จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนเพื่อสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการวิชาการจำนวนมากและหลากหลายโครงการอย่างต่อเนื่องให้กับชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทยในแต่ละปี ครอบคลุมทั้งในประเด็นการศึกษา การดูแลส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาเศรษฐกิจ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ ของคณะ สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ในการดำเนินการ ซึ่งเน้นการถ่ายทอดนวัตกรรม องค์ความรู้ การบูรณาการการเรียนการสอนและการวิจัยออกสู่สังคม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของสังคมประเทศไทยสู่การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนในระยะยาว ตามเป้าหมาย SDGs เช่น
โครงการ Here to Heal Phase 2 (Mental Health and Wellbeing Support Services)
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สสส. เปิดตัว “โครงการเสริมสร้างและขยายเครือข่ายการปรึกษาและส่งต่อข้อมูลด้านสุขภาพจิตออนไลน์” หรือ Here to Heal Phase 2 เพื่อต่อยอดความสำเร็จจากระยะที่ 1 ซึ่งให้บริการปรึกษาสุขภาพจิตออนไลน์แก่กว่า 3,401 ราย ผ่านข้อความออนไลน์ โดยมีอาสาสมัครช่วยให้การสนับสนุนทางอารมณ์ พื้นฐานทางออนไลน์ นอกจากนี้ โครงการยังจัดตั้งเครือข่ายส่งต่อบริการสุขภาพจิต จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต และพัฒนาระบบส่งต่อบริการสุขภาพจิต
ในระยะที่ 2 โครงการมุ่งพัฒนา Mental Health Online Service (MOS) เพื่อให้คำปรึกษาสุขภาพจิตเบื้องต้น และเชื่อมโยงเครือข่ายส่งต่อทั่วประเทศ นอกจากนี้ โครงการยังมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัครและขยายเครือข่ายที่ปรึกษาสุขภาพจิตทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้ง่ายและทั่วถึงมากขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
https://www.psy.chula.ac.th/en/news-announcement/here-to-heal-phase2
โครงการบริการสุขภาพผู้สูงวัยในบ้านพักคนชรา ครั้งที่ 2
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิวัยวัฒนานิวาส และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายบ้าน จังหวัดสมุทรปราการ จัดโครงการบริการสุขภาพผู้สูงวัยในบ้านพักคนชรา ครั้งที่ 2 เป็นการสานต่อโครงการที่จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ระหว่างวันที่ 8 – 29 มีนาคม 2567 ณ มูลนิธิวัยวัฒนานิวาส สถานสงเคราะห์คนชรา จ.สมุทรปราการ โดยมีนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 คน ทำหน้าที่ให้บริการตรวจสุขภาพ รวมถึงเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย ทั้งนี้มีผู้สูงวัยเข้ารับการตรวจเลือดจำนวน 52 คน และตรวจปัสสาวะจำนวน 40 คน
โครงการบริการสุขภาพผู้สูงวัยในครั้งนี้มุ่งเน้นการให้บริการตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมและทั่วถึงแก่ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ โดยเพิ่มการตรวจเลือดควบคู่กับการตรวจปัสสาวะที่มีความละเอียดมากขึ้น
โครงการนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมการให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนซึ่งเป็นพันธกิจสำคัญของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯในการเป็นผู้นำด้านสุขภาพและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และนอกจากนี้โครงการนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อนิสิตที่ร่วมโครงการ เป็นโอกาสให้นิสิตได้มีสัมผัสประสบการณ์จริงในวิชาชีพ และ “โครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยตรวจสุขภาพผู้สูงวัยเพื่อป้องกันก่อนที่จะได้รับการรักษา แต่ยังเป็นการบูรณาการด้านการเรียนการสอนกับการวิจัย ทำให้นิสิตได้เรียนรู้และเห็นปัญหาของชุมชน ส่งเสริมจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคมและพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมไทย”
Ref. https://www.chula.ac.th/news/179085/
โครงการอบรมเชิงบรรยายและปฏิบัติการ การใช้ไมคอร์ไรซาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าไม้พื้นถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รุ่นที่ 1
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการอบรมเชิงบรรยายและปฏิบัติการ การใช้ไมคอร์ไรซาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าไม้พื้นถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รุ่นที่ 1 ณ ศาลาอเนกประสงค์ชุมชนบ้านแคว้ง ตำบลพระพุทธบาท อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และการประยุกต์ใช้ราไมคอร์ไรซา เกิดทักษะปลูกป่าไม้ การเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าไม้พื้นถิ่น เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยได้รับความร่วมมือหลายภาคส่วน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านแคว้ง กลุ่มเกษตรกร บุคลากรของรัฐ และบุคลากรของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จำนวน 35 คน
“คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาความหลากหลายของ ราเอคโตไมคอร์ไรซา ในป่าเต็งรังและพบว่ามีมากกว่า 30 ชนิด ที่อาศัยอยู่กับไม้วงศ์ยางนา โดยการทดลองพบว่ากล้าไม้ที่ใส่รามีการเจริญเติบโตดีกว่ากล้าไม้ทั่วไป”
จากผลวิจัยนี้ จุฬาฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปลูกป่าประจำถิ่น จึงได้มีการสนับสนุน โครงการปลูกป่าด้วยราเอคโตไมคอร์ไรซา เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟู ป่าต้นน้ำจังหวัดน่าน โดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ได้นำโครงการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงในพื้นที่ และได้สนับสนุนกล้าไม้วงศ์ยางนาที่เป็นไม้ประจำถิ่นที่มีการใช้ราและได้มอบกล้าไม้ให้กับหน่วยงานและประชาชนที่สนใจในการเพาะเลี้ยงกล้าไม้ตลอดมา
https://clnr.chula.ac.th/index.php/activities-2567/929-67108-n66
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงโคแดงพื้นเมืองน่าน
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงโคแดงพื้นเมืองน่าน โดยมี สัตวแพทย์หญิงวัชรีย์ ดีปานา และนายศักดิ์ชัย ก่อเกิด บุคลากรศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงโคแดงพื้นเมืองน่าน เช่น อัตลักษณ์และการเลี้ยงดูโคแดง การป้องกันโรค การผลิตอาหารข้น การปลูกหญ้าเพื่อให้อาหาร รวมถึงการหมักอาหารจากหญ้าเนเปียร์ เพื่อเตรียมเป็นอาหารในฤดูแล้งในช่วงที่หญ้าขาดแคลนให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ยังทำให้เกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงโคแดงของตนเองและยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรในจังหวัดน่าน
https://clnr.chula.ac.th/index.php/activities-2567/967-67145-n83
ที่มา
- คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
ค่ายวิศวพัฒน์ ส่งต่อองค์ความรู้การจัดการน้ำสู่ชุมชนเพื่อความยั่งยืน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 12 ภาควิชา รวมถึง ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสำรวจ และวิศวกรรมแหล่งน้ำ พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงความรู้ ถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทางการชลประทานที่พร้อมถ่ายทอดสู่นิสิต นำไปสู่การฝึกปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำให้กับชุมชนห่างไกล ผ่านค่ายวิศวพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบทที่พร้อมปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นิสิตจิตอาสาที่เข้าร่วมค่าย
นวัตกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยราไมคอร์ไรซา พิสูจน์ทราบแล้วจากป่าต้นน้ำน่าน พร้อมส่งผ่านสู่สมรภูมิไฟป่าทั่วโลก โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
จุฬาฯ ปลุกการท่องเที่ยวเมืองน่านสีเขียว
“น่าน” มีวิสัยทัศน์ประจำจังหวัด คือ “เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ เกษตรกรรมอุดมสมบูรณ์ ชุมชนแน่นแฟ้น และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” น่านได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการพัฒนาการและเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้ 5 กลยุทธ์
จุฬาฯ สร้างยุวมัคคุเทศก์ชาวมอแกน สร้างหลักสูตรต่อลมหายใจวิถีชาวเลอันดามัน
ชาวเล เป็น 1 ใน 56 กลุ่มชาติพันธุ์ของไทย ถือเป็นชาวน้ำที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต สตูล มีวิถีพึ่งธรรมชาติ จับปลาทำประมงในท้องทะเลเพื่อยังชีพ เชี่ยวชาญการเดินเรือจากการดูทิศทางโดยอาศัยดวงดาวมานานนับร้อยปี