ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นเรื่อย ๆ ราว 500,000 ราย โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่มากกว่า 300,000 ราย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าร้อยละ 70 จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหลังเข้ารับการรักษา ส่งผลค่ารักษาพยาบาลที่หากต้องใช้รักษาผู้ป่วยเหล่านี้สูงกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อปี และยังพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอีกจำนวนมากไม่มีสิทธิ์เข้าถึงการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ไม่เพียงแต่ปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย แต่ประเทศไทยยังขาดแคลนนักกายภาพบำบัด และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกายภาพก็มีอยู่อย่างจำกัดเช่นกัน จึงเป็นที่มาของความพยายามพัฒนาหุ่นยนต์กายภาพบำบัดเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
CUREs Robot (Chulalongkorn University Rehabilitation Exoskeleton/End Effector system) คือหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการพัฒนาจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่การันตีโดยรางวัลชนะเลิศประเภท “หุ่นยนต์และซอฟต์แวร์สำหรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข”(Robots and Software for Medical and Public Health Services) จากเวทีประกวด i-MEDBOT Innovation Contest 2021 โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (องค์การมหาชน) หรือ TCELS กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในปีที่ผ่านมา
หุ่นยนต์ CURE Robot มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ หุ่นยนต์ฝึกไหล่และข้อศอก 2 ประเภท หุ่นยนต์ฝึกข้อมือ 2 ประเภท และหุ่นยนต์ฝึกสะโพก เข่า และข้อเท้า 1 ประเภท โดยหุ่นยนต์จะฝึกผู้ป่วยให้ใช้แขนและขาได้ขยับยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นระบบสั่งการสมองผ่านเกมที่น่าสนใจ ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ได้ตามปกติอีกครั้ง หุ่นยนต์สามารถปรับความเร็วและระดับการรองรับได้ตามความต้องการของแพทย์ หากผู้ป่วยพยายามออกกำลังด้วยตนเองแต่ยังไม่สามารถออกแรงได้ หุ่นยนต์จะช่วยผ่อนแรงตามความจำเป็น การออกกำลังกายแต่ละครั้งจะใช้เวลาไม่มาก ครั้งละ 15 นาที และจะได้รับการบันทึกผลการทำกายภาพไว้เพื่อใช้เรียกประกอบการวิเคราะห์พัฒนาการของผู้ป่วย และยังสามารถรายงานผลไปยังทีมแพทย์ผ่านระบบ Cloud Computing Networks
เมื่อเทียบกับวิธีการรักษาแบบเดิมที่มีอยู่ การนำหุ่นยนต์มาใช้ร่วมกับเกมต่าง ๆ ระหว่างการทำกายภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมซ้ำ ๆ ได้มากขึ้นอย่างสนุกสนานและรู้สึกท้าทาย การรักษาในลักษณะนี้ยังช่วยปรับปรุงการสั่งการสมองและการควบคุมอวัยวะของร่างกายได้ดีขึ้นด้วย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องทุ่มเทเพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของอวัยวะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราจะเห็นพัฒนาการผ่านหน้าจอภาพที่แสดงภาพกราฟปริมาณการออกแรงของผู้ป่วยที่ได้รับการกายภาพผ่านหุ่นยนต์เหล่านี้
การออกแบบโครงสร้างและระบบ Aerodynamic Control System ให้มีความปลอดภัยสูง และออกแบบให้มีขนาดเล็กให้เคลื่อนย้ายสะดวก เป็นหัวใจของการพัฒนา CUREs Robot ซึ่งสอดคล้องกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และอยากให้คนไทยได้ใช้นวัตกรรมที่พัฒนาโดยคนไทย 100% ปัจจุบัน CUREs Robot ได้รับการผลิตที่โรงงานต้นแบบที่อาคาร Colombo Building Research Lab ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือกับ Haxter Robotics บริษัทสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะโดย CU Innovation Hub และยังได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 สำหรับการผลิตอุปกรณ์เครืองมือแพทย์ ปัจจุบันหุ่นยนต์ชุดนี้ได้นำไปใช้ให้บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล 12 แห่ง
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
อื่นๆ
เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA “CU-Cov19”
โครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ
สองนวัตกรรมคืนชีวิตใหม่ให้ปะการังไทย ผสมเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก พร้อมชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของระบบนิเวศของมหาสมุทรถือเป็นภาวะวิกฤติการณ์ที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งได้รับผลกระทบจากทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติของสภาพอากาศ สิ่งมีชีวิตจำนวนมากใกล้จะสูญพันธุ์ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งทำให้จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว “ปะการัง” เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตเราเหล่านั้น
นวัตกรรมเครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูงในภาวะฉุกเฉินการระบาด COVID-19
ใน พ.ศ. 2564 ทั่วโลกเกิดการระบาดของ COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์อัลฟาและเดลตา ทำให้มีผู้ติดเชื้อยืนยันเกิน 363,000 รายและผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 รายในประเทศไทยถึงเดือนกรกฎาคม อาการรุนแรงของผู้ป่วยนำมาสู่เครื่องช่วยหายใจและเครื่องบำบัดโรคอัตราการไหลสูงขาดแคลนเนื่องจากมีต้องการทั่วโลก
การดำเนิการตามแนวพระราชดำริ: ส่งต่อความหลากหลายทางระบบนิเวศสู่คนรุ่นหลัง
“การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้หมายถึงการเก็บเอาไว้ไม่ให้ใครเข้าถึง แต่หมายถึงการรักษาไว้อย่างยั่งยืนเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม”