Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all.
ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย
การจัดการพื้นที่ให้ร่มรื่นด้วยการปลูกต้นจามจุรีและต้นไม้ใหญ่ใน 14 สวน เป็นพื้นที่สีเขียวในรั้วมหาวิทยาลัยที่เปิดให้ชาวจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปทุกเพศทุกวัย ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้พักผ่อนหย่อนใจคลายร้อน เพิ่มอากาศที่บริสุทธิ์ ลดมลพิษ ส่งเสริมสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ใน พ.ศ. 2564 ทั่วโลกเกิดการระบาดของ COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์อัลฟาและเดลตา ทำให้มีผู้ติดเชื้อยืนยันเกิน 363,000 รายและผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 รายในประเทศไทยถึงเดือนกรกฎาคม อาการรุนแรงของผู้ป่วยนำมาสู่เครื่องช่วยหายใจและเครื่องบำบัดโรคอัตราการไหลสูงขาดแคลนเนื่องจากมีต้องการทั่วโลก
แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส ประกอบด้วยระบบสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และกรณีใช้งานในด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแพทย์และการพาณิชย์ ซึ่งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ChulaVerse World (CV-World) มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ด้านการใช้ชีวิตและการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อบนมาตรฐานที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และการพัฒนากรณีใช้งานเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในด้านทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การบริการด้านการแพทย์รูปแบบใหม่ และการพาณิชย์ที่เชื่อมโยงกับภาคเอกชน สำหรับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ChulaVerse Learn (CV-Learn)
การระบาดของ COVID-19 ก่อให้เกิดความท้าทายแก่นิสิตสหสาขาวิชาชีพเนื่องจากประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่จำกัดเพราะขาดแคลนเจ้าหน้าที่ มีระยะเวลาในการสอนน้อย และความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสสูง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทีมของเราได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตสหสาขาวิชาชีพสำหรับการปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน (ED)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดหลักสูตรใหม่ “สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)” ในปีการศึกษา 2566 ที่เปิดรับนิสิตมากถึง 300 คนต่อปี เพื่อผลิตบัณฑิตมาเติมเต็มในตลาดแรงงานที่ยังคงขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร Higher education sandbox ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน และเพิ่มทักษะในการลงมือปฏิบัติงานจริงแก่นิสิตจากการฝึกงานทุกปีตลอดการศึกษา
โครงการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว) ผ่านสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) โดยได้นำเอาผลงานวิจัยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส มาผลิตเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้พิการขาขาดจำนวน 300 ราย ได้เข้าถึงเท้าเทียมคุณภาพสูง โดยแจกจ่ายผ่านโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 22 แห่ง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการวิจัย Bang Pho Living Lab ได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ของชุมชนถนนสายไม้ ย่านบางโพให้กลับมาเป็นที่รู้จักและส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านการสร้างพื้นที่ร่วมทดลองปฏิบัติการจริง โดยนิสิต 266 คน
จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ และเป็นพื้นที่มีความพิเศษที่พึ่งพาฐานของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการเกษตรอันเป็นเศรษฐกิจฐานรากโครงการนี้ได้สร้างระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทรา
ความร่วมมือจากโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตปทุม มีเป้าหมายในการลดปริมาณขยะที่เข้าสู่กระบวนการฝังกลบที่มีมากถึง 207 ตัน/วัน เป็นการนำองค์ความรู้และประสบการณ์จากการจัดการขยะภายในถ่ายทอดสู่ภาคี เครือข่ายภาครัฐ และเอกชน ทำให้ใน 7 เดือนที่ผ่านมาประสิทธิภาพในการลดและแยกขยะภายในเขตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะขยะเศษอาหารที่แยกออกมาได้มีจำนวน 2,148 ตันและถูกจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งถ้าหากขยะเศษอาหารเหล่านี้ปะปนกับขยะอื่น จะสามารถก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงประมาณ 5,456 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมิติของการมุ่งแก้ปัญหาประเทศในระดับมหภาคหลายด้าน โดยการบริหารจัดการน้ำเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย ที่มุ่งแก้ปัญหาแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำสร้างให้เกิดมาตรฐาน
องค์การสหประชาชาติประกาศให้โรคทางช่องปากเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลก สถานการณ์โรคฟันผุที่ยังไม่ได้รักษา ในชุดฟันแท้เป็นโรคที่มีพบมากที่สุดในโลก ร้อยละ 35 ของประชากรโลก ในขณะที่โรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงที่จะนำไปสู่การสูญเสียฟันนั้นยังมีอีกร้อยละ 11 ของประชากรโลก และอัตราการเกิดมะเร็งช่องปากยังเพิ่มขึ้นอย่างคงที่
Necessary cookies are essential for the functioning of the website, allowing you to use and browse the site normally. You cannot disable these cookies in our website's system.
คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยจดจำการตั้งค่าที่ผู้ใช้เคยกำหนดไว้ เช่น ชื่อผู้ใช้, ภาษา, ภูมิภาค หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ตามความต้องการ