กรณีศึกษา

จุฬาฯ วางแนวทางแก้ปัญหาน้ำระยะยาวผ่านงานวิจัยหลากมิติ เสนอกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำยั่งยืนเพื่อชาติร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กรมทรัพยกรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมทรัพยากรน้ำ องค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) จังหวัดขอนแก่น จังหวัดลพบุรี  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดน่าน เป็นต้น ในมิติของการมุ่งแก้ปัญหาประเทศในระดับมหภาคหลายด้าน โดยการบริหารจัดการน้ำเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ  20 ปี ของประเทศไทย ที่มุ่งแก้ปัญหาแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำสร้างให้เกิดมาตรฐาน  รวมถึงแผนการปล่อยน้ำลงสู่พื้นที่ลุ่มเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านเกษตรกรรม การอยู่อาศัยของประชาชนในเขตเมือง และพื้นที่เขตอุตสาหกรรม รวมถึงยังต้องคำนึงถึงระบบนิเวศป่าไม้และสวัสดิภาพของสัตว์ป่านานาชนิดอีกด้วย

การประชุมสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตลอดจนกิจกรรมติดตามสถานการณ์และการลงพื้นที่แก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากน้ำ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำด้อยคุณภาพ โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมมีบทบาททำงานร่วมกับหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องน้ำทั้งในและต่างประเทศจึงเกิดขึ้นหลายครั้งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 กรมทรัพยกรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝึกอบรมหลักสูตรเพิ่มทักษะ : องค์ความรู้ด้านทรัพยากรชายฝั่ง ภายใต้การลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมมือทางวิชาการตลอดจนเผยแพร่ความรู้และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ทางทะเล นิเวศวิทยาศาสตร์ทางทะเล การจัดการชายฝั่ง สมุทรศาสตร์  การกัดเซาะชายฝั่ง และนิเวศป่าชายเลน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสองฝ่ายได้ทำการศึกษา วิจัย และบรรยายร่วมกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีการทำงาน การฝึกงาน และการฝึกฝนอบรมในส่วนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย โดยมี ดร.พรศรี  สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วย ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ และศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรทางน้ำเป็นประธาน โดยได้เชิญเจ้าหน้าที่จาก ทช. คณาจารย์จุฬาฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฝึกอบรม

เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยเข็มมุ่งและบรรยายพิเศษเรื่อง “เทรนด์ใหม่ในการบริหารจัดการลุ่มน้ำและบริหารจัดการน้ำชุมชน”  (New Trends in Basin & Community Water Management) โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากในประเทศและต่างประเทศมาร่วมให้ความคิดเห็น ได้แก่ Prof. Dr.Ming Daw SU จาก National Taiwan University, คุณชิษณุวัฒน์ ศรีมณีขำ ผู้ก่อตั้งบริษัทสร้างสรรค์ปัญญา จำกัด และ ดร.จิตราภรณ์ สมยานนทนากุล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, Prof. Dr.Seigo NASU,  President, None Profit Organization, Institute for Social Contribution ประเทศญี่ปุ่น และ ผศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้แก่ชุมชนตำบลศรีบุญเรือง จังหวัดขอนแก่น โดยมุ่งแก้ไขปัญหาเชิงรุก ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง โดยมี รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ วช. เป็นประธานเป็นผลงานโครงการวิจัยที่ได้สนับสนุนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการ เรื่อง “แนวทางการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำระดับชุมชนในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม” [ https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_7091177 ]

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีระดมความเห็นวางแผนรับมือสถานการณ์น้ำท่วม น้ำแล้ง จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 3 ในพื้นที่ภาคกลางต่อเนื่องจากภาคเหนือที่จังหวัดน่าน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง และกระบวนการจัดเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วมผ่านระบบแอปพลิเคชันใน “โครงการแนวทางการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำระดับชุมชนในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม” เพื่อให้เกิดแนวทางการจัดตั้งและพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำให้มีความสามารถในการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม 33 ตำบล ใน 5 ภูมิภาค ครอบคลุม 15 จังหวัด ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสำคัญกับแนวทางการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 5 ภูมิภาค เพื่อช่วยยกระดับองค์กรผู้ใช้น้ำในการวางแผนน้ำของพื้นที่ที่จะสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นในอนาคต ช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ ในการขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดย วช.สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาระบบข้อมูลน้ำชุมชนผ่านระบบ DATA STUDIO เพื่อสนับสนุนการทำข้อมูล TWR บริหารจัดการน้ำชุมชนผ่านองค์กรผู้ใช้น้ำและเกิดแผนการจัดการน้ำชุมชนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ. 2558 – 2569) ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ร่วมกับภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มุ่งพัฒนาศักยภาพเก็บข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้แอปพลิเคชันจัดเก็บข้อมูลแหล่งต้นทุนน้ำของชุมชนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ซึ่งนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของนวัตกรรมภายใต้การบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้มีความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต [ https://www.thaikufanews.com/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/33549 ]

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ร่วมประชุมหารือเรื่องคาร์บอนเครดิตที่เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ร่วมกับ รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แทนองค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมเข้าร่วม โดยรศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ กล่าวถึงก๊าซมีเทนที่เพิ่มสูงขึ้นในโลกและมีปริมาณเท่าไหร่ที่เกิดจากพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นข้อมูลจากงานวิจัย รวมถึงข้อมูลคาร์บอนเครดิตที่เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนี้ อบก. ได้ให้ข้อมูลโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย สาขาป่าไม้ และคาร์บอนเครดิตที่ได้รับรองจากโครงการใช้แลกเปลี่ยน ซื้อ-ขาย ภายในประเทศ เป็นต้น [ https://www.dwr.go.th/news_inside.php?news_id=109968 ]

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คุณธนียา นัยพินิจให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวเปิดเวทีประชุมสร้างความเข้าใจโครงการและแผนการดำเนินกิจกรรมและการจัดทำแผนน้ำชุมชนในองค์กรผู้ใช้น้ำ – องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนำเสนอแนะนำแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม ระยะ 3 การประชุมร่วมกับอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และช่วงเรียนรู้รูปธรรมการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ร่วมกันกับผู้แทน อบต. ในจังหวัด

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเป็นประธานเปิดเวทีประชุมสร้างความเข้าใจโครงการและแผนการดำเนินกิจกรรม และการจัดทำแผนน้ำชุมชนในองค์กรผู้ใช้น้ำ – องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดน่าน ร่วมกับอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำชุมชน และพื้นที่ต้นน้ำ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของประเทศ  การจัดเตรียมบันทึกข้อมูลลงใน Thai Water Plan และติดตั้งเครื่องมือและจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำชุมชนแบบมีส่วนร่วมบนฐานข้อมูลน้ำชุมชน ภายใต้แผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการจัดการน้ำ สนับสนุนโดย วช. 

ที่มา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

สุขภาพดีถ้วนหน้า จุฬาฯ จัดให้

จุฬาฯ จัดพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อให้กับนิสิต บุคลากรและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพื้นที่ออกกำลังกายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามนโยบายของจุฬาฯ ที่มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพประชาชน แก้ปัญหากิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ

“อาคารเขียว” กับ การพัฒนาอาคารใหม่อย่างยั่งยืนของจุฬาฯ

การพัฒนาพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบันที่มีความสำคัญในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบทที่มีความเกี่ยวข้องกับความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) ซึ่งมีผลมาจากกิจกรรมหรือการใช้ทรัพยากรที่เกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทางกายภาพภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การจัดภูมิทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ทนแล้ง แข็งแรง และช่วยประหยัดน้ำ

ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมความยั่งยืนในเรื่องของการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่จะนำมาปลูกเพิ่มเติมจากต้นไม้ที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมภายในพื้นที่หรือในการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ โดยเลือกปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น สลับกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ด้วย เนื่องจากพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ค่อนข้างแล้ง ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด

จุฬาฯ กับหลากหลายรูปแบบการเดินทางที่ยังยืน (Chula Smart Mobility)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน