กรณีศึกษา

วิชาทันตกรรมชุมชนภาคปฏิบัติ : หลักสูตรใส่ใจสุขภาพปากและฟันเพื่อเด็กไทยวันนี้

แม้ประเทศไทยจะมีอัตราการเกิดของเด็กลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า 600,000 คนต่อปี มาตั้งแต่ปี 2562 แต่ทุกวันนี้ยังคงมีประชากรวัยเด็กมากกว่า 7 ล้านคนที่ภาครัฐยังคงต้องดูแลสุขภาวะด้านต่าง ๆ จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าปัจจุบัน เด็กไทยเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และยังพบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน สาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็กมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น การให้เด็กทานขนมหรือนมที่มีรสหวานเป็นประจำ การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมหลังจากฟันขึ้นแล้ว หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยไม่ได้เริ่มแปรงฟันตั้งแต่น้ำนมซี่แรกขึ้น เป็นต้น ผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากในอนาคตได้ การมีฟันน้ำนมผุ เด็กจะปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งอาการปวดฟันยังส่งผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กเล็กและยังขัดขวางพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญา และที่มากไปกว่านั้นคือ เด็กที่มีฟันน้ำนมผุก็มักจะพบฟันแท้ผุต่อเนื่อง เพราะเด็กที่มีฟันผุจะมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติส่งผลให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นใหม่นั้นเกิดฟันผุได้เช่นเดียวกัน [ข้อมูล: https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/ ]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มีหลักสูตรเปิดสอนวิชาทันตกรรมชุมชนภาคปฏิบัติ จึงได้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรนี้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 โดยให้นิสิตชั้นปีที่ 5 ได้นำองค์ความรู้ที่สั่งสมมาบูรณาการลงพื้นที่เข้าไปดูแลสุขภาพปากและฟันของเด็กในสถานศึกษาที่ขาดโอกาสเข้าถึงการรักษาทางทันตกรรมรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้พบปัญหาผู้ปกครองขาดองค์ความรู้และยังไม่ได้ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพฟันที่ถูกวิธีอย่างเพียงพอกับบุตรหลาน [http://www.dent.chula.ac.th/community-dentistry/index.php ]

นิสิตทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 ประมาณ 100 คนต่อปีที่เรียนในรายวิชาทันตกรรมชุมชนภาคปฏิบัติ 2 ได้แบ่งกันลงพื้นที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน รวม 20 กลุ่ม จัดกิจกรรมเชิงรุกต่าง ๆ อาทิ ตรวจฟันคัดกรอง เสริมให้เด็กสามารถดูแลตนเอง ฝึกให้แปรงฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน ทาฟลูออไรด์ สีย้อมฟัน ให้กับเด็กและครูมากกว่า 1,200 คนต่อปีในสถานศึกษา 9 แห่งในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงเรียนวัดปทุมวนาราม โรงเรียนประถมนนทรี โรงเรียนวัดหัวลำโพง โรงเรียนพีระยา นาวิน โรงเรียนวัดพลับพลาไชย โรงเรียนวัดโสมนัส โรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี (Rajvithi Home for Girls) และมูลนิธิบ้านพระพร (House of Blessing Foundation) นอกจากนี้ ยังได้นำเด็กที่จำเป็นต้องรับการรักษาทางทันตกรรมกลับมาใช้ห้องและอุปกรณ์เครื่องมือทางทันตกรรมที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับตั้งแต่ปี 2556-2562 รวมแล้วทั้งสิ้น 550 คน

แม้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด19 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้ปรับหลักสูตรวิชานี้ให้ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยนำแพลตฟอร์มออนไลน์เข้ามาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมภาคปฏิบัติหลายกรณีในโรงเรียน อาทิ นำร่องให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์กับผู้ปกครองโรงเรียนประถมนนทรี จำนวน 20 ครอบครัว โดยสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการดูแลสุขภาวะช่องปากและฟันได้ในช่วงเวลากลางคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังผู้ปกครองเลิกงานแล้ว ปรากฏผลดีและได้ตั้งเป้าหมายว่าจะทำขยายผลโครงการไปให้ครอบคลุมเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นของทั้ง 6 โรงเรียนที่เข้าร่วมภายในปี 2566 ต่อไป

ต่อเนื่องถึงชั้นปีที่ 6 นิสิตทันตแพทย์ที่เรียนในรายวิชาทันตกรรมชุมชนภาคปฏิบัติ 3 ทั้ง 20 กลุ่ม จะสลับกันออกไปทำกิจกรรมและโครงการดูแลผู้สูงอายุและเด็กเล็กในชุมชนในต่างจังหวัดทั่วประเทศ เดือนละ 10 กลุ่ม เป็นเวลา 5 สัปดาห์ ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การฝึกภาคปฏบัติ มีดังนี้

1) สร้างเสริมสุขภาพในชุมชนระยะยาว ครบทุกขั้นตอนของกระบวนการตั้งแต่ศึกษาบริบทชุมชน ค้นหาปัญหาและศักยภาพของชุมชน ออกแบบและดำเนินโครงการร่วมกับชุมชน และประเมินผล

2) สร้างให้ “ชุมชนมีส่วนร่วม” ฟังความต้องการของชุมชนซึ่งอาจเป็นประเด็นอื่นนอกจากสุขภาพช่องปาก มาประกอบกับการใช้มาตรการเชิงสังคม พัฒนานโยบายด้านสุขภาพในชุมชน เปลี่ยนแปลงกฎกติกา สิ่งแวดล้อมและคำนิยมในชุมชนให้เอื้อต่อสุขภาพ

3) สร้างชุมชนให้มีความรู้ ทักษะ คำนิยม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพมากขึ้น ในหลายระดับ ได้แก่

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ออกกฎระเบียบยกเลิกขวดนม อนุญาตให้เด็กนำเฉพาะผลไม้มารับประทานได้ และริบขนมไม่ให้รับประทานหรือนำมารวมกันเพื่อให้เด็กรับประทานพร้อมกันทุกคน หรือกำหนดช่วงเวลารับประทาน ตลอดจนปรับรายการอาหารให้เอื้อต่อสุขภาพ มีระบบการจัดการและควบคุมให้เด็กทุกคนได้แปรงฟันทุกวัน ซ่อมแซมหรือสร้างอ่างแปรงฟัน โดยประสานเรื่องงบประมาณกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มกิจกรรมร้องเพลงแปรงฟันเข้าไปในตารางกิจกรรมประจำวันของเด็ก ฝึกทักษะและสร้างนิสัยการแปรงฟันแห้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันฟันผุ และปรับรายการขนมของรถเข็นที่มาขายหลังเลิกเรียนให้เอื้อต่อสุขภาพมากขึ้น
  • โรงเรียน จัดระบบการแปรงฟันพร้อมกัน จัดสรรสถานที่ที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อการแปรงฟันของเด็กทุกคน กำหนดให้คุณครูแปรงฟันร่วมกับเด็กเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ปรับของว่างและเครื่องดื่มที่ขายในโรงเรียนให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ลดความหวานในเครื่องดื่ม ตรวจกระเป๋าไม่ให้เอาขนม น้ำหวานขึ้นห้องเรียน อนุญาตเฉพาะน้ำเปล่าเท่านั้น
  • หมู่บ้าน ปรับเครื่องดื่มที่ปรุงขายให้มีน้ำตาลลดลงจากมติของชาวบ้าน สนับสนุนร้านค้าที่ขายเครื่องดื่มหวานน้อยโดยให้ป้ายรับรอง ร่วมกับวัดและร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มรณรงค์การถวายน้ำปานะหวานน้อย รวมถึงพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ติดตามการแปรงฟันของเด็กเล็กในบ้านที่ตนรับผิดชอบ รณรงค์สร้างวิถีปฏิบัติใหม่ของชุมชนให้แปรงฟันก่อนนอนได้สำเร็จ
  • โรงงานและหน่วยงานองค์กร ปรับเครื่องดื่มที่ขายโดยจำแนกเป็นชนิดน้ำตาลต่ำและสูง มีป้ายเชิญชวนให้เลือกชนิดน้ำตาลต่ำ มีป้ายให้เลือกระดับหวานน้อยสำหรับเครื่องดื่มชงแยกแก้ว เพิ่มเครื่องดื่มน้ำตาลน้อยให้มากขึ้น ออกข้อตกลงร่วมกันเพื่อลดการบริโภคแอลกอฮอล์ นโยบายงดกาแฟทรีอินวันในมุมกาแฟขององค์กรและในการประชุมทุกครั้งขององค์กรปกครองส่วนถิ่น
  • โรงเรียนผู้สูงอายุ เพิ่มการแปรงฟันเข้าในตารางกิจกรรมของผู้สูงอายุ จัดสรรสถานที่ให้เพียงพอต่อการแปรงฟัน ปรับเครื่องดื่มที่แจกเป็นชนิดน้ำตาลต่ำเท่านั้น

ที่มา:

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

จุฬาฯ หวังเพิ่มประชากรเต่าทะเล หนุนตั้งเครือข่ายคุ้มครองแหล่งวางไข่ในอ่าวไทย

จำนวนเต่าทะเลในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แม้รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมาย กำหนดเขตหวงห้าม ประกาศขึ้นทะเบียนเต่าทะเลในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และพยายามสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของเต่าทะเล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเลก็ตาม แต่จำนวนของเต่าทะเลในประเทศไทยยังคงลดลงจนใกล้ถึงจุดวิกฤต จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี เท่านั้น

อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ป่ากลางเมือง พื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชนที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้

พื้นที่กว่า 29 ไร่ ของจุฬาฯ อันเกิดขึ้นจากนโยบายการสร้างเมือง GREEN & CLEAN CITY และเพื่อเป็นการตามรอยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนร่วม

ร่วมมือกับ NGOs เพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกิจกรรมการอาสาสมัครของนิสิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเล

เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2563 มีชาวประมงที่จับปูม้าที่ท้องนอกกระดองมาให้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 457 ตัว เพื่อเพาะเป็นลูกปูม้า ศูนย์สามารถดูแลปูไข่จนลูกปูม้าถึง 565,219,724 ตัว และแม้ลูกปูม้าจะมีเปอร์เซนต์รอดชีวิตที่ 40-60% ศูนย์ก็ยังสามารถเอาลูกปูม้าไปปล่อยในทะเลได้มากเกินกว่า