กรณีศึกษา

กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะตลอดปีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 2565-2566

ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความทุพพลภาพ หรือเพศ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online ให้กับทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างกิจกรรมเด่นในปี 2565-2566

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการเพาะเลี้ยงกบนา เสริมรายได้ – สร้างอาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

3 ก.พ. 2565

เป็นโครงการที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงกบนา และให้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง เพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบนาให้สามารถนำไปสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ครอบครัว

http://www.clnr.chula.ac.th/index.php/activities-2565/624-nan-activity-025-2565

เสวนาสาธารณะออนไลน์ “มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SD Public Forum) ครั้งที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความมั่นคงของมนุษย์

4 มี.ค. 2565

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาสาธารณะออนไลน์ “มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SD Public Forum) ครั้งที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความมั่นคงของมนุษย์”

https://www.chula.ac.th/news/66358/

โครงการโรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกรภายใต้ศูนย์สาธิตการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสาน ประจำปี 2565

20 ก.ค. 2565

เป็นโครงการที่ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาคมน่าน ในลักษณะหลักสูตรต่อเนื่อง ประกอบด้วยการเรียนในเนื้อหาวิชาที่จำเป็นสำหรับจัดการฟาร์มสุกรที่ถูกต้อง การลดต้นทุนในการเลี้ยงสุกรโดยการผลิตอาหารสุกรด้วยวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและลงมือฝึกปฏิบัติจริง

http://www.clnr.chula.ac.th/index.php/activities-2565/665-nan-activity-054-2565

โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2565

17 ส.ค. 2565

ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2565 ณ โรงเรียนบ่อสวกวิทยาคาร ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

http://www.clnr.chula.ac.th/index.php/activities-2565/689-nan-activity-074-2565

CHULA THE MASTER Season 2: Management for new entrepreneur

29 พ.ค. 2566

ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน และผู้ที่สนใจ ร่วมเรียนรู้ไปกับ e-learning รูปแบบใหม่ หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่สนุกสนาน เข้าใจง่าย และได้สาระ เพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารหน้าใหม่ ที่จะทำให้ก้าวสู่การเป็นผู้บริหารแถวหน้า

https://www.chula.ac.th/news/117918/

โครงการอบรมเชิงบรรยายและปฏิบัติการ การใช้ราไมคอร์ไรซาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าไม้พื้นถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รุ่นที่ 1

1 มิ.ย. 2566

ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จัดโครงการอบรมเชิงบรรยายและปฏิบัติการ การใช้ราไมคอร์ไรซาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่า ให้กับประชาชนที่สนใจทั่วไป ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ขะนิง ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

https://clnr.chula.ac.th/index.php/activities-2566/777-66074-n53

กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น (CUVIP)

10-27 ก.ค. 2566

ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น เดือนกรกฎาคม 2566 ใน Theme “ CUVIP Happy Well–being”  และ “เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก 2 ” เพื่อจุดประกายการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เสริมสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองสู่เป้าหมาย CUVIP Inspiration มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จัก ค้นพบ และพัฒนาตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงานอย่างมืออาชีพ เสริมสร้างอุปนิสัยสร้างคุณค่าเพื่อสังคม

https://www.chula.ac.th/news/123336/

“UNLOCKING” the power of Demographic Disruptions

12 ก.ค. 2566

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับแนวทาง “พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส” ในภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงทางประชากรอย่างรุนแรง (Demographic Disruptions) ที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคต

https://www.chula.ac.th/news/123345/

สัมมนา “โรคมะเร็งในวัยรุ่น (Teenagers with cancer) ครั้งที่ 2”

21 ก.ย. 2566

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมฟังการสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งในวัยรุ่น โรคมะเร็งชนิดไหนที่พบในวัยรุ่น วิธีการรักษา วิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นเมื่อต้องเผชิญกับโรคมะเร็ง และพบกับแขกรับเชิญพิเศษ ผู้ผ่านประสบการณ์ตรงโรคมะเร็ง โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง

https://www.chula.ac.th/news/125754/

ที่มา:

  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะและผลิตภัณฑ์จากน้ำนมแพะ ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

ในพื้นที่ในเขตมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีนั้น ผู้ที่ผ่านไปมาอาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของภาพข้างทางใหม่ๆ แทนที่จะได้เห็นโคนมในโรงเลี้ยง หรือในไร่ แต่กลับจะเป็นฝูงแพะแทน เนื่องจากเกษตรกรแถบนี้ได้เริ่มเปลี่ยนแนวของอาชีพจากการเลี้ยงโคนมมาทำการเลี้ยงแพะนมมากขึ้น ด้วยเหตุผล คือ ขาดผู้รับช่วง ต้นทุนการเลี้ยงแพะนมต่ำกว่าโคนม ใช้พื้นที่น้อยกว่า และการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก

เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี

จุฬาฯ เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง

โครงการ Organic Circle: นวัตกรรมการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ครบวงจร

การปลูกผักออแกนนิกนั้น ปัญหาที่สำคัญสุดคือทุกอย่างต้องเป็นอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นแปลงผัก น้ำที่ใช้รด และส่วนที่สำคัญอันหนึ่งคือปุ๋ยที่ต้องอินทรีย์ ยิ่งถ้าทำแปลงผักอินทรีย์ใหญ่เพื่อการส่งตลาด ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี ก็ต้องมีจำนวนมากพอ แต่ทำอย่างไรที่จะมีปุ๋ยอินทรีย์มากพอเพียงกับความต้องการ

จุฬาฯ หวังเพิ่มประชากรเต่าทะเล หนุนตั้งเครือข่ายคุ้มครองแหล่งวางไข่ในอ่าวไทย

จำนวนเต่าทะเลในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แม้รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมาย กำหนดเขตหวงห้าม ประกาศขึ้นทะเบียนเต่าทะเลในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และพยายามสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของเต่าทะเล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเลก็ตาม แต่จำนวนของเต่าทะเลในประเทศไทยยังคงลดลงจนใกล้ถึงจุดวิกฤต จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี เท่านั้น