กรณีศึกษา

เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาเพื่อการปลูกและฟื้นฟูป่าอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

จากการสำรวจในปี 2564 พบว่ามีพื้นป่าเพียง 31.59% ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย สาเหตุหลักของการลดลงของผืนป่าเกิดจาก ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้พื้นป่าที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพวิกฤต สภาพอากาศที่แห้งแล้งหรือการลักลอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมาย ทำให้เกิดไฟป่า ที่นอกจากจะทำให้ผืนป่าลดลงแล้ว การเกิดไฟป่ายังทำลายสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น ตลอดรยะเวลาที่ผ่านมาการอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทยต้องต่อสู้กับความเชื่อที่ว่า การเผาป่าจะทำให้เกิดเห็ดที่ชาวบ้านสามารถนำไปสร้างรายได้ จึงทำให้มีการแอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อนำเห็ดไปขาย  การฟื้นฟูผืนป่าที่เสียหายจากการโดนเผานั้น มีความยากกว่าการฟื้นฟูป่าไม้ที่เกิดจากสาเหตุอื่น เนื่องจากจุลินทรีย์ สารอาหาร และความชื้น ในดินถูกทำลายไปด้วย

ผืนป่าที่ได้รับความเสียหายต้องได้รับการฟื้นฟู ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่จะทำให้การฟื้นฟูผืนป่าสำเร็จนั้น คือการซ่อมแซมดิน นักวิจัยจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทดลองนำราไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) และจุลินทรีย์ในท้องถิ่นหลายชนิดมาผสมกับดินและพืชพื้นเมืองในพื้นที่ กลยุทธ์นี้ช่วยปลูกป่าต้นน้ำน่านและสระบุรี 3,000 ไร่ นอกจากนี้โครงการยังให้ความรู้และส่งเสริมการส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ผ่านการบรรยาย การฝึกภาคปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซานอกจากจะช่วยในการฟื้นฟูป่าเป็นอย่างดีแล้ว ยังได้ผลพลอยได้เป็นเห็ดที่สามารถใช้เป็นอาหารและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน

ปัจจุบันโครงการราไมคอร์ไรซาในการฟื้นฟูผืนป่าได้รับการขยายเป็น 10 แห่งในประเทศไทยและ 1 แห่งในประเทศลาว โดยได้รับการสนับสนุนจาก Mushroom Initiative Limited ในฮ่องกง มูลนิธิอานันทมหิดลและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยประสบความสำเร็จในฟื้นฟูป่าไม้ในสภาพเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้ร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมและศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการใช้เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาในการฟื้นฟูผืนป่า ซึ่งสามารถช่วยลดเวลาที่จะใช้ในการปลูกป่าลงจาก 40 ปี เป็น 30 ปี

การถ่ายทอดความรู้ด้านราไมคอร์ไรซา เพื่อการปลูกป่ามีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งรวมถึงนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับหน่วยการต่างๆโครงการฝึกอบรม เช่น นวัตกรรมการเพาะราไมคอร์ไรซาในแบบจำลองธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์ และ การใช้ราไมคอร์ไรซาเพื่อส่งเสริมการปลูกป่าไทย ซึ่งสนับสนุนโดยมณฑลทหารบกที่ 38 และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ภาค นอกจากนี้ ยังมีโครงปลูกป่าในพื้นที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ที่นำโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากกิจการนิสิต ภาควิชาพฤกษศาสตร์ องค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ และมูลนิธิฟื้นฟูป่าในท้องถิ่น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูผืนป่าโดยใช้เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซา ความพยายามเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวที่เสียหาย ลดการลักลอบเผาป่าที่ผิดกฎหมาย และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างชาวบ้านกับป่า เทคโนโลยีนี้สามารถไปปรับใช้ในการฟื้นฟูผืนป่าที่ถูกทำลายทั่วโลก

ที่มา:   คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

พิพิธภัณฑ์ของจุฬาฯ: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต

จุฬาฯ ผนึกกำลังชุมชน ติวน้อง “ละอ่อนสารักษ์ป่าน่าน” ใช้ Google Earth Pro กู้ป่าชุมชนเสื่อมโทรม

สถานการณ์ป่าน่านเสื่อมโทรมเป็นปฐมเหตุให้ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง และสถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์ ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ต้องผนึกกำลังกันดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเพื่อวางแนวทางการพลิกฟื้นผืนป่าสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศป่าชุมชน “ไหล่น่าน”

จุฬาฯ ปลุกการท่องเที่ยวเมืองน่านสีเขียว

“น่าน” มีวิสัยทัศน์ประจำจังหวัด คือ “เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ เกษตรกรรมอุดมสมบูรณ์ ชุมชนแน่นแฟ้น และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” น่านได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการพัฒนาการและเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้ 5 กลยุทธ์

จุฬาฯ หวังเพิ่มประชากรเต่าทะเล หนุนตั้งเครือข่ายคุ้มครองแหล่งวางไข่ในอ่าวไทย

จำนวนเต่าทะเลในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แม้รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมาย กำหนดเขตหวงห้าม ประกาศขึ้นทะเบียนเต่าทะเลในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และพยายามสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของเต่าทะเล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเลก็ตาม แต่จำนวนของเต่าทะเลในประเทศไทยยังคงลดลงจนใกล้ถึงจุดวิกฤต จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี เท่านั้น