กรณีศึกษา

หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 2 มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่มีกระบวนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลเชิงรุกที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย โดยในปี พ.ศ. 2563 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,178 คน ประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ 3,036 คน และบุคลากรสายปฏิบัติการรวมไปถึงเจ้าหน้าที่สนับสนุนภารกิจด้านต่าง ๆ อีกกว่า 5,142 คน ดังนั้น นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน โดยจัดหอพักสำหรับบุคลากรจุฬาฯ ไว้ 3 แห่ง ได้แก่

หอพักวิทยนิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักวิทยนิเวศน์เป็นอาคาร 14 ชั้น มีห้องพักชนิดมีเครื่องปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ห้องพักในหอพักวิทยนิเวศน์ ยังมีหลายรูปแบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว หรือเข้าพักส่วนตัว หรือการเข้าพักระยะยาว และการเข้าพักแบบรายวันในราคาย่อมเยา

หอพักจุฬานิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักจุฬานิเวศน์เป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องพักชนิดพัดลมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งขนาดใหญ่แบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว และขนาดเล็กสำหรับเข้าพักส่วนตัว

หอพักจุฬานิวาส เป็นหอพักสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนตำแหน่งคนงาน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นักการภารโรง ช่าง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการดูแลทรัพย์สิน และการรักษาความปลอดภัย หอพักจุฬานิวาสมีลักษณะห้องพักในอาคารเป็นแบบแฟลต จำนวน 172 ห้อง รองรับการเข้าพักทั้งแบบครอบครัว และห้องรวม 4 คน ซึ่งมีค่าบำรุงรักษาหอพักตั้งแต่ 250-1,000 บาทต่อเดือน

ที่มา:

สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

https://www.hrm.chula.ac.th/newhrm/%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3/

อื่นๆ

การจัดภูมิทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ทนแล้ง แข็งแรง และช่วยประหยัดน้ำ

ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมความยั่งยืนในเรื่องของการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่จะนำมาปลูกเพิ่มเติมจากต้นไม้ที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมภายในพื้นที่หรือในการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ โดยเลือกปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น สลับกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ด้วย เนื่องจากพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ค่อนข้างแล้ง ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด

จุดบริการน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย และฟรีทั่วทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำหรับทุก ๆ คน

ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีจุดบริการน้ำดื่มฟรีกว่า 130 จุด ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อบริการให้กับนิสิตและบุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อ เยี่ยมชม หรือใช้บริการหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยจุดบริการน้ำดื่มนอกจากฟรีแล้ว แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยมีการดูแลความสะอาด ปลอดภัย และมีการดูแลบำรุงรักษาตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการสนับสนุน ดูแล และให้บริการกับกลุ่มบุคคลผู้พิการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของทุกคน รวมถึงกลุ่มผู้พิการที่ต้องการการสนับสนุนในรูปแบบเฉพาะ เพื่อให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มศักยภาพ

นโยบายและการดำเนินการส่งเสริมพื้นที่เพื่อการเดินเท้าภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาฯ เป็นสถานศึกษาที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ในย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯ จึงทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นจุดเชื่อมต่อและผ่านทางไปยังจุดอื่น ๆ ได้ง่าย เพราะฉะนั้นจึงทำให้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเพียงนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังมีผู้คนทั่วไปจำนวนมากที่เดินทางสัญจรไปมาผ่านพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทั้งด้วยยานพาหนะ และการเดินเท้า อีกด้วย