Reduce inequality within and among countries.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นใช้องค์ความรู้ที่มีหลากหลายศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น การดำเนินการด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาให้กับสังคมในวงกว้างทั้งกับกลุ่มศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถเป็นกำลังคนที่มาช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไปได้ รวมทั้งเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มุ่งสู่ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เป้าหมาย จึงได้กำหนดนโยบายด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีจุดบริการน้ำดื่มฟรีกว่า 130 จุด ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อบริการให้กับนิสิตและบุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อ เยี่ยมชม หรือใช้บริการหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยจุดบริการน้ำดื่มนอกจากฟรีแล้ว แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยมีการดูแลความสะอาด ปลอดภัย และมีการดูแลบำรุงรักษาตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย
ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมรูปแบบการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล เป็นตัวเลือกสำหรับบุคลากร ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ที่อยู่นอกสำนักงาน การทำงานทางไกลเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันให้กับบุคลากร และช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ เนื่องจากบุคลากรไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานเนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอ
การจัดการพื้นที่ให้ร่มรื่นด้วยการปลูกต้นจามจุรีและต้นไม้ใหญ่ใน 14 สวน เป็นพื้นที่สีเขียวในรั้วมหาวิทยาลัยที่เปิดให้ชาวจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปทุกเพศทุกวัย ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้พักผ่อนหย่อนใจคลายร้อน เพิ่มอากาศที่บริสุทธิ์ ลดมลพิษ ส่งเสริมสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ใน พ.ศ. 2564 ทั่วโลกเกิดการระบาดของ COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์อัลฟาและเดลตา ทำให้มีผู้ติดเชื้อยืนยันเกิน 363,000 รายและผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 รายในประเทศไทยถึงเดือนกรกฎาคม อาการรุนแรงของผู้ป่วยนำมาสู่เครื่องช่วยหายใจและเครื่องบำบัดโรคอัตราการไหลสูงขาดแคลนเนื่องจากมีต้องการทั่วโลก
โครงการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว) ผ่านสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) โดยได้นำเอาผลงานวิจัยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส มาผลิตเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้พิการขาขาดจำนวน 300 ราย ได้เข้าถึงเท้าเทียมคุณภาพสูง โดยแจกจ่ายผ่านโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 22 แห่ง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการวิจัย Bang Pho Living Lab ได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ของชุมชนถนนสายไม้ ย่านบางโพให้กลับมาเป็นที่รู้จักและส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านการสร้างพื้นที่ร่วมทดลองปฏิบัติการจริง โดยนิสิต 266 คน
จุฬาฯ เป็นสถานศึกษาที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ในย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯ จึงทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นจุดเชื่อมต่อและผ่านทางไปยังจุดอื่น ๆ ได้ง่าย เพราะฉะนั้นจึงทำให้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเพียงนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังมีผู้คนทั่วไปจำนวนมากที่เดินทางสัญจรไปมาผ่านพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทั้งด้วยยานพาหนะ และการเดินเท้า อีกด้วย