงของพืชเศรษฐกิจหลัก และข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรของประเทศไทย ของโครงการ Scoping for Thailand climate change adaptation assessment in key sectors ภายใต้แผนงาน Climate, Coastal, and Marine Biodiversity (CCMB) ซึ่งจัดโดย สผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงจากปัจจัยคุกคามทางสภาพอากาศต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักในแต่ละพื้นที่ย่อย ในระหว่างวันที่ 3 – 4 เมษายน 2566 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา และภาครัฐ เข้าร่วมการประชุมประมาณ 60 คน ซึ่งข้อคิดเห็นที่ได้จากการประชุมจะนำไปสู่การกำหนดประเด็นสำหรับการศึกษาประเมินการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดทำเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสาขาเกษตรของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับปรุงแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) ในระยะต่อไป

ที่มา:     กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อื่นๆ

CU-PIG FARMING: โรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกร เปิดทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในจังหวัดน่าน

จังหวัดน่านประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในจังหวัด ส่งผลให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากที่อื่น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสุกร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางด้านอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงริเริ่มโครงการเพื่อเพิ่มผลผลิตเนื้อสุกร เพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในท้องถิ่น

ภารกิจฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม “บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์” เพิ่มประสิทธิภาพ การฟื้นฟูป่าไม้วงศ์ยางในประเทศไทย

การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นิสิตจัดตั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เพื่อเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงการวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบท (ค่ายวิศวพัฒน์)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงความรู้ ถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทางการชลประทานที่พร้อมถ่ายทอดสู่นิสิตนำไปสู่การฝึกปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำให้กับชุมชนห่างไกล ผ่านค่ายวิศวพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบทที่พร้อมปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นิสิตจิตอาสาที่เข้าร่วมค่าย ด้วยปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ของบ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน