กรณีศึกษา

ศิลปะบำบัด ปลดปล่อยความวิตกกังวลจากเหตุการณ์วิกฤต

หลายคนที่เคยประสบกับเหตุการณ์วิกฤตไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเข้าบำบัดรักษาสุขภาพจิต เนื่องจากค่านิยมในสังคมเป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้ผู้คนที่ได้รับความบาดเจ็บทางอารมณ์จากเหตุการณ์รุนแรงไม่เข้ารับการบำบัด ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีความเชื่อว่าการเข้ารับการบำบัดหมายถึงการเป็นคนบ้าหรือมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอ การปรับทัศนคติในเรื่องนี้กับผู้คนในสังคมมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบำบัดสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นที่ยอมรับ กลุ่ม Mobile Arts Therapy (MAT) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งร่วมกับ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน ใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการสื่อสารและการแสดงออกเพื่อช่วยให้ผู้คนรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์วิกฤต  กลุ่ม MAT มีเป้าหมายที่จะให้การสนับสนุนและเชื่อมโยงความรู้สึกแก่ผู้คนและชุมชนที่เคยประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ การใช้ศิลปะในการบำบัดนี้ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้คนสามารถประมวลผลอารมณ์และประสบการณ์ของตนได้ มีประโยชน์อย่างยิ่งในสถานการณ์ที่การบำบัดแบบดั้งเดิมอาจไม่สามารถเข้าถึงหรือยอมรับได้ ความพยายามของกลุ่ม MAT ในการใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางนี้ เป็นแนวทางใหม่ในการเข้าถึงผู้ต้องได้รับการบำบัด ช่วยลดกระแสทางด้านลบของสังคมเกี่ยวกับเข้ารับการบำบัดจิตใจ

Source: John Lloyd Gordovez 
[ https://www.youtube.com/watch?v=3ybvFX5f43o ]

Creative Arts Therapy เป็นการบำบัดรูปแบบหนึ่งที่ใช้สื่อศิลปะต่างๆ เช่น ละคร ดนตรี การเคลื่อนไหว และทัศนศิลป์ เพื่อให้ผู้คนได้แสดงออกและเข้าใจอารมณ์และประสบการณ์ของตน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วน คือ ผู้เข้าร่วมการบำบัด การสร้างสรรค์ทางศิลปะ และนักบำบัด มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ที่เข้าร่วมแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ รับรู้ความรู้สึกตนเอง ผ่านทางการสร้างสรรค์ ละคร ทัศนศิลป์ และดนตรี ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกที่ยากจะอธิบายออกมาเป็นคำพูด Creative Arts Therapy สามารถช่วยฟื้นฟูการควบคุมอารมณ์และโดยเน้นกระบวนการบำบัดมากกว่าผลลัพธ์สุดท้าย กลุ่ม MAT ได้ใช้ Creative Arts Therapy ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วิกฤตต่างๆ ในประเทศไทยเช่น การยิงที่โคราช วิกฤตน้ำท่วมปี 2554-2555 และการยิงที่หนองบัวลำภู นอกจากนี้ยังใช้เพื่อช่วยเหลือเด็กที่เคยประสบกับการล่วงละเมิดทางเพศอีกด้วย

ผู้เข้าร่วมโปรแกรม  “Creative Arts Therapy” ของกลุ่ม MAT ให้ความคิดเห็นว่าตนเองความเครียดและความวิตกกังวลลดลง และความรู้สึกของชุมชนเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่ม MAT หวังที่จะปรับปรุงและปรับแต่งรูปแบบการบำบัดให้ตรงตามความต้องการและความคาดหวังของผู้รอดจากเหตุการณ์วิกฤติต่างๆในอนาคต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยไฮฟากำลังวางแผนที่จะเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ที่เกี่ยวกับ Creative Arts Therapy เป็นที่แรกในประเทศไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาขานี้และได้รับการฝึกอบรมเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

ที่มา

  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางนวัตสหศิลป์เพื่อสุขภาวะ อิมิลี่ – ซากอย แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CARIW)

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง

อื่นๆ

โครงการ Organic Circle: นวัตกรรมการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ครบวงจร

การปลูกผักออแกนนิกนั้น ปัญหาที่สำคัญสุดคือทุกอย่างต้องเป็นอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นแปลงผัก น้ำที่ใช้รด และส่วนที่สำคัญอันหนึ่งคือปุ๋ยที่ต้องอินทรีย์ ยิ่งถ้าทำแปลงผักอินทรีย์ใหญ่เพื่อการส่งตลาด ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี ก็ต้องมีจำนวนมากพอ แต่ทำอย่างไรที่จะมีปุ๋ยอินทรีย์มากพอเพียงกับความต้องการ

พิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ความร่วมมือจุฬาฯ กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยของข้าราชการตำรวจ (Affordable Housing for Police Officers)

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของข้าราชการตำรวจ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อชุมชน

จุฬาฯ ชู “แสมสารโมเดล” แก้ขยะล้นทะเลไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์” และ“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ” เผยผลสำเร็จ “แสมสารโมเดล” นำร่องแก้ปัญหาขยะบนบกไหลลงทะเลชลบุรี ด้วยหลัก 3Rs ลดขยะพื้นที่แสมสารได้จริงกว่าร้อยละ 30 พร้อมขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ระดับชาติ