จุฬาฯ ชงแก้ปัญหาขยะทะเลจากบนบก เสนอรัฐคุมใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในบริการส่งอาหาร (Food Delivery)
ขยะพลาสติกจากธุรกิจส่งอาหารกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเมืองโดยเฉพาะหลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ห้ามให้ประชาชนออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน ส่งผลให้ธุรกิจส่งอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกลับสร้างปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลตามมาอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดนั่นคือปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำนวนมหาศาล และกลายเป็นขยะทันทีหลังบริโภค ด้วยเหตุที่ขยะพลาสติกเหล่านี้มักมีเศษอาหารปนเปื้อนและส่วนใหญ่ไม่มีการล้างทำความสะอาดจึงยากต่อการรีไซเคิล ปัญหาขยะยุคใหม่ของสังคมไทยจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายภาครัฐและฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างยิ่งซึ่งหากยังไม่มีมาตรการบรรเทาผลกระทบจะยิ่งส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกที่ส่งไปกำจัดและที่ตกค้างอยู่รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมและท้ายที่สุดก็จะไหลลงสู่ทะเลมากขึ้นเรื่อย ๆ ซ้ำเติมปัญหาขยะพลาสติกในทะเล (Marine debris pollution) ซึ่งขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทั้งถุงร้อนถุงเย็นใส่อาหาร ถุงพลาสติกหูหิ้ว หลอดพลาสติก กล่องโฟม แก้วพลาสติก ฝาขวดพลาสติก ล้วนติดกลุ่ม Top 10 ของขยะทะเลที่พบในชายฝั่งและน่านน้ำของไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม หน่วยงานผู้ผลักดันแนวคิด Chula Zero Waste จนนำไปสู่การเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของคนไทยในเรื่องจัดการขยะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นำโดย ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ร่วมกับนิสิตปริญญาเอกที่กำลังทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว ได้นำเสนอประเด็นปัญหาและทางออกของขยะพลาสติกจากการใช้บริการส่งอาหาร (Food Delivery) เพื่อระงับยับยั้งมิให้ขยะที่เกิดจากกิจกรรมบนบกในช่วงโควิด19 เหล่านี้สร้างปัญหาและเป็นมลภาวะทางทะเลให้ที่ประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนากลไกการจัดการพลาสติกและขยะอิเลคทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จากนั้นกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้เชิญกลุ่มผู้ประกอบการ Online Delivery Platform หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม มาร่วมหารือแนวทางความร่วมมือเพื่อจัดการขยะพลาสติกจากการใช้บริการส่งอาหาร (Food Delivery) จนนำไปสู่การจัดงานลงนามความร่วมมือ (MOU) เป็นภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนข้อมูลวิชาการต่าง ๆ ระหว่างกัน ในวันที่ 30 กันยายน 2563
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้ร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ MOU นี้ โดยบูรณาการนโยบายผลักดันให้เกิดมาตรการเห็นผลเป็นรูปธรรมในประเทศไทย และติดตามประเมินผลการดำเนินเพื่อเสนอต่ออนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเลคทรอนิกส์ทุก 3 เดือน และยังได้นำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในประเด็นที่เกี่ยวข้องภายใต้ความร่วมมือนี้ ก่อนที่จะนำมาเรียบเรียงและเผยแพร่บทความวิชาการเรื่อง “ขยะพลาสติกจากการสั่งอาหารออนไลน์” จำนวน 2 บทความในวารสารสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการและสร้างความตระหนักให้กับผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยต่อไป นับเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และดูแลมหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของไทยตั้งแต่ต้นทางผ่านนโยบายระดับประเทศที่สอดคล้องกับแนวทางอนุรักษ์สภาวะแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนของประชาคมอาเซียน (ASEAN Regional Action Plan for Combating Marine Debris)
ที่มา:
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้มีหลักสูตรเรียนฟรีออนไลน์ จัดพื้นห้องสมุดให้ใช้ฟรี และ co-working space แก่นิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไป
การศึกษาในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีไว้สำหรับนักศึกษาเท่านั้น เป็นสถานที่สำหรับทุกคน จุฬาลงกรณ์ได้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์อย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนแนวคิดของ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” และเพื่อเตรียมความพร้อมให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่โดยไม่ต้องไปเรียนในมหาวิทยาลัย
ค่ายวิศวพัฒน์ ส่งต่อองค์ความรู้การจัดการน้ำสู่ชุมชนเพื่อความยั่งยืน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 12 ภาควิชา รวมถึง ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสำรวจ และวิศวกรรมแหล่งน้ำ พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงความรู้ ถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทางการชลประทานที่พร้อมถ่ายทอดสู่นิสิต นำไปสู่การฝึกปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำให้กับชุมชนห่างไกล ผ่านค่ายวิศวพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบทที่พร้อมปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นิสิตจิตอาสาที่เข้าร่วมค่าย
กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะตลอดปีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 2565-2566
ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความทุพพลภาพ หรือเพศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online ให้กับทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
อนุรักษ์ปลากระเบนเจ้าพระยา อนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่กลอง
นักวิชาการต่างยกให้ปลากระเบนเจ้าพระยาเป็นสิ่งมีชีวิตบ่งชี้ความไม่สมดุลของระบบนิเวศน้ำจืดด้วยคุณสมบัติของปลาชนิดนี้ที่มีความไวต่อสารพิษและสภาพการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อยู่อาศัย