ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน

Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable.

กรณีศึกษา / กฎและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ กับนโยบายและการลงทุนเพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

Net Zero​ Greenhouse Gas​ Emissions หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและมีการจัดการอย่างเร่งด่วน ตามมติการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 26 หรือ COP26 เมื่อปี 2021 (พ.ศ. 2564) ที่สนับสนุนเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันหายนะที่จะเกิดจากสภาวะอากาศสุดโต่ง

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายด้านการบริหารจัดการขยะและขยะอันตราย พ.ศ. ๒๕๖๕

โดยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนและตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคทรัพยากรและการจัดการขยะอย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบในการจัดการขยะเหลือศูนย์ (zero waste management) จึงเห็นสมควรให้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตราย

นโยบายด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มุ่งสู่ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เป้าหมาย จึงได้กำหนดนโยบายด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สผ. ร่วมกับ GIZ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หารือผู้เชี่ยวชาญในประเด็นความเสี่ยงของพืชเศรษฐกิจหลัก และข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรของประเทศไทย

เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงจากปัจจัยคุกคามทางสภาพอากาศต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักในแต่ละพื้นที่ย่อย โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา และภาครัฐ เข้าร่วมการประชุม

จุฬาฯ ปลอดบุหรี่

จุฬาฯ จับมือ ก.สาธารณสุข แก้ปัญหาสิงห์อมควัน จัดเขตสูบบุหรี่คุ้มครองนิสิต-บุคลากร นำร่องปรับพฤติกรรมคนไทย

หลากหลายกิจกรรมการศึกษาเพื่อสร้างความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดสู่ชุมชนและสังคม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นใช้องค์ความรู้ที่มีหลากหลายศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น การดำเนินการด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาให้กับสังคมในวงกว้างทั้งกับกลุ่มศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถเป็นกำลังคนที่มาช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไปได้ รวมทั้งเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย

โครงการและกิจกรรมเพื่อสังคมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการดำเนินกิจกรรมและโครงการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย ภายในชุมชนต่าง ๆ

การจัดภูมิทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ทนแล้ง แข็งแรง และช่วยประหยัดน้ำ

ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมความยั่งยืนในเรื่องของการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่จะนำมาปลูกเพิ่มเติมจากต้นไม้ที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมภายในพื้นที่หรือในการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ โดยเลือกปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น สลับกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ด้วย เนื่องจากพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ค่อนข้างแล้ง ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด

การส่งเสริมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านน้ำสะอาดและสุขาภิบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ นิสิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญและรู้จักใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

โครงการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและแผนที่จะปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในเรื่องการจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกหลายโครงการด้วย

การออกแบบอาคารเขียว ตามมาตรฐาน TREES กับการสร้างอาคารใหม่และการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน

ภายในพื้นที่ กว่า 1,153 ไร่ ในการดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ส่วนอาคารเรียน และอาคารที่ใช้เพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 200 อาคาร การใช้อาคารดังกล่าว มีการใช้พลังงานและทรัพยากรในการใช้งานและดูแลรักษาเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางในการก่อสร้างอาคารใหม่หรือการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ โดยส่งเสริมให้มีการออกแบบอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

จุดบริการน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย และฟรีทั่วทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำหรับทุก ๆ คน

ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีจุดบริการน้ำดื่มฟรีกว่า 130 จุด ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อบริการให้กับนิสิตและบุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อ เยี่ยมชม หรือใช้บริการหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยจุดบริการน้ำดื่มนอกจากฟรีแล้ว แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยมีการดูแลความสะอาด ปลอดภัย และมีการดูแลบำรุงรักษาตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของคุณ (ตั้งค่า)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

Accept All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • Necessary cookies
    เปิดใช้งานตลอด

    Necessary cookies are essential for the functioning of the website, allowing you to use and browse the site normally. You cannot disable these cookies in our website's system.

  • คุกกี้วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน

    คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้

  • คุกกี้การทำงานเพื่อจดจำการตั้งค่าผู้ใช้

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยจดจำการตั้งค่าที่ผู้ใช้เคยกำหนดไว้ เช่น ชื่อผู้ใช้, ภาษา, ภูมิภาค หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ตามความต้องการ

Save