กรณีศึกษา

คณะทำงานบริหารดูแลด้านความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการอยู่ร่วมกันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งบริหารงานโดยยึดหลักความเท่าเทียม เคารพสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค การอยู่ร่วมกัน และความหลากหลายของบุคคลทุกคนในทุกมิติ โดยไม่เลือกปฏิบัติหรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่สมควรได้รับโดยชอบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อเชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา เพศตามกำเนิดและเพศสภาพ อายุ สถานภาพการสมรส สภาวะหรือความพร้อมทางร่างกาย ความทุพพลภาพ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นความแตกต่างเฉพาะบุคคล

โดยในการกำหนดนโยบายและการบริหารงานให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว มหาวิทยาลัยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคล และคณะกรรมการนโยบายบุคลากร สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นมาเพื่อกำกับ ขับเคลื่อน และติดตามการดำเนินการ

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคล

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายบุคลากร สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา  สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประโยชน์: การปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions”

ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย

งานบริการที่พักบุคลากร ส่งเสริมภารกิจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

เพราะทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญในการก้าวไปด้วยกันในทศวรรษต่อไปจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้บริการที่พักบุคลากร เพื่ออำนวยความสะดวก และเอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือเรื่องการเดินทางมาปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน นอกเหนือไปจากสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ได้แก่ การเงิน/การศึกษาบุตร สุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของบุคลากร

ประเทศไทยประกาศความสำเร็จซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตจากขยะเปียกชุมชนครั้งแรกของโลก

กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ UN Thailand พร้อมด้วยพันธมิตรภาคีเครือข่ายภาคเอกชนโดย KBANK ซึ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยและประชาคมมุ่งสู่ “สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์”  ประกาศความสำเร็จการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 จังหวัดนำร่องเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายหลังสามารถจูงใจให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการแยกขยะและจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนที่สามารถแปลงกลับมาเป็นเงินทุนให้กับหมู่บ้านและชุมชน

คณะทำงานด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ ยุทธศาสตร์ Impactful Growth และมีการสื่อสารถ่ายทอดยุทธศาสตร์นี้ลงไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกำหนดให้เป็นหนึ่งใน OKR หลักของมหาวิทยาลัยด้วย