กรณีศึกษา

ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อรักษาและเสริมสร้างระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์

เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลกกำลังตกอยู่ภายใต้อันตราย ความหลากหลายทางนิเวศวิทยาจึงเป็นเรื่องสำคัญในการเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ของคนรุ่นหลัง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถ และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อตอบสนองพระราชดำริและพัฒนาความยั่งยืนของความหลากหลายทางระบบนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ของไทย 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงชี้ให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2503 และในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงรับสนองพระราชประสงค์โดยทรงริเริ่มโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืช ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำคัญนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยมีหน้าที่ศึกษาและขยายงานสู่สาธารณชน 

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมบุคลากรด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืชและความหลากหลายทางระบบนิเวศ พร้อมสร้างงานวิจัยด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของประชาชน ภารกิจของจุฬาฯ มีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ภายใต้การคุกคามจากการเติบโตของจำนวนประชากร ซึ่งส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นทั้งในด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และยารักษาโรค ในขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอื่น ๆ ก็ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน 

ภารกิจหลักของโครงการ คือ การศึกษาพันธุ์พืชและความหลากหลายทางพันธุกรรมในสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรัง ป่าดิบที่ราบต่ำ และป่าชายเลน จากการศึกษาพบว่ามีพันธุ์พืชที่พบเฉพาะในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 20,000 ชนิด ประกอบด้วยเห็ด 1,200 ชนิด  ไลเคน 300 ชนิด เฟิร์น 633 ชนิด กล้วยไม้มากกว่า 1,000 ชนิด และพืชมีท่อลำเลียงกว่า 10,000 ชนิด และยังได้ขยายการศึกษาวิจัยไปสู่ความหลากหลายของสัตว์ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกันในแต่ละภูมิประเทศ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกและสัตว์เลื้อยคลาน ปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงและหอย สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ โปรโตซัว และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในห้าศูนย์แม่ข่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ของประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้คำปรึกษา ประสานงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริตามภารกิจของหน่วยงาน อาทิเช่น สนับสนุนชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สนองพระราชดำริดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น และสนับสนุนโรงเรียน และสถาบันการศึกษาให้สนองพระราชดำริดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน) [ http://www.rspg.or.th/ ]

มหาวิทยาลัยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับชุมชนในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี และนครนายก เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น คือ 1) ทรัพยากรกายภาพ, 2) ทรัพยากรชีวภาพ (พืช สัตว์ จุลินทรีย์ เห็ดรา) 3) ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา อย่างเป็นระบบ ครอบคลุม 6 งาน ได้แก่

  • งานที่ 1 ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น
  • งานที่ 2 สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น
  • งานที่ 3 ปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น
  • งานที่ 4 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น
  • งานที่ 5 ศูนย์ข้อมูลและทรัพยากรท้องถิ่น
  • งานที่ 6 สนับสนุนการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น

ผลงานที่สำคัญในปี พ.ศ.2566 คือ การร่วมกับโครงการ อพ.สธ. และ ภาคเอกชน จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นทั้ง 6 งาน ให้กับบุคลากรจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาจำนวน 2 ครั้ง ณ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี โดยมีผู้เข้าอบรม 96 คน จาก 54 หน่วยงาน

ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้ร่วมกับจังหวัดสระบุรีจัดกิจกรรม “สระบุรีสนองพระราชดำริเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่ออบรมให้ความรู้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ โดยจัดการอบรม 16 ครั้ง ให้กับผู้รับการอบรมมากกว่า 1,480 คน จาก 109 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ 13 อำเภอของจังหวัดสระบุรี โดยยังคงให้บริการให้คำปรึกษาแนะนำกับหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมที่ ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้หน่วยงานและสถานศึกษาเหล่านี้ ได้ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้กับท้องถิ่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับชุมชนช่วยกันรักษาและเพิ่มพูนระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ โดยเฉพาะระบบนิเวศในภาวะเสี่ยงอันเนื่องมาจากการพัฒนาเมืองในเขตภาคกลางของประเทศไทย

สามารถดูรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่

ที่มา :

  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

ประเทศไทยประกาศความสำเร็จซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตจากขยะเปียกชุมชนครั้งแรกของโลก

กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ UN Thailand พร้อมด้วยพันธมิตรภาคีเครือข่ายภาคเอกชนโดย KBANK ซึ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยและประชาคมมุ่งสู่ “สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์”  ประกาศความสำเร็จการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 จังหวัดนำร่องเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายหลังสามารถจูงใจให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการแยกขยะและจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนที่สามารถแปลงกลับมาเป็นเงินทุนให้กับหมู่บ้านและชุมชน

BLOCK 28 : Start-up District โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน

“CREATIVE & STARTUP VILLAGE” ย่านสตาร์ทอัพแห่งใหม่ใจกลางเมือง ชื่อมต่อทุกไลฟ์สไตล์ของคนสร้างสรรค์และเป็น community ที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและการเชื่อมโยงทางธุรกิจเกิดเป็น Eco-System ของธุรกิจสตาร์ทอัพ

จุฬาฯ กับการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งใหญ่ ใน Chula Sustainability Fest 2022

ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน

จุฬาฯ กับหลากหลายรูปแบบการเดินทางที่ยังยืน (Chula Smart Mobility)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน