กรณีศึกษา

โครงการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยด้วยเทรนเนอร์ส่วนบุคคลและวิทยาศาสตร์การกีฬา อาสาปันสุข (สุขภาพกาย และสุขภาพใจ)

“จุฬาฯ ห่วงใยสุขภาพชุมชน ชวนออกกำลังกายง่าย ๆ ช่วงโควิด” คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บเพิ่มสูงขึ้น โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจและเล็งเห็นแนวโน้มมาตั้งแต่ปี 2558 พบความชุกของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ถึงร้อยละ 30.5 ภาวะอ้วน ร้อยละ 7.5 ภาวะการสูบบุหรี่ ร้อยละ 21.3 และการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 36.2 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุที่ขาดการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครและพรั่งพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ นอกจากจะมีสนามกีฬากลางแจ้ง โรงยิมเนเซียม สระว่ายน้ำ สนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ ฟิตเนส รองรับการเรียนการสอน การแข่งขันมหกรรมกีฬา กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมสันทนาการหลากหลายรูปแบบที่จัดไว้อย่างเพียงพอสำหรับนิสิตและบุคลากรแล้ว ยังได้เปิดพื้นที่ให้ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมใช้สาธารณูปโภคและเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะทั้งกายใจชักชวนให้ชุมชนในเขตปทุมวันและพื้นที่ใกล้เคียงออกกำลังกายอย่างถูกวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาผ่าน “โครงการออกกกำลังกายอย่างภัยด้วยเทรนเนอร์ส่วนบุคคล” โดยคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาจัดให้มีเทรนเนอร์ส่วนบุคคล จำนวน 3 คน เพื่อนำสอนออกกำลังกายและให้คำปรึกษาด้านโภชนาการอย่างเหมาะสมและมีสิทธิภาพให้กับประชาชนที่สนใจ จำนวน 9 คน

นอกจากนี้ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ประชาชนมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มติดเชื้อได้มากกว่ากลุ่มอื่นด้วยมีร่างกายเสื่อมถอยตามอายุ จึงมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดมากกว่า ทำให้ได้รับผลกระทบในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย การซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภค รวมไปถึงความรู้สึกที่บั่นทอนสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์การกีฬา อาสาปันสุข (สุขภาพกาย และสุขภาพใจ) โดยให้นิสิตจำนวน 8 คน นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายมาแนะนำกิจกรรมการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุในชุมชนรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 65 คน ผ่านรูปแบบออนไลน์ ร่วมกับการนำศิลปะและวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์ให้เข้ากับการออกกำลังกายอย่างง่ายผ่านคลิปวิดีโอสอนออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้สูงอายุสนุกสนานและ รู้สึกมีคุณค่า ไม่โดดเดี่ยว ในสถานการณ์ที่ต้องรักษาระยะห่างระหว่างกันตามมาตรการของรัฐบาล

ที่มา:

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

พิพิธภัณฑ์ของจุฬาฯ: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นิสิตจัดตั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เพื่อเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงการ Organic Circle: นวัตกรรมการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ครบวงจร

การปลูกผักออแกนนิกนั้น ปัญหาที่สำคัญสุดคือทุกอย่างต้องเป็นอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นแปลงผัก น้ำที่ใช้รด และส่วนที่สำคัญอันหนึ่งคือปุ๋ยที่ต้องอินทรีย์ ยิ่งถ้าทำแปลงผักอินทรีย์ใหญ่เพื่อการส่งตลาด ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี ก็ต้องมีจำนวนมากพอ แต่ทำอย่างไรที่จะมีปุ๋ยอินทรีย์มากพอเพียงกับความต้องการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้มีหลักสูตรเรียนฟรีออนไลน์ จัดพื้นห้องสมุดให้ใช้ฟรี และ co-working space แก่นิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไป

การศึกษาในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีไว้สำหรับนักศึกษาเท่านั้น เป็นสถานที่สำหรับทุกคน จุฬาลงกรณ์ได้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์อย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนแนวคิดของ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” และเพื่อเตรียมความพร้อมให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่โดยไม่ต้องไปเรียนในมหาวิทยาลัย