กรณีศึกษา

Park @ Siam พื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ ใจกลางเมืองเพื่อชุมชน

“Park @ Siam” พื้นที่สีเขียวใจกลางย่านการค้าสยามสแควร์ เป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในย่านการค้าที่มีชื่อเสียง ภายใต้การดูแลและบริหารจัดการโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)

Park @ Siam นับได้ว่าเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางย่านการค้าธุรกิจ ที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มวัยรุ่น คนหนุ่มสาว คนวัยทำงาน และกลุ่มคนเมืองทั่วไป ว่าเป็นพื้นที่สวนสาธารณะที่เปิดให้มีการเข้าถึงจากพื้นที่ต่อเนื่องโดยรอบ ให้เข้าใช้งาน เพื่อเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ออกกำลังกาย แหล่งนัดพบปะสังสรรค์ สำหรับคนในชุมชนที่อาศัยโดยรอบพื้นที่และพื้นที่ใกลัเคียง ไปจนถึงการเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่มีการใช้งานของทั้งหน่วยงานและองค์กรสถาบันจากภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

จากลักษณะที่ตั้งและการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ Park @ Siam ในบริเวณสวนจึงมักถูกนำมาใช้เป็นพื้นที่จัดงานแสดงสู่สาธารณะ ที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์ อาทิเช่น การจัดนิทรรศการกลางแจ้ง เทศกาลดนตรี กิจกรรมด้านต่างๆเพื่อสังคม การรณรงค์รวมกลุ่มอิสระเพื่อส่งเสริมมิติของข่าวสารข้อมูลด้านสาธารณะ Park @ Siam จึงเป็นพื้นที่สีเขียวอีกแห่งหนึ่งของจุฬาลงกรณ์ที่มีบทบาทในการเปิดโอกาสให้สาธารณะเข้ามาใช้งานได้อย่างเต็มที่ ช่วยเชื่อมโยงการใช้พื้นที่ระหว่างย่านการค้าและพื้นที่มหาวิทยาลัยอย่างไร้รอยต่อ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มคนหลากหลายชนชั้นในสังคมพหุวัฒนธรรม

“Greenery Market” ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม และ 9-10 มีนาคม 2562 ณ Park@Siam

ภายใน Park at Siam ประกอบด้วยพื้นที่ลานโล่ง สนามหญ้า  และพื้นที่ว่างอเนกประสงค์ในขนาดที่เหมาะสม ร่มรื่นไปด้วยกลุ่มต้นไม้ใหญ่ พื้นที่นั่งพักผ่อน มีความหลากหลายของบรรยากาศในการใช้งาน ทั้งบรรยากาศของความครื้นเครงสนุกสนานในช่วงที่มีการใช้กิจกรรมต่างๆ จากคนภายนอก และบรรยากาศที่สงบร่มรื่นในช่วงเวลาปกติ ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชอบของช่างภาพ ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น ที่มักใช้เป็นสถานที่ในการถ่ายภาพทดสอบฝีมือของตนเองอย่างเหมาะเจาะอีกด้วย 

https://greendee.app/node-poi?nid=7969

ที่มา:

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความที่เกี่ยวข้องฉบับก่อนหน้า:

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะตลอดปีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 2565-2566

ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความทุพพลภาพ หรือเพศ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online ให้กับทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

จุฬาฯ สร้างระบบส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กลุ่มเปราะบางชายขอบด้วยระบบ Digital Health Platform

องค์การสหประชาชาติประกาศให้โรคทางช่องปากเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลก สถานการณ์โรคฟันผุที่ยังไม่ได้รักษา ในชุดฟันแท้เป็นโรคที่มีพบมากที่สุดในโลก ร้อยละ 35 ของประชากรโลก ในขณะที่โรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงที่จะนำไปสู่การสูญเสียฟันนั้นยังมีอีกร้อยละ 11 ของประชากรโลก และอัตราการเกิดมะเร็งช่องปากยังเพิ่มขึ้นอย่างคงที่

ศิลปะบำบัด ปลดปล่อยความวิตกกังวลจากเหตุการณ์วิกฤต

หลายคนที่เคยประสบกับเหตุการณ์วิกฤตไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเข้าบำบัดรักษาสุขภาพจิต เนื่องจากค่านิยมในสังคมเป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้ผู้คนที่ได้รับความบาดเจ็บทางอารมณ์จากเหตุการณ์รุนแรงไม่เข้ารับการบำบัด ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีความเชื่อว่าการเข้ารับการบำบัดหมายถึงการเป็นคนบ้าหรือมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอ การปรับทัศนคติในเรื่องนี้กับผู้คนในสังคมมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบำบัดสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นที่ยอมรับ

จุฬาฯ หวังเพิ่มประชากรเต่าทะเล หนุนตั้งเครือข่ายคุ้มครองแหล่งวางไข่ในอ่าวไทย

จำนวนเต่าทะเลในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แม้รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมาย กำหนดเขตหวงห้าม ประกาศขึ้นทะเบียนเต่าทะเลในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และพยายามสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของเต่าทะเล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเลก็ตาม แต่จำนวนของเต่าทะเลในประเทศไทยยังคงลดลงจนใกล้ถึงจุดวิกฤต จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี เท่านั้น