Ensure access to affordable, reliable, sustainable and modern energy for all.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ ยุทธศาสตร์ Impactful Growth และมีการสื่อสารถ่ายทอดยุทธศาสตร์นี้ลงไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกำหนดให้เป็นหนึ่งใน OKR หลักของมหาวิทยาลัยด้วย
Net Zero Greenhouse Gas Emissions หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและมีการจัดการอย่างเร่งด่วน ตามมติการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 26 หรือ COP26 เมื่อปี 2021 (พ.ศ. 2564) ที่สนับสนุนเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันหายนะที่จะเกิดจากสภาวะอากาศสุดโต่ง
โดยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนและตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคทรัพยากรและการจัดการขยะอย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบในการจัดการขยะเหลือศูนย์ (zero waste management) จึงเห็นสมควรให้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตราย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นใช้องค์ความรู้ที่มีหลากหลายศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น การดำเนินการด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาให้กับสังคมในวงกว้างทั้งกับกลุ่มศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถเป็นกำลังคนที่มาช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไปได้ รวมทั้งเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย
ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านน้ำสะอาดและสุขาภิบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ นิสิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญและรู้จักใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า
ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและแผนที่จะปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในเรื่องการจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกหลายโครงการด้วย
ภายในพื้นที่ กว่า 1,153 ไร่ ในการดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ส่วนอาคารเรียน และอาคารที่ใช้เพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 200 อาคาร การใช้อาคารดังกล่าว มีการใช้พลังงานและทรัพยากรในการใช้งานและดูแลรักษาเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางในการก่อสร้างอาคารใหม่หรือการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ โดยส่งเสริมให้มีการออกแบบอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน ทั้งในแง่ของการเกิดพิบัติภัยจากสภาพอากาศที่รุนแรงโดยตรง และภัยพิบัติอื่น ๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ประชาคมโลกได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการแก้ไข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย
การจัดการพื้นที่ให้ร่มรื่นด้วยการปลูกต้นจามจุรีและต้นไม้ใหญ่ใน 14 สวน เป็นพื้นที่สีเขียวในรั้วมหาวิทยาลัยที่เปิดให้ชาวจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปทุกเพศทุกวัย ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้พักผ่อนหย่อนใจคลายร้อน เพิ่มอากาศที่บริสุทธิ์ ลดมลพิษ ส่งเสริมสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Necessary cookies are essential for the functioning of the website, allowing you to use and browse the site normally. You cannot disable these cookies in our website's system.
คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยจดจำการตั้งค่าที่ผู้ใช้เคยกำหนดไว้ เช่น ชื่อผู้ใช้, ภาษา, ภูมิภาค หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ตามความต้องการ