งานบริการที่พักนิสิต อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้ คู่การสร้างพลเมืองที่ดี
หนึ่งในงานบริการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักสำหรับนิสิต เพื่อเป็นที่พักอาศัยอำนวยความสะดวกสบายเพื่อไม่ต้องเดินทางไกลสำหรับนิสิตผู้ที่มีความจำเป็น (Providing housing directly) ดำเนินการโดยสำนักงานหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีวิสัยทัศน์ (Vision) คือ “เพื่อเป็นที่พักอาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และผาสุก” และมี 3 พันธกิจ (Mission) สำคัญ คือ
- จัดสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ปลอดภัย สะอาด ร่มรื่น และมีสุขภาวะ
- สร้างบรรยากาศเพื่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้อื่น
- ส่งเสริมและพัฒนานิสิตให้เป็นผู้มีความพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรมเพื่อเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม โดยได้เปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม ผ่านการอบรมส่งเสริมจริยธรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งการเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์
ปัจจุบันหอพักนิสิตรับนิสิตทั้งชายและหญิงเข้าพักได้รวมทั้งสิ้น 3,320 คน โดยแบ่งเป็นหอพัก 2 แบบ
[ https://rcuchula.com/rcu_web/index.php/aboutus/rcu-facilities ] คือ
- “หอพักนิสิตแบบรายเทอม” รับนิสิตทั้งชายและหญิงเข้าพักรวมทั้งสิ้น 2,164 คน
- “หอพักนิสิตแบบรายเดือน” รับนิสิตทั้งชายและหญิงเข้าพักรวมทั้งสิ้น 1,156 คน ที่มีรายละเอียดในการเข้าพัก ดังนี้
“หอพักนิสิตแบบรายเทอม”
จำนวน 4 หอพัก ประกอบด้วย
- หอพักจำปี หอพักนิสิตชาย เป็นอาคาร 14 ชั้น มีจำนวนห้องพักสำหรับนิสิต 248 ห้อง ห้องละ 4 คน รวมรับได้ 992 คน
- ตึกจำปา หอพักนิสิตหญิง เป็นอาคาร 5 ชั้น มีจำนวนห้องพักสำหรับนิสิต 70 ห้อง ห้องละ 4 คน รวมรับได้ 280 คน
- ตึกพุดตาน หอพักนิสิตหญิง เป็นอาคาร 14 ชั้น (ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง)
- ตึกพุดซ้อน หอพักนิสิตหญิง เป็นอาคาร 14 ชั้น มีห้องพักสำหรับนิสิต 223 ห้อง ห้องละ 4 คน รวมรับได้ 892 คน
“หอพักนิสิตแบบรายเดือน”
จำนวน 1 หอพัก คือ หอพักชวนชม รับนิสิตทั้งชายและหญิงเข้าพักได้รวมทั้งสิ้น 1,156 คน เป็นอาคารหอพัก 17 ชั้น มีจำนวนห้องพักสำหรับนิสิต 578 ห้อง พักห้องละ 2 คน
โดยมีบัญชีแนบท้ายอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหอพักและค่าใช้จ่ายอื่นสำหรับหอพักนิสิตในอัตราช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่ระบุ ชัดเจน โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบกับอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของที่พักเอกชนภายนอก ตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง เกณฑ์และอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหอพักและค่าใช้จ่ายอื่นสำหรับหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564 (ฉบับล่าสุด) [ https://rcuchula.com/rcu_web/index.php/aboutus/m-room-rate ]
โดยยังได้นิยาม “ค่าธรรมเนียมหอพัก” ให้หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บสำหรับการเข้าพักในหอพัก เพื่อช่วยเหลือนิสิตที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการศึกษา หรือเป็นนิสิตที่มีฐานะขาดแคลน
บัญชีแนบท้ายอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหอพักและค่าใช้จ่ายอื่นสำหรับหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564
1. กรณีพักประจำ
อาคารหอพักนิสิต | ค่าธรรมเนียมหอพักสำหรับนิสิตหอพัก (ต่อคน) |
ค่ากระแสไฟฟ้า หน่วยละ (บาท) | ค่าประปา หน่วยละ (บาท) | ค่าประกันความเสียหาย (บาท) | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ภาคการศึกษา (บาท) | ภาคฤดูร้อน (บาท) | เดือน (บาท) | ||||
อาคารหอพักนิสิต 5 ชั้น (ตึกจำปา) | 4,500 | 2,250 | – | – | – | – |
อาคารหอพักนิสิตหญิง 14 ชั้น (ตึกพุดซ้อน) | 5,500 | 2,750 | – | – | – | – |
อาคารหอพักนิสิต 17 ชั้น (ตึกชวนชม) | – | – | 3,500 | 5 | 17 | 5,000 |
อาคารหอพักนิสิต 14 ชั้น (ตึกพุดตาน) | – | – | 1,800 | 5 | – | 5,000 |
อาคารหอพักนิสิตชาย 14 ชั้น (ตึกจำปี) | – | – | 2,500 | 5 | – | 5,000 |
ค่ารักษาทรัพย์สิน กรณีไม่นำทรัพย์สินออกจากห้องพักเมื่อหมดสิทธิเข้าพัก | 300 บาท/วัน |
2. กรณีพักชั่วคราว
อาคารหอพักนิสิต | ค่าธรรมเนียมหอพัก | |||
---|---|---|---|---|
สำหรับนิสิตอื่น (ต่อคน ต่อวัน) |
สำหรับบุคคลอื่น (ต่อวัน) |
|||
พักห้องพักนิสิตหอพัก (บาท) | พักห้องพักสำรอง (บาท) | ต่อคน (บาท) | ต่อห้อง (บาท) | |
อาคารหอพักนิสิต 5 ชั้น (ตึกจำปา) | 50 | 70 | 70 | – |
อาคารหอพักนิสิตหญิง 14 ชั้น (ตึกพุดซ้อน) | 60 | 80 | 80 | – |
อาคารหอพักนิสิต 17 ชั้น (ตึกชวนชม) | – | – | – | 800 |
อาคารหอพักนิสิต 14 ชั้น (ตึกพุดตาน) | – | – | – | – |
อาคารหอพักนิสิตชาย 14 ชั้น (ตึกจำปี) | – | – | – | – |
ค่ารักษาทรัพย์สิน กรณีไม่นำทรัพย์สินออกจากห้องพักเมื่อหมดสิทธิเข้าพัก | 300 บาท/วัน |
นอกจากนี้ยังมีนโยบายช่วยเหลือนิสิตในกรณีพิเศษ คือ การเปิดรับพิจารณาเข้าสัมภาษณ์ทุนค่าธรรมเนียมหอพักนิสิต (Providing financial support) ตามประกาศ หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง รับสมัครทุนช่วยเหลือนิสิตหอพัก สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคต้น ปีการศึกษา 2566 ด้วยเกณฑ์การพิจารณาในการรับสมัครเพื่อคัดเลือกและจัดให้พักในราคาที่เหมาะสม (Evaluating affordability) ที่ได้แก่ เป็นนิสิตที่มีฐานะขาดแคลน ผู้ปกครองมีรายได้รวมกันไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน เป็นผู้มีความประพฤติดี และ เป็นนิสิตที่ทำงานพิเศษเพื่อช่วยเหลือตนเอง เป็นต้น โดยการสนับสนุนทุนค่าธรรมเนียมหอพัก จากสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต มีจำนวน 5,000 บาท จำนวน 60 ทุน และทุนช่วยเหลือ 3,000 บาท 76 ทุน ซึ่งนโยบายและการบริหารจัดการทั้งหมดสอดคล้องกับนโยบายการมอบการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ ไปจนถึงสร้างเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน [ https://rcuchula.com/form/up_files/rcu_file_734.pdf ]
ที่มา:
- สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักงานหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อื่นๆ
เปิดเคล็ดลับความสำเร็จ จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ ชวนดูคาระวาน Smart Mobility
จุฬาฯ ขับเคลื่อนโครงการ “จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้” (Chula Smart City) ผ่าน “SMART 4” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 4 มิติ ได้แก่ Smart Living, Smart Energy, Smart Environment และ Smart Mobility รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม ชูจุดเด่นยานยนต์หลากรูปแบบตอบโจทย์ SMART MOBILITY
โครงการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและแผนที่จะปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในเรื่องการจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกหลายโครงการด้วย
เนินชะลอความเร็ว (Speed Hump) การสร้างพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย
พื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่มีความร่มรื่น และการเดินทางไปยังอาคารต่างๆ ก็สามารถทำได้โดยไม่ลำบาก มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย และยังมีการออกแบบและจัดทำ และเนินชะลอความเร็วขึ้นในจุดทางข้าม ผสมผสานเข้ากับการทำเป็นทางม้าลาย ในหลายจุดทั่วทั้งมหาวิทยาลัย
การส่งเสริมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านน้ำสะอาดและสุขาภิบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ นิสิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญและรู้จักใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า