เสวนา SDG 14 Life Below Water
Photo by Naja Bertolt Jensen on Unsplash
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนาในซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำ (SDG 14 Life Below Water) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านระบบออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom meeting ในหัวข้อต่าง ๆ ตลอดเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา อาทิ
- Marine debris and microplastics: current research and techniques
- ประเทศไทยกับการฟื้นฟูปะการังในอนาคต
- Current coral reef restoration in a changing world
- Science for sustainable use of the ocean: SDG 14 life below water
โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมการเสวนา และมีผู้เข้าร่วมการเสวนาประมาณกว่า 200 คน ทั้งนี้ การจัดเสวนาซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยไทยและนักวิจัยชาวต่างประเทศทำการวิจัยร่วมกันและมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางวิชาการ รวมถึงส่งเสริมการวิจัยในประเทศไทยให้กว้างขวาง เกิดผลงานที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า มั่นคง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและผลประโยชน์ที่ประเทศควรจะได้รับ ซึ่งในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการฟื้นฟูปะการังในอนาคต” นั้น ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ดร.ลลิตา ปัจฉิม จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คุณวิกานดา พ่วงเจริญ จากกรมประมง และนักวิจัยชาวไทย อาทิ ดร.นลินี ทองแถม นักวิชาการอิสระ ผศ.ดร.นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ศรี จากมหาวิทยาลัยบูรพา และ ศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ร่วมการเสวนา
นอกจากนี้ ยังเป็นการประสานความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับต่างประเทศด้านต่าง ๆ ทั้งการดำเนินการเชิงรุกเพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เพื่อถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการจากต่างประเทศแก่สาธารณชน ให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน การทำวิจัย การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและประเทศ ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนภารกิจของกองการต่างประเทศและนโยบายของ วช. ให้บรรลุเป้าหมาย โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยชาวต่างประเทศมาร่วมการเสวนา อาทิ นักวิจัยจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) Dr. Tali Vardi กับหัวข้อ “Current Coral Reef Restoration in a Changing World” และผู้แทนจาก ยูเนสโก กรุงเทพฯ (UNESCO Bangkok: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) ผู้อำนวยการ มร. Shigeru Aoyagi และเลขาธิการ ดร.Vladimir Ryabinin ร่วมกับ มร. Wenxi Zhu หัวหน้าสํานักเลขาธิการคณะอนุกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหวางรัฐบาลภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (UNESCO-IOC/ WESTPAC) พร้อมกับหัวหน้าผู้แทนไจก้าประจำประเทศไทย (JICA Thailand) มร. Takahiro Morita และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงยังมีผู้เชี่ยวชาญชาวไทย จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอเล็กซ์ เรนเดลล์ ทูตสันถวไมตรีแห่งชาติด้านสิ่งแวดล้อม จากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ร่วมเสวนาในครั้งนี้
ที่มา:
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
ศิลปะบำบัด ปลดปล่อยความวิตกกังวลจากเหตุการณ์วิกฤต
หลายคนที่เคยประสบกับเหตุการณ์วิกฤตไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเข้าบำบัดรักษาสุขภาพจิต เนื่องจากค่านิยมในสังคมเป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้ผู้คนที่ได้รับความบาดเจ็บทางอารมณ์จากเหตุการณ์รุนแรงไม่เข้ารับการบำบัด ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีความเชื่อว่าการเข้ารับการบำบัดหมายถึงการเป็นคนบ้าหรือมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอ การปรับทัศนคติในเรื่องนี้กับผู้คนในสังคมมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบำบัดสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นที่ยอมรับ
อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ป่ากลางเมือง พื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชนที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้
พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองบนพื้นที่กว่า 29 ไร่ ของจุฬาฯ อันเกิดขึ้นจากนโยบายการสร้างเมือง GREEN & CLEAN CITY และเพื่อเป็นการตามรอยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนร่วม โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
โครงการ Organic Circle: นวัตกรรมการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ครบวงจร
การปลูกผักออแกนนิกนั้น ปัญหาที่สำคัญสุดคือทุกอย่างต้องเป็นอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นแปลงผัก น้ำที่ใช้รด และส่วนที่สำคัญอันหนึ่งคือปุ๋ยที่ต้องอินทรีย์ ยิ่งถ้าทำแปลงผักอินทรีย์ใหญ่เพื่อการส่งตลาด ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี ก็ต้องมีจำนวนมากพอ แต่ทำอย่างไรที่จะมีปุ๋ยอินทรีย์มากพอเพียงกับความต้องการ
เกม “Urban Green มหานครสีเขียว” เพื่อการเรียนรู้ความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเมือง
นับตั้งแต่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชากรมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในปัจจุบันอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งคาดว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไป เป็นเหตุให้เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง การขยายตัวของเมืองส่งผลกระทบต่อการใช้ที่ดินและรูปแบบของความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้พื้นที่สีเขียวที่มีตามธรรมชาติที่ลดลง เป็นไปได้ที่จะกล่าวว่าการขยายตัวของเมืองเป็นสาเหตุหลักของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต