จุฬาฯ กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ผ่านนโยบายและการบริหารจัดการ การวิจัยและนวัตกรรม การเรียนการสอน ตลอดจนการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน
การดำเนินการเรื่องการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปัจจุบันการการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ได้ดำเนินมาตรการที่ครอบคลุมเพื่อให้บริการด้านสุขภาพกายและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัย
นิสิตกับการบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับนิสิตในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้นิสิตมีบทบาทในการดูแลสิทธิและความเป็นอยู่ของตนเอง เพื่อให้เสียงของนิสิตได้รับการรับฟังและสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงเปิดโอกาสให้นิสิตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิตโดยตรง
คณะทำงานด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ ยุทธศาสตร์ Impactful Growth และมีการสื่อสารถ่ายทอดยุทธศาสตร์นี้ลงไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกำหนดให้เป็นหนึ่งใน OKR หลักของมหาวิทยาลัยด้วย
คณะทำงานบริหารดูแลด้านความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการอยู่ร่วมกันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งบริหารงานโดยยึดหลักความเท่าเทียม เคารพสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค การอยู่ร่วมกัน และความหลากหลายของบุคคลทุกคนในทุกมิติ โดยไม่เลือกปฏิบัติหรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่สมควรได้รับโดยชอบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อเชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา เพศตามกำเนิดและเพศสภาพ อายุ สถานภาพการสมรส สภาวะหรือความพร้อมทางร่างกาย ความทุพพลภาพ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นความแตกต่างเฉพาะบุคคล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนเพื่อสังคม
โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ ของคณะ สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ในการดำเนินการ ซึ่งเน้นการถ่ายทอดนวัตกรรม องค์ความรู้ การบูรณาการการเรียนการสอนและการวิจัยออกสู่สังคม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของสังคมประเทศไทยสู่การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนในระยะยาว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการสนับสนุน ดูแล และให้บริการกับกลุ่มบุคคลผู้พิการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของทุกคน รวมถึงกลุ่มผู้พิการที่ต้องการการสนับสนุนในรูปแบบเฉพาะ เพื่อให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มศักยภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นิสิตจัดตั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จุฬาฯ กับนโยบายและการลงทุนเพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Net Zero Greenhouse Gas Emissions หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและมีการจัดการอย่างเร่งด่วน ตามมติการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 26 หรือ COP26 เมื่อปี 2021 (พ.ศ. 2564) ที่สนับสนุนเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันหายนะที่จะเกิดจากสภาวะอากาศสุดโต่ง