กรณีศึกษา

Park @ Siam พื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ ใจกลางเมืองเพื่อชุมชน

“Park @ Siam” พื้นที่สีเขียวใจกลางย่านการค้าสยามสแควร์ เป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในย่านการค้าที่มีชื่อเสียง ภายใต้การดูแลและบริหารจัดการโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)

Park @ Siam นับได้ว่าเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางย่านการค้าธุรกิจ ที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มวัยรุ่น คนหนุ่มสาว คนวัยทำงาน และกลุ่มคนเมืองทั่วไป ว่าเป็นพื้นที่สวนสาธารณะที่เปิดให้มีการเข้าถึงจากพื้นที่ต่อเนื่องโดยรอบ ให้เข้าใช้งาน เพื่อเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ออกกำลังกาย แหล่งนัดพบปะสังสรรค์ สำหรับคนในชุมชนที่อาศัยโดยรอบพื้นที่และพื้นที่ใกลัเคียง ไปจนถึงการเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่มีการใช้งานของทั้งหน่วยงานและองค์กรสถาบันจากภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

จากลักษณะที่ตั้งและการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ Park @ Siam ในบริเวณสวนจึงมักถูกนำมาใช้เป็นพื้นที่จัดงานแสดงสู่สาธารณะ ที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์ อาทิเช่น การจัดนิทรรศการกลางแจ้ง เทศกาลดนตรี กิจกรรมด้านต่างๆเพื่อสังคม การรณรงค์รวมกลุ่มอิสระเพื่อส่งเสริมมิติของข่าวสารข้อมูลด้านสาธารณะ Park @ Siam จึงเป็นพื้นที่สีเขียวอีกแห่งหนึ่งของจุฬาลงกรณ์ที่มีบทบาทในการเปิดโอกาสให้สาธารณะเข้ามาใช้งานได้อย่างเต็มที่ ช่วยเชื่อมโยงการใช้พื้นที่ระหว่างย่านการค้าและพื้นที่มหาวิทยาลัยอย่างไร้รอยต่อ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มคนหลากหลายชนชั้นในสังคมพหุวัฒนธรรม

“Greenery Market” ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม และ 9-10 มีนาคม 2562 ณ Park@Siam

ภายใน Park at Siam ประกอบด้วยพื้นที่ลานโล่ง สนามหญ้า  และพื้นที่ว่างอเนกประสงค์ในขนาดที่เหมาะสม ร่มรื่นไปด้วยกลุ่มต้นไม้ใหญ่ พื้นที่นั่งพักผ่อน มีความหลากหลายของบรรยากาศในการใช้งาน ทั้งบรรยากาศของความครื้นเครงสนุกสนานในช่วงที่มีการใช้กิจกรรมต่างๆ จากคนภายนอก และบรรยากาศที่สงบร่มรื่นในช่วงเวลาปกติ ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชอบของช่างภาพ ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น ที่มักใช้เป็นสถานที่ในการถ่ายภาพทดสอบฝีมือของตนเองอย่างเหมาะเจาะอีกด้วย 

https://greendee.app/node-poi?nid=7969

ที่มา:

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความที่เกี่ยวข้องฉบับก่อนหน้า:

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

เปิดภารกิจเครือข่ายมหาวิทยาลัยผู้พิทักษ์ผืนป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง

ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต ที่เชื่อมโยงกันทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์หลากชนิด และยังมีคุณค่ากับมนุษย์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำยังจัดเป็นนิเวศบริการ ที่ส่งมอบนานาประโยชน์จากธรรมชาติสู่มนุษย์หลากหลายด้าน

ร่วมมือกับ NGOs เพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกิจกรรมการอาสาสมัครของนิสิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ

กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะตลอดปีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 2565-2566

ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความทุพพลภาพ หรือเพศ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online ให้กับทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Chula Art Town พัฒนาชุมชนใกล้ไกลด้วยศิลปะ

ศิลปินสตรีทอาร์ต นิสิตเก่าจุฬา และนักเรียนรอบรั้วมหาวิทยาลัย ร่วมถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชน รังสรรค์งานศิลปะบนกำแพงอาคารสถานที่ นำขยะจากชุมชนมาสร้างงานศิลปะให้กลับกลายเป็นทัศนียภาพใหม่ที่มีเสน่ห์ชวนมอง จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ใจกลางกรุงที่ดึงดูดเหล่าฮิปสเตอร์สายเช็กอินต้องห้ามพลาด