กรณีศึกษา

CU-GOAT MILK

การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะและผลิตภัณฑ์จากน้ำนมแพะ ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

ในพื้นที่ในเขตมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีนั้น ผู้ที่ผ่านไปมาอาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของภาพข้างทางใหม่ๆ แทนที่จะได้เห็นโคนมในโรงเลี้ยง หรือในไร่ แต่กลับจะเป็นฝูงแพะแทน เนื่องจากเกษตรกรแถบนี้ได้เริ่มเปลี่ยนแนวของอาชีพจากการเลี้ยงโคนมมาทำการเลี้ยงแพะนมมากขึ้น ด้วยเหตุผล คือ ขาดผู้รับช่วง ต้นทุนการเลี้ยงแพะนมต่ำกว่าโคนม ใช้พื้นที่น้อยกว่า และการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก

รวมทั้งเมื่อคำนึงถึงตลาดน้ำนมแพะที่ยังมีไม่มาก มีผู้เลี้ยงน้อย ราคาค่อนข้างดึงดูดให้น่าลงทุน นมแพะคุณภาพดี ๆ ราคาอยู่ประมาณ 50-150 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่น้ำนมโคอยู่ที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ ผู้บริโภคเริ่มนิยมบริโภคนมแพะมากขึ้น เพราะนมแพะมีคุณค่าทางอาหารสูง ย่อยง่าย อุดมด้วยโปรตีนและไขมันที่มีประโยชน์และเหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นมวัวและผู้สูงอายุ

โครงการนี้จะเป็นการร่วมมือในลักษณะ interdisciplinary คือ ระหว่าง คณะสัตวแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า (value chain) โดยการให้ความรู้ตั้งแต่การจัดการฟาร์ม สุขภาพสัตว์ และแปรรูปน้ำนมดิบที่มีคุณภาพสู่ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าที่มีผลกระทบต่อการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะ การเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือน และการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคุณภาพ สู่ท้องตลาดด้วยกลไกของผู้ประกอบการรุ่นใหม่โดยเฉพาะบัณฑิตที่กำลังจะจบหรือจบแล้วจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นลักษณะ triple helix คือ มหาวิทยาลัย เกษตรกร และผู้ประกอบการหน้าใหม่ในลักษณะครบวงจรตามรูปด้านล่างของห่วงโซ่คุณค่า

จากผลการดำเนินการในระยะที่ 1 ได้มีการพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดย การรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะอำเภอมวกเหล็ก จ.สระบุรี ที่เริ่มมีการผลิตนมแพะ พร้อมดื่มจำหน่ายไปบ้างแล้ว นอกจากนี้ได้มีการจดอนุสิทธิบัตรงานวิจัยนมแพะพาสเจอรไรซ์ผสมเนื้อผลไม้ 4 รส ได้แก่ รสธรรมชาติ รสกล้วย รสมะพร้าวและ รสแคนตาลูป และมีรายได้จากขายอนุสิทธิบัตร ให้แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ (startup) ในการจัดจำหน่ายนมแพะเกิดขึ้นด้วย มีความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดสระบุรีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมแพะและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในงานนิทรรศการที่เกี่ยวข้อง เช่น กิจกรรมวันแพะแห่งชาติ ในระยะต่อมาโครงการได้พัฒนาการแปรรูปนมแพะเป็นอาหาร ได้แก่ เนยแข็ง และลูกอมรสนมแพะ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ได้แก่ สบู่ก้อน สบู่เหลว และ ครีมทาผิว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเลี้ยงแพะนมที่มีมาตรฐานและคุณภาพมากขึ้นและมีความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงแพะ

ทางโครงการมีเป้าหมายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนมมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นของตนเอง ผ่านทางการวิจัยโดยชูธงวัตถุดิบที่เป็นนมแพะออร์แกนิกและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาเกิดจากการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มรายได้ในชุมชนและสร้างอาชีพที่เป็นอาชีพที่มั่นคง แปรรูปน้ำนมดิบแพะให้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่าง ๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและผู้สนใจในเขตจังหวัดสระบุรีและจังหวัดใกล้เคียงเป็นผู้รับการถ่ายทอดและสร้างผู้ประกอบการรายใหม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในการสร้างอาชีพ และประชาชนในชุมชนสามารถเข้าถึงนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์จากน้ำนมแพะ การสร้างผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ในการสร้างรายได้แก่เกษตรกรและสามารถนำไปต่อยอดได้ต่อไป

นางสาวสาวิตรี ดวงอานนท์ ผู้ประกอบการ มานพฟาร์มแพะ ที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เล่าว่าที่ฟาร์มของเธอตอนนี้ทำนมแพะพาสเจอไรซ์ แพะสเตอรีไรซ์ซึ่งเป็นรสธรรมชาติ นมแพะ 100% ทั้งหมด แต่ตอนนี้เธอได้เรียนรู้ในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ packaging รสชาติของนม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทำอย่างไรให้สินค้ามีความน่าสนใจ น่าซื้อ นอกเหนือจากนมแพะ มีสินค้าใหม่ๆ เช่น ขนม อาหาร และเครื่องสำอางค์ จากการเข้าอบรมในโครงการนี้ “กลุ่มตลาดเป้าหมาย นมสเตอรีไรซ์สำหรับสัตว์เลี้ยง ส่วนนมพาสเจอไรซ์สำหรับกลุ่มคนที่รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ” เธอกล่าว

สำหรับ “นมพาสเจอไรซ์ พี่ส่งออกตามบูธ มีสั่งpre-order และมีลูกค้าประจำที่อยู่ในละเวกบ้าน ตามชุมชน เช่น ชาวบ้าน ส่วนนมสเตอรีไรซ์ ส่งตามคลีนิก โรงพยาบาลบางแห่ง ร้านค้าสัตว์เลี้ยงสุนัข แมวรายได้จากการขายนมแพะ ขึ้นอยู่กับปริมาณของนม และตัวแพะ อย่างของพี่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ รายได้ต่อเดือนก็จะค่อนข้างสูง “เมื่อมีจำนวนแพะมาก ปริมาณนมแพะก็มากขึ้นด้วย” เธอกล่าว “เราไม่ได้ขายผลิตภัณฑ์อย่างเดียว เราขายส่งนมดิบขายให้กับโรงงานที่เหลือจากการผลิตภัณฑ์นมพาสเจอไรซ์ แพะสเตอรีไรซ์”

สิ่งที่สาวิตรีอยากเห็น คือการอบรมการทำเมนูใหม่ๆ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้มาสอนแก่ผู้ประกอบการ และเกษตกรที่สนใจ และส่งเสริมเรื่องการตลาดให้มากกว่านี้

ด้านผู้ผลิต นางสาวอารญา สุขหอม จากบมจ.โกลเด้นแซค เทรดดิ้งกล่าวว่าเหตุผลที่เลือกนมแพะมาทำตลาดเพราะมีคุณประโยชน์ และสามารถต่อยอดในตลาดได้ “เราได้ศึกษาว่าเกษตรกรในช่วงนั้น ประสบปัญหานมล้นตลาด เรามี know how ทางด้านการตลาด และด้านmarketing และเราจะช่วยเกษตรกรได้อย่างไร จึงเกิดปรับปรุงผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา”

กลุ่มตลาดที่ส่งออกนมแพะ จะขายออกตามอีเว้นท์ และดีลิเวอร์รีในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งรายได้ กำไรหลังหักค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้า เช่าบูท ค่าแรง และอื่นๆ ได้กำไร 20-30% เป้าหมายในอนาคต “อยากให้มีตรา มาตรฐาน พวกฮาลาลเพื่อที่จะสามารถส่งออก และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เก็บได้นาน” ส่งขายได้ทั่วประเทศ เช่น กลุ่มโรงเรียน และกลุ่มมุสลิม อาจจะเป็นปีหน้า

ปีนี้มีแพลนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เอานมแพะแปรรูปเป็นนมอัดเม็ด เอาไปทดลองในตลาดแล้ว แต่พอเกิดสถานการณ์โควิค แพลนจึงเลื่อนไปปีหน้า ตอนแรก มีการพัฒนานมอัดเม็ดจะมีรสชาติไหนบ้าง ทดลองชิมเรียบร้อยออกมาเป็นรูปธรรมแล้ว เหลือรอขั้นตอนผลิตเรื่องนมแพะผลไม้

เมื่อโครงการมีนวัตกรรม ที่ทำให้นมแพะไม่มีกลิ่น เป็นรสชาติผลไม้ 100% โดยไม่มีการแต่งสี แต่งรสใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งมีทั้งรสกล้วย รสมะพร้าว และ ยังมีแพลนที่จะพัฒนาต่อ คือ นมรสเมล่อน “ซึ่งนี่เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กลุ่มเป้าหมายลูกค้า ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น” เธอกล่าวอย่างพึงพอใจ

จากการเข้าร่วมอบรม เธอเห็นว่าโครงการนี้ได้ให้ความรู้ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งในมุมผลิตภัณฑ์ สิ่งที่อยากเพิ่มเติม “อยากได้ความรู้ในเรื่องของ know how ว่าถ้าวันหนึ่งผู้ประกอบการที่เป็นคนตรงกลางอย่างดิฉันอยากเป็นเกษตรกรฟาร์ม จะต้องเริ่มต้นจากอะไร” เธอกล่าว

ที่มา:

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี

จุฬาฯ เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง

เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาเพื่อการปลูกและฟื้นฟูป่าอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนในทุกพื้นที่ของประเทศไทย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทยต้องต่อสู้กับความเชื่อที่ว่า การเผาป่าจะทำให้เกิดเห็ดที่ชาวบ้านสามารถนำไปสร้างรายได้ จึงทำให้มีการแอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อนำเห็ดไปขาย  การฟื้นฟูผืนป่าที่เสียหายจากการโดนเผานั้นยากกว่าการฟื้นฟูป่าไม้ที่เกิดจากสาเหตุอื่น เนื่องจากจุลินทรีย์ สารอาหาร และความชื้นในดินถูกทำลายไปด้วย

จุฬาฯ ชู “แสมสารโมเดล” แก้ขยะล้นทะเลไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์” และ“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ” เผยผลสำเร็จ “แสมสารโมเดล” นำร่องแก้ปัญหาขยะบนบกไหลลงทะเลชลบุรี ด้วยหลัก 3Rs ลดขยะพื้นที่แสมสารได้จริงกว่าร้อยละ 30 พร้อมขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ระดับชาติ

จุฬาฯ กับการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งใหญ่ ใน Chula Sustainability Fest 2022

ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน