กรณีศึกษา

นิสิตกับการบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับนิสิตในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้นิสิตมีบทบาทในการดูแลสิทธิและความเป็นอยู่ของตนเอง เพื่อให้เสียงของนิสิตได้รับการรับฟังและสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงเปิดโอกาสให้นิสิตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิตโดยตรง ซึ่งการมีส่วนร่วมนี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดการบริหารที่โปร่งใส ตอบสนองต่อความต้องการของนิสิต และเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งยังเป็นการฝึกประสบการณ์ในการทำงานให้กับนิสิตด้วย

คำสั่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา  สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประโยชน์: การปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions”

ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย

การจัดภูมิทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ทนแล้ง แข็งแรง และช่วยประหยัดน้ำ

ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมความยั่งยืนในเรื่องของการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่จะนำมาปลูกเพิ่มเติมจากต้นไม้ที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมภายในพื้นที่หรือในการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ โดยเลือกปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น สลับกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ด้วย เนื่องจากพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ค่อนข้างแล้ง ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด

หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ

ในปี พ.ศ. 2563 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,178 คน นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่

นวัตเกษตรกร : สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผสมผสานศาสตร์และศิลป์ของเทคโนโลยีการผลิตพืชและปศุสัตว์ การแปรรูปอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร ธุรกิจการเกษตร และระบบการจัดส่งสินค้า สอนนักเรียนให้รวมความรู้ดั้งเดิมเข้ากับการวิจัยใหม่เพื่อพัฒนาแนวคิดและเทคโนโลยีการเกษตรเชิงนวัตกรรมที่รับมือกับความท้าทายในการพัฒนาท้องถิ่น