เกม “Urban Green มหานครสีเขียว” เพื่อการเรียนรู้ความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเมือง
นับตั้งแต่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชากรมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในปัจจุบันอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งคาดว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไป เป็นเหตุให้เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง การขยายตัวของเมืองส่งผลกระทบต่อการใช้ที่ดินและรูปแบบของความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้พื้นที่สีเขียวที่มีตามธรรมชาติที่ลดลง ส่งผลให้เกิดโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ การแข่งขันระหว่างสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น และการแทนที่ด้วยสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเมืองได้ ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยลง เป็นไปได้ที่จะกล่าวว่าการขยายตัวของเมืองเป็นสาเหตุหลักของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การทำความเข้าใจกระบวนการและผลกระทบของการขยายตัวของเมืองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อทดแทนพื้นที่ธรรมชาติที่สูญเสียไปอาจเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหานี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้พื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัยมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ และมีโครงการหลากหลายเพื่อดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างไรก็ตามพบว่า การสื่อสาร การศึกษา และการรับรู้ของประชาชนภายนอกยังคงไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นแรงผลักดันในเรื่องนี้ นิสิตและคณาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาบอร์ดเกมที่จำลองสถานการณ์วิกฤตที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เกมดังกล่าวมีชื่อว่า “แบบจำลองเชิงบูรณาการเพื่อการเรียนรู้บริการของระบบนิเวศของพื้นที่สีเขียวภายในเมือง” หรือเรียกสั้น ๆ “Urban Green มหานครสีเขียว” โดยเกมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เล่นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ บริการของระบบนิเวศเมือง และบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภาคส่วนต่าง ๆ ที่จำพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เป็นระบบนิเวศที่เอื้อประโยชน์ต่อสรรพชีวิตรวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในเมือง ซึ่งเมื่อผู้เล่นมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นแล้ว ย่อมนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการจัดการพื้นที่สีเขียวต่อไปในอนาคต
โดยที่ผู้เล่นแต่ละคนจะได้รับการ์ดตัวละครที่เป็นตัวแทนของบุคคลที่มีบทบาทต่างๆ กันในการจัดการพื้นที่ การ์ดทรัพยากรและการ์ดเงิน ผู้เล่นจะใช้ความสามารถของตัวละครในการจัดการทรัพยากรและเงินทุนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในสถานการณ์จำลอง เมื่อเล่นเกม ผู้เล่นจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการและปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น หลังจากจบเกม ผู้เล่นจะได้รับการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้วยแบบทดสอบที่จัดทำขึ้น
เกม “Urban Green, มหานครสีเขียว” ประสบความสำเร็จในการใช้ประกอบการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และเกมนี้ยังได้เผยแพร่ไปยังโรงเรียนในกรุงเทพฯ และจังหวัดหัวเมือง เพื่อสอนเด็กนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่มา:
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อื่นๆ
โครงการและกิจกรรมเพื่อสังคมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการดำเนินกิจกรรมและโครงการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย ภายในชุมชนต่าง ๆ
อนุรักษ์ปลากระเบนเจ้าพระยา อนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่กลอง
นักวิชาการต่างยกให้ปลากระเบนเจ้าพระยาเป็นสิ่งมีชีวิตบ่งชี้ความไม่สมดุลของระบบนิเวศน้ำจืดด้วยคุณสมบัติของปลาชนิดนี้ที่มีความไวต่อสารพิษและสภาพการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อยู่อาศัย
พิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
จุฬาฯ ชู “แสมสารโมเดล” แก้ขยะล้นทะเลไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์” และ“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ” เผยผลสำเร็จ “แสมสารโมเดล” นำร่องแก้ปัญหาขยะบนบกไหลลงทะเลชลบุรี ด้วยหลัก 3Rs ลดขยะพื้นที่แสมสารได้จริงกว่าร้อยละ 30 พร้อมขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ระดับชาติ