COVID-19 เป็นโรคระบบทางเดินหายใจสามารถทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากหรือเป็นโรคอื่นๆ อยู่ เช่น เบาหวาน มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง โรค COVID-19 เป็นโรคที่มีการแพร่กระจายทางอากาศ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 โรงพยาบาลมีผู้ป่วยหนักจำนวนมาก ผู้ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางสามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้าน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงได้ในเวลาต่อมา การติดตามอาหารและสัญญาณชีพสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความจำเป็นในการมีระบบดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเหล่านี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมมือกับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท The Sharpener เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มกล่องรอดตาย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการดูแลสุขภาพที่มีวอร์ดเสมือนจริง เมื่อผู้ป่วยลงทะเบียนในระบบกล่องรอดตาย กล่องรอดตายจะถูกส่งไปยังบ้านผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง ภายในกล่องรอดตาย มีเวชภัณฑ์พื้นฐานและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วย COVID-19 ที่กำลังกักตัว แพลตฟอร์มกล่องรอดตายเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่น LINE ที่เชื่อมต่อกับระบบหอผู้ป่วยเสมือน ซึ่งแอปพลิเคชั่นนี้เป็นแอปพลิเคชั่นเพื่อการสื่อสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถส่งข้อมูลทางการแพทย์ สัญญาณชีพ และได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพิ่มเติม
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยเสมือนจะได้รับการดูแลโดยอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรม อาสาสมัครเหล่านี้พร้อมให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน และรวมถึงยังมีแพทย์อาสาที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาณทางคลินิกที่ผิดปกติ ผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านสามารถเข้าถึงการดูแลที่จำเป็นในการจัดการสุขภาพของผู้ป่วยได้ แพลตฟอร์มกล่องรอดตายยังมีระบบ E-learning เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับโรค COVID-19 วิธีการใช้อุปกรณ์ในกล่องเพื่อวัดสัญญาณชีพ ค่าของสัญญาณชีพที่วิกฤติ วิธีดูแลตัวเองขณะป่วย และวิธีรับประทานยาอย่างถูกต้อง
ในระหว่างวันที่ 7 มกราคม ถึง 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีการแจกกล่องรอดตายแก่นิสิต บุคลากร และนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวม 4,521 กล่อง และยังได้มอบกล่องรอดตายจำนวน 5,900 กล่องให้กับประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้อพยพและผู้ลี้ภัย โครงการกล่องรอดตายนี้ไม่ได้ดำเนินการเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ยังกระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ เช่น จังหวัดราชบุรีและกระบี่ ระบบกล่องรอดตายซึ่งใช้ได้ผลดีในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ในช่วงที่เกิดโรคระบาดนั้น สามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย
ที่มา: Siamrath online
[ https://siamrath.co.th/n/314931 ]
ที่มา: สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
อื่นๆ
จุฬาฯ ปลุกการท่องเที่ยวเมืองน่านสีเขียว
“น่าน” มีวิสัยทัศน์ประจำจังหวัด คือ “เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ เกษตรกรรมอุดมสมบูรณ์ ชุมชนแน่นแฟ้น และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” น่านได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการพัฒนาการและเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้ 5 กลยุทธ์
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (EID): ภารกิจวิจัย วินิจฉัย ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคอุบัติใหม่เพื่อมวลมนุษยชาติ
ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาโลกเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งไวรัสซิกา ไวรัสอีโบลา ไวรัสเมอร์ส และล่าสุดที่มวลมนุษยชาติกำลัง ประสบอยู่นั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ระบาดใหญ่จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 219 ล้านคน และคร่าชีวิตคนหลากชาติพันธุ์ไปแล้วกว่า 4.55 ล้านคน
กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะตลอดปีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 2565-2566
ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความทุพพลภาพ หรือเพศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online ให้กับทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้มีหลักสูตรเรียนฟรีออนไลน์ จัดพื้นห้องสมุดให้ใช้ฟรี และ co-working space แก่นิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไป
การศึกษาในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีไว้สำหรับนักศึกษาเท่านั้น เป็นสถานที่สำหรับทุกคน จุฬาลงกรณ์ได้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์อย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนแนวคิดของ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” และเพื่อเตรียมความพร้อมให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่โดยไม่ต้องไปเรียนในมหาวิทยาลัย