จุฬาฯ ต้าน COVID-19 ด้วยกลยุทธ์หลายมิติ; การวินิจฉัย การรักษา และการฉีดวัคซีน
ในช่วงวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงานวิจัย การบริการ และนวัตกรรมมากมายแก่สังคมเพื่อฟื้นคืนสถานการณ์ที่ตึงเครียด ซึ่งรวมถึงวิธีการวินิจฉัย แพลตฟอร์มออนไลน์ด้านการดูแลผู้ป่วย (วอร์ดเสมือน) และงานด้านศูนย์บริการวัคซีน
การตรวจวินิฉัย
COVID-19 เป็นโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ การตรวจพบว่า ติดเชื้อตั้งแต่ช่วงแรกๆ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการต่อสู้กับโรคนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาวิธีตรวจโรค COVID-19 โดยใช้ความรู้ด้าน CRISPR-Cas12a ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้สามารถตรวจจับโควิด สายพันธุ์ อัลฟ่า เบตา และเดลต้า รวมถึงสายพันธุ์โอไมครอน (สายพันธุ์ที่แยกได้ตอนต้นปี 2565) ได้ ทางผู้วิจัยได้ใช้น้ำลายในการสุมตรวจตัวอย่างน้ำลายของผู้ไม่มีอาการจำนวน 578 คนในการทดสอบการตรวจด้วยวิธีนี้ พบว่า มีความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำถึง 96.86%



ศูนย์บริการวัคซีน
การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการแพร่เชื้อ ประชาชนจำเป็นต้องมีภูมิต้านทานโรค COVID-19 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์วัคซีนขึ้นมีวัตถุวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งบริการวัคซีนสำหรับนิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไปในชุมชนรอบๆ โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพแบบหาเช้ากินค่ำรวมถึงผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่ไม่มีโอกาสได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19ในระบบปกติ ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ศูนย์บริการวัคซีนของจุฬาฯ ได้ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน นิสิต และบุคคลากรเป็นจำนวน 190,725 โดส
[ https://www.chula.ac.th/news/51744/ ]
กล่องรอดตาย; หอพักผู้ป่วยเสมือน
Source: Thai PBS
[ https://www.youtube.com/watch?v=0-TxvgTtkk4 ]
COVID-19 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ อาการของโควิด-19 มีตั้งแต่ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่ชื้อได้ จนถึงอาหารหนักจนทำให้เสียชีวิต แต่อาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยรุนแรง COVID-19 เป็นโรคที่แพร่กระจายไปในอากาศ ผู้คนสามารถติดได้เมื่อหายใจเอาละอองหรืออนุภาคในอากาศขนาดเล็กที่มีไวรัสเข้าไป ในช่วงที่มีการระบาด โรงพยาบาล COVID-19 เต็มไปด้วยผู้ป่วยอาการหนัก ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางควรกักตัวที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการทางคลินิกเล็กน้อยถึงปานกลางในช่วงแรกก็มีโอกาสที่อาการจะพัฒนาเป็นอาการรุนแรงได้ในเวลาต่อมา ดังนั้น การตรวจติดตามสัญญาณชีพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ The Sharpener พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการดูแลสุขภาพออนไลน์ ทำเป็นวอร์ดเสมือนสำหรับติดตามผู้ป่วยโควิด-19 โดยผู้ป่วยจะได้รับกล่องรอดตายซึ่งบรรจุอุปกรณ์สำหรับตรวจสัญญาณชีพและยาตามอาการ กล่องรอดตายจะถูกส่งไปยังผู้ป่วยที่บ้าน หลังจากที่ผู้ป่วยลงทะเบียนและแจ้งอาการในระบบ(ออนไลน์) ผู้ป่วยจะวัดสัญญาณชีพและบันทึกข้อมูลบนแพลตฟอร์มออนไลน์กล่องรอดตายกลับมา โดยจะมีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมมาช่วยดูแลสอบถามอาการผู้ป่วยและตรวจสอบค่าสัญญานชีพต่างๆ ในวอร์ดเสมือนจริง หากมีเหตุฉุกเฉินอาสาสมัครจะติดต่อประสานงานกับทางโรงพยาบาลเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในทันที ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม ถึง 4 กรกฎาคม 2565 กล่องรอดตายจำนวน 4,521 กล่อง ได้มอบให้กับนิสิต บุคลากร และนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กล่องรอดตายจำนวน 5,900 กล่อง ได้มอบให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งรวมถึงผู้อพยพและผู้ลี้ภัย
[ https://www.chula.ac.th/highlight/48984/ ]
[ https://www.chula.ac.th/news/59175/ ]
ที่มา:
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Related articles:
อื่นๆ
โครงการ Organic Circle: นวัตกรรมการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ครบวงจร
การปลูกผักออแกนนิกนั้น ปัญหาที่สำคัญสุดคือทุกอย่างต้องเป็นอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นแปลงผัก น้ำที่ใช้รด และส่วนที่สำคัญอันหนึ่งคือปุ๋ยที่ต้องอินทรีย์ ยิ่งถ้าทำแปลงผักอินทรีย์ใหญ่เพื่อการส่งตลาด ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี ก็ต้องมีจำนวนมากพอ แต่ทำอย่างไรที่จะมีปุ๋ยอินทรีย์มากพอเพียงกับความต้องการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นิสิตจัดตั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เปิดภารกิจเครือข่ายมหาวิทยาลัยผู้พิทักษ์ผืนป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง
ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต ที่เชื่อมโยงกันทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์หลากชนิด และยังมีคุณค่ากับมนุษย์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำยังจัดเป็นนิเวศบริการ ที่ส่งมอบนานาประโยชน์จากธรรมชาติสู่มนุษย์หลากหลายด้าน
สผ. ร่วมกับ GIZ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หารือผู้เชี่ยวชาญในประเด็นความเสี่ยงของพืชเศรษฐกิจหลัก และข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรของประเทศไทย
เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงจากปัจจัยคุกคามทางสภาพอากาศต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักในแต่ละพื้นที่ย่อย โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา และภาครัฐ เข้าร่วมการประชุม