CU-DSR เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
Photo by Tim Marshall on Unsplash
การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในในทุกๆ ที่ ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นภายในสถานศึกษาเท่านั้น สามารถเกิดขึ้นผ่านกระบวนการต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการประสบการณ์การปฏิบัติ การฝึกงาน และการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ได้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการ CU-Digital Social Responsibility (CU-DSR) มอบโอกาสการเรียนรู้แบบทางเลือกแก่นิสิตและเป็นการช่วยเหลือสังคมไปในเวลาเดียวกัน โครงการ CU-DSR ได้มอบแท็บเล็ตให้กับนิสิตเพื่อให้นิสิตสามารถใช้ในการร่วมกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์กับพี่เก่าและผู้คนในสังคม ในปีนี้มีนิสิตเข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 คน โครงการ CU-DSR เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกับศิษย์เก่าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม และช่วยตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของนิสิตแต่ละคน ด้วยการมอบประสบการณ์ในการทำงานจริงร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เปิดโอกาสให้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตด้วยกันเอง ศิษย์เก่าและประชาชนภายนอก โดยโครงการนี้สนับสนุนให้นิสิตมีความรับผิดชอบและช่วยเหลือสังคม ผ่านกิจกรรมต่างๆทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
โครงการ CU-DSR มีกิจกรรมที่หลากหลายครอบคลุมทุกด้าน ประกอบด้วย 8 กลุ่มคือ Digital Health Care, E-Sport, Music Charity, CU Blood, Media Content, Chula the Master, Start-Up และ ICT Support ในแต่ละกลุ่มเหล่านี้มุ่งเน้นการทำกิจกรรมในรูปแบบที่แตกต่างกันไป กลุ่ม Digital Health Care มีสร้างแพลทฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพ กลุ่ม E-Sport มีจัดแข่งขันเกมออนไลน์ กลุ่ม Music Charity จัดคอนเสิร์ตการกุศล กลุ่ม Media Content สร้างสื่อให้ความรู้ กลุ่ม CU Blood จัดแคมเปญบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือสภากาชาดไทย กลุ่ม Chula the Master นำเสนอการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ แก่ประชาชน กลุ่ม Start-Up สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจใหม่ และกลุ่ม ICT Support ให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่ผู้สูงอายุ
ตัวอย่างความสำเร็จของกิจกรรมที่โครงการ CU-DSR ได้ทำเพื่อสังคม เช่น กลุ่ม Music Charity ได้ร่วมกับมูลนิธิเด็กโรคหัวใจแห่งประเทศไทย จัดคอนเสิร์ตการกุศลเพื่อหาทุนช่วยเหลือเด็กโรคหัวใจที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ระดมทุนได้ประมาณ 3 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือเด็กผู้ป่วยโรคหัวใจได้ถึง 1,000 คน กลุ่ม CU Blood ร่วมมือกับสภากาชาดไทยสร้างแคมเปนและอำนวยความสะดวกในการบริจาคโลหิต ตัวอย่างเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าโครงการ CU-DSR มีศักยภาพในการสร้างประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้างและมอบโอกาสในการเรียนรู้ที่สำคัญแก่นิสิต
ที่มา:
- สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
อื่นๆ
BLOCK 28 : Start-up District โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน
“CREATIVE & STARTUP VILLAGE” ย่านสตาร์ทอัพแห่งใหม่ใจกลางเมือง ชื่อมต่อทุกไลฟ์สไตล์ของคนสร้างสรรค์และเป็น community ที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและการเชื่อมโยงทางธุรกิจเกิดเป็น Eco-System ของธุรกิจสตาร์ทอัพ
จุฬาฯ กับหลากหลายรูปแบบการเดินทางที่ยังยืน (Chula Smart Mobility)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน
การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประโยชน์: การปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions”
ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย
การดำเนินการนโยบายด้านความยั่งยืนกับ Outsource ของจุฬาฯ
มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหาร (food service) ในโรงอาหารส่วนกลางของมหาวิทยาลัยด้วย โดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ