ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19): การสำรวจระดับนานาชาติ
การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทั่วโลกยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีวัคซีนแล้ว แต่ไวรัสก็ยังกลายพันธุ์ได้อยู่ และยังส่งผลกระทบต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นการหาข้อมูลหรือการเก็บข้อมูลที่จะเก็บประเด็นผลกระทบต่างๆจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลในวงกว้างระดับภูมิภาค จึงเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในภาคีเครือขายของ Association of Pacific Rim Universities (APRU) ในหน่วย Global Health Program ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 60 มหาวิทยาลัย จาก 19 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงได้มีการทำโครงการสำรวจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) ขึ้น โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ จากประเทศผู้ร่วมโครงการ 14 ประเทศ ในการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด 8,400 คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่สำรวจข้อมูลทั้งหมด 600 คน จากคน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และกลุ่มคนที่ไม่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร โดยมีคำถามให้ผู้ทำแบบสอบถามทำด้วยตัวเองทั้งหมด 183 ข้อ แบ่งเป็น 13 ส่วน ดังนี้
- ส่วนที่ 1 Socio-demography
- ส่วนที่ 2 Covid-19 personal experience
- ส่วนที่ 3 Health Behavior
- ส่วนที่ 4 Health literacy
- ส่วนที่ 5 Prevention own behaviors
- ส่วนที่ 6 Testing and tracing
- ส่วนที่ 7 Covid-19 vaccine
- ส่วนที่ 8 Resilience
- ส่วนที่ 9 Mental health
- ส่วนที่ 10 Trust and use of sources of information
- ส่วนที่ 11 Frequency of Information
- ส่วนที่ 12 Trust in institutions
- ส่วนที่ 13 Imply church/place of worship
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการวางแนวทางเชิงป้องกันให้กับมวลมนุษยชาติในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เพื่อช่วยในการพัฒนาแนวทางในการจัดการกับการระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการต่อโรคระบาดที่คล้ายๆกันในอนาคตต่อไป
ที่มา:
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
อื่นๆ
เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA “CU-Cov19”
โครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ
การดำเนิการตามแนวพระราชดำริ: ส่งต่อความหลากหลายทางระบบนิเวศสู่คนรุ่นหลัง
“การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้หมายถึงการเก็บเอาไว้ไม่ให้ใครเข้าถึง แต่หมายถึงการรักษาไว้อย่างยั่งยืนเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม”
สองนวัตกรรมคืนชีวิตใหม่ให้ปะการังไทย ผสมเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก พร้อมชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของระบบนิเวศของมหาสมุทรถือเป็นภาวะวิกฤติการณ์ที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งได้รับผลกระทบจากทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติของสภาพอากาศ สิ่งมีชีวิตจำนวนมากใกล้จะสูญพันธุ์ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งทำให้จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว “ปะการัง” เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตเราเหล่านั้น
นวัตกรรมโดรนใต้น้ำจากจุฬาฯ กับภารกิจพิทักษ์ท้องทะเลไทย
วิทยาศาสตร์ของมวลมนุษยชาติเป็นไปด้วยความล่าช้า และทำให้ความจริงของธรรมชาติประการสำคัญยังมิถูกพิสูจน์ทราบตามหลักฐานทางวิชาการ แต่เมื่อเทคโนโลยีเจริญรุดหน้า มนุษย์จึงพัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) และนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในภารกิจสำรวจทางธรรมชาติเพื่อให้ผู้สำรวจได้รับความสะดวกสบายและเกิดความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน